งานที่ได้รับมอบหมายและหน้าที่ความรับผิดชอบ นายสุเพียร คำวงศ์ ประจำปีงบประมาณ 2567
1. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. งานระบบเฝ้าระวังโรคฐานข้อมูลโปรแกรม D506
3. งานระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC)
4. งานดูแลผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ/LTC (COC, Palliative Care)
5. งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
6. งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
7. งานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
8. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
ที่มา : คำสั่งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ ที่ 38/2567 เรื่อง มอบหมายงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงาน ภายในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
งานดูแลผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ/LTC (COC, Palliative Care)
1. การคัดกรองต้อกระจก พอ.สว.
ร.พ.ขุขันธ์ แจ้งสรุปยอดการคัดกรองต้อกระจก พอ.สว. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ (โรงพยาบาลขุขันธ์แห่งเดิม) ดังนี้
1. ยอดผู้ได้รับการคัดกรองตาต้อกระจก 328 ราย
2. นัดผ่าตัดตา (รายชื่อแจ้ง จนท.ทุก รพ.สต.ในไลน์กลุ่มผ่าตัดตาต้อกระจก พอ.สว.ขุขันธ์) นัดAdmit ก่อน 1 วัน
วันที่ 6 มิถุนายน 2567 นัดAdmit ภาคบ่าย จำนวน 127 ราย (164ดวงตา) ผ่าตัดวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ณ โรงพยาบาลขุขันธ์
วันที่ 7 มิถุนายน 2567 นัดAdmit ภาคบ่าย จำนวน140 ราย (140 ดวงตา) ผ่าตัดวันที่ 8 มิถุนายน 2567 ณ โรงพยาบาลขุขันธ์
3. ส่งต่อ ร.พ.ศรีสะเกษ 44 ราย , ส่งต่อด่วน 2 ราย และให้รับยา/ กลับบ้าน 15 ราย
หมายเหตุ กำหนดการผ่าตัดตาต้อกระจก
1. ผ่าตัดวันที่ 7 - 8 มิถุนายน 2567 ณ โรงพยาบาลขุขันธ์
2. Admit ก่อน 1 วัน ซึ่งสถานที่ Admit ห้องประชุมอาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 2 โรงพยาบาลขุขันธ์
3. สถานที่พิธีเปิด : ห้องประชุมปรียาธร โรงพยาบาลขุขันธ์
ที่มา : ไลน์กลุ่มผ่าตัดตาต้อกระจก พอ.สว.ขุขันธ์,25670528.
งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
1. KMจากประชุมงานชีวาภิบาล สร้างสุขภาวะพระสงฆ์ไทย และการประชุมวิชาการ โรงพยาบาลสงฆ์ ประจำปี 2567
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้แจ้งและเชิญผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ และผู้รับผิดชอบงานสถานชีวาภิบาล เข้าร่วมประชุมงานชีวาภิบาล สร้างสุขภาวะพระสงฆ์ไทย และการประชุมวิชาการ โรงพยาบาลสงฆ์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2567 ในรูปแบบการประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 4 ตึกกัลยาณิวัฒนา โรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การดำเนินการกุฏิชีวาภิบาลและการดูแลพระสงฆ์อาพาธแบบประคับประคองที่เอื้อต่อพระธรรมวินัยกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งผู้รับผิดชอบงานฯ ได้เข้าร่วมประชุมและได้จัดทำKMเนื้อหาการอบรมฯที่น่าสนใจแบ่งบันให้ผู้รับผิดชอบงานวัดส่งเสริมสุขภาพประจำ รพ.สต.ทุกแห่งไว้ศึกษาย้อนหลังตามลำดับดังนี้
วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
1. บรรยายพิเศษ ธรรมะกับการดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย โดย พระอาจารย์ครรชิต อกิญฺจโน วัดวีรวงศาราม จ.ชัยภูมิ
2. บรรยาย การจัดการทรัพย์สินเมื่ออาพาธระยะท้าย โดย นายวีระศักดิ์ โชติวาณิช รองเลขาธิการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
3. อภิปราย สังฆทานบุญ พระคุณเจ้าได้ใช้ คนถวายได้บุญ โดย กญ.ปริญดา พีรธรรมานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงฆ์และคณะ
4. อภิปราย มาตรฐานการอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพารที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย โดย ร.พ.พระศรีมหาโพธิ์, ร.พ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ร.พ.สมเด็จพระยุพราชนครไทย และ ร.พ.สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน พว.ดร.ดุษฎี ใหญ่เรืองศรี รองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสงฆ์ ผู้ดำเนินการอภิปราย
วันที่ 31 พฤษภาคม 2567
1. อภิปราย การจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลต้นแบบ ใน 13 เขตสุขภาพ โดย พว.สมจิตต์ สุขสง หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล โรงพยาบาลสงฆ์ และคณะ
2. บรรยาย ความหวังและทางเลือกของผู้ป่วยระยะท้าย โดย นอ.นพ.พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์
3. บรรยาย การบริจาคอวัยวะและดวงตาสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย โดย นพ.สมยศ ศรีจารนัย ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย
4. บรรยายพิเศษ มุมมองทางธรรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โดย พระอาจารย์สมทบ ปรกฺกโม วัดกลาง จ.สุพรรณบุรี
5. อภิปราย งานวิจัยชีวิตและความตาย โดย พว.ชวลี เครือสุคนธ์, พว.สุพรรษา กุลวรรณ, พว.สังวาลย์ พิจารย์ ดร.จิราภรณ์ ศรไชย ผู้ดำเนินการอภิปราย
เอกสารประชุมวิชาการ รพ.สงฆ์ 2567
ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว3821 ลว 24 พ.ค. 2567 เรื่อง ขอเชิญประชุมงานชีวาภิบาลสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ไทย และการประชุมวิชาการโรงพยาบาลสงฆ์ ประจำปี 2567
2. การประเมินตนเอง ตามมาตรฐานบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานีว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายการดำเนินงานในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกมิติ การจัดตั้งสถานชีวาภิบาลเป็นหนึ่งในนโยบาย มุ่งเน้น เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบ Long Term Care ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุม ทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อย่างต่อเนื่อง จากโรงพยาบาลสู่บ้าน ชุมชน โดยให้มีการ จัดตั้งสถานชีวาภิบาลครอบคลุมทุกจังหวัด และให้ผู้รับผิดชอบงานดำเนินการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา ผ่าน QR Code อำเภอขุขันธ์ ได้ประเมินวัดที่จะจัดบริการกุฏิชีวาภิบาล/Health Station ของอำเภอขุันธ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดโคกโพน และ วัดปรือคัน
แบบประเมินตนเอง ตามมาตรฐานบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา
คู่มือมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา
ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว2734 ลว 18 เม.ย. 2567 เรื่อง ขอให้ประเมินตนเองตามมาตรฐานบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา
3. อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ กำหนดจัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ภาคทฤษฎี กลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี ฆราวาส บุคลากรสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 10 – 13 มิถุนายน 2567
ได้แก่ อำเภอเบญจลักษ์ กันทรลักษ์ ศรีรัตนะ ไพรบึง ขุนหาญ ขุขันธ์ ภูสิงห์ น้ำเกลี้ยง โนนคูณ กันทรารมย์ และปรางค์กู่
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 14 – 17 มิถุนายปน 2567
ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ พยุห์ วังหิน อุทุมพรพิสัย ห้วยทับทัน เมืองจันทร์ โพธิ์ศรีสุวรรณ บึงบูรพ์ ราษีไศล ศิลาลาด และอำเภอยางชุมน้อย
ณ วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่ง พระ อสว.ทั้ง 2 รุ่นนี้ จะจบหลักสูตรการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.) 70 ช.ม. และเพิ่มหลักสูตรชีวาภิบาลอีก 15 ช.ม. ไปพร้อมด้วยกันเลย
จึงขอความร่วมมือท่าน แจ้งผู้รับผิดชอบงานวัดส่งเสริมสุขภาพ / งานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ประจำ รพ.สต.ทราบและดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจสถานะการปฏิบัติงานพระคิลานุปัฏฐาก (พระ อสว.) ปี 2567 อำเภอขุขันธ์ สำรวจแล้ว
2. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) เน้น ตำบลที่ยังไม่มีพระ อสว. จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ จะกง ใจดี ดองกำเม็ด สะเดาใหญ่ โคกเพชร ห้วยสำราญ และปราสาท คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์ คัดเลือกส่งชื่อกลุ่มเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว
รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
กำหนดการอบรมฯ คลิก
กำหนดการ(ภาคปฏิบัติ) โครงการพัฒนาพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชีและฆราวาส สู่การเป็นอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
กิจกรรม : ฝึกปฏิบัติงานจริงในวัด โรงพยาบาล/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน และชุมชนตามองค์ความรู้ ภาคทฤษฎี โดย มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง โดยมีใบงาน และใบส่งตัวฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งขอบเขตการฝึกปฏิบัติ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 พระสงฆ์และโยมอุปัฏฐากที่มีสุขภาพดี ให้คำแนะนำเทศนาการส่งเสริม สุขภาพ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)ที่วัดและชุมชน
กลุ่มที่ 2 พระสงฆ์และโยมอุปัฏฐาก ที่มีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงหรือพระสงฆ์ที่ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่พบบ่อย การใช้หลักธรรมวินัยในการดูแลสุขภาพ การใช้ยาหรือการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพ การให้คำปรึกษาดูแลภาวะร่างกาย จิตใจ การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น
กลุ่มที่ 3 พระสงฆ์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ ทุพพลภาพ(ติดเตียง) เช่น การพลิก ตะแคงตัว การถวายอาหารทางสายยางที่วัด การดูแลการฉันยา การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว3987 ลว 29 พ.ค. 2567 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.)
งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
1. สป.สธ. ประชาสัมพันธ์โครงการยกย่องเกียรติคุณคนพิการดีเด่นในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต
จังหวัดศรีสะเกษ ส่งสำเนาหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗.๐๖/ ๑๑๗๖๒ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง ประชาสัมพันธ์โครงการยกย่องเกียรติคุณคนพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต รายละเอียดตามเอกสารแนบ
ข้อมูลการรับสมัครโครงการยกย่องเกียรติคุณคนพิการดีเด่นฯ ปี 2567 คลิก (กรอกประวัติคนพิการ ส่งฯ ภายใน 31 พฤษภาคม 2567)
ที่มา : ที่ ศก 0033/ว7771 ลว 3 พ.ค. 2567 เรื่อง ประชาสัมพันธ์โครงการยกย่องเกียรติคุณคนพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
งานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
1. KMเก็บตกการอบรม “ผลิตยาจากสมุนไพร..อย่างไรให้มีคุณภาพ”
เรียน ผู้บังคับบัญชา/จนท.แพทย์แผนไทย ทุก รพ.สต.
- เพื่อโปรดทราบและพิจารณา
- ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ขอเชิญผู้รับผิดชอบงานผลิตยาสมุนไพร หรือผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการอบรม “ผลิตยาจากสมุนไพร..อย่างไรให้มีคุณภาพ” จัดโดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 - 16.30 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรให้มีมาตรฐานและสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ ผู้ประกอบวิชาชีพ และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาจาก สมุนไพรในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยให้ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมผ่าน QR Code ซึ่งผู้รับผิดชอบงานฯ ได้เข้าร่วมอบรมผ่านไปแล้วและได้ผ่านการทำแบบทดสอบ Post-test 16/20 คะแนน ซึ่งผ่านเกณฑ์ให้คะแนน 70% (14/20 คะแนนขึ้้นไป) จึงได้รับใบประกาศฯผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ด้วย
- KMเก็บตกการอบรม “ผลิตยาจากสมุนไพร..อย่างไรให้มีคุณภาพ” แบ่งปันแด่ผู้สนใจ ดูและศึกษาย้อนหลังได้ตามเอกสารการอบรมฯ และคลิปวีดีโอที่แนบมาด้านล่างนี้
หมายเหตุ คลิปการอบรมนี้ ไม่ได้เผยแพร่สาธารณะ จึงสามารถรับชมได้เฉพาะทุกท่านที่ได้คลิกผ่านลิงก์นี้เท่านั้น
ที่มา : ที่ ศก 0033.014/ว3502 ลว 15 พ.ค. 2567 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมการอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. การประชุมชี้แจง การจัดทำบัตรพนักงาน เจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น. หัวหน้างานงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สสอ.ขุขันธ์ ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุมชี้แจง การจัดทำบัตรพนักงาน เจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542 ณ ห้องประชุมนายแพทย์บัณฑิต จึงสมาน ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ เน้นย้ำมาว่า การจัดทำบัตรพนักงาน เจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542 สสอ.และ ผอ.รพ.สต.ในสังกัดฯ ทุกแห่ง ต้องจัดทำ 100%
ที่มา : ที่ ศก 0033.014/ว 3527 ลว 16 พ.ค. 2567 เรื่อง ขอเชิญร่วมประชุมชี้แจงการจัดทำบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
1. ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน เกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอขุขันธ์
เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น. #อำเภอขุขันธ์ โดย คณะกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ขุขันธ์ ซึ่งมี นายพงษ์ธร จันทร์สวัสดิ์ นายอำเภอขุขันธ์ เป็นประธานฯ พร้อมด้วยนางณัฐนันท์ จันทร์สวัสดิ์ นายกกิ่งกาชาดอำเภอขุขันธ์ นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 13 หมู่บ้าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคประจำ รพ.สต. และคณะอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ซึ่งกำลังเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอขุขันธ์ ที่ได้เกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยสะสมเป็นลำดับที่ 1 ของจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบกับ สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสที่ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่ 2 ของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งหากไม่ดำเนินการโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ ในระยะเวลาอันใกล้นี้ได้
2. ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการจัดระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2567 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ หัวหน้างานดูแลผู้สูงอายุ สสอ.ขุขันธ์ เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการจัดระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ และห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการจังหวัดศรีสะเกษ และวิเคราะห์ พัฒนา และขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดSTEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip Fractture) เชิงบูรณาการในพื้นที่ต่อไป
3. ร่วมประชุมชี้แจง การจัดทำบัตรพนักงาน เจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ หัวหน้างานงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สสอ.ขุขันธ์ เข้าร่วม ประชุมชี้แจง การจัดทำบัตรพนักงาน เจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542 ณ ห้องประชุมนายแพทย์บัณฑิต จึงสมาน ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
4. ร่วมประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปีงบประมาณ 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ #หัวหน้างานดูแลผู้สูงอายุ/ LTC สสอ.ขุขันธ์ เข้าร่วมประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปีงบประมาณ 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปรือคัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปรือใหญ่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับทิมสยาม06 จำนวนทั้งสิ้น 234 ราย เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 1,404,000 บาท ผ่านไปได้ด้วยดี 🙂🙂🙂
ขอขอบคุณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ , รองนายกฯ ประธานศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลปรือใหญ่ , ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล , ผอ.รพ.สต.ทั้ง 3 แห่ง , คณะกรรมการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง และคณะอนุกรรมการLTC และ ทีมงาน CM และCG ทุกท่านที่ให้ความสำคัญในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย LTC และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพราะ ทุกท่านคือกำลังสำคัญร่วมขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน คนขุขันธ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 🙂🙂🙂 ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้
ที่มา : ที่ ศก71301(สปสช)/ว7 ลว 20 พ.ค. 2567 เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สุงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ครั้งที่ 1/2567
5. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการเสวนาถอดบทเรียนรวบรวมองค์ความรู้ศักยภาพของชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ ด้านบุญประเพณีแซนโฎนตา
เมื่อวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2567 นายสุเพียร คำวงศ์ ได้รับเชิญเป็น วิทยากรบรรยายในโครงการเสวนาถอดบทเรียนรวบรวมองค์ความรู้ศักยภาพของชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ ด้านบุญประเพณีแซนโฎนตา ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจัดโดย กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ นายพงษ์ธร จันทร์สวัสดิ์ นายอำเภอขุขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วย นางณัฐนันท์ จันทร์สวัสดิ์ นายกกิ่งกาชาดอำเภอขุขันธ์ และผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้านจาก 22 ตำบล ร่วมในพิธีเปิดฯ และร่วมประชุมถอดบทเรียนกันอย่างพร้อมเพรียง
6. ร่วมเวทีวางแผนแนวทางการดำเนินการความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายกับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
เมื่อวันอังคารที่ 21พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมไกรภักดี ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ชั้น 2 นายสุเพียร คำวงศ์ ได้เข้าร่วมเวทีวางแผนแนวทางการดำเนินการความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายกับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเวทีนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัย จาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้กรอบการวิจัย การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ ขุขันธ์-อยู่ดีมีสุข : การจัดการทุนทางวัฒนธรรมบนฐานคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวิถีท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชุมชน
พื้นที่ดำเนินงานวิจัย : อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
โดยมี นายพงษ์ธร จันทร์สวัสดิ์ นายอำเภอขุขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดเวทีฯ พร้อมด้วย นางณัฐนันท์ จันทร์สวัสดิ์ นายกกิ่งกาชาดอำเภอขุขันธ์ หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้แทนนายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองการศึกษา ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน รองประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน กำนัน และกลุ่มอาชีพในเขตพื้นที่อำเภอขุขันธ์ ร่วมในพิธีเปิดฯ และเวทีฯ กันอย่างพร้อมเพรียง