"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส อำเภอขุขันธ์

สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2563

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอขุขันธ์


สรุปรายงานสถานการณ์โรค ไข้เลือดออกรวม(26,27,66)
จังหวัด ศรีสะเกษ  ระหว่างวันที่  1 มกราคม 2563  ถึงวันที่  4 มิถุนายน 2563
       นับตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2563 ถึงวันที่  4 มิถุนายน 2563    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค  ไข้เลือดออกรวม(26,27,66)  จำนวนทั้งสิ้น 259 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   17.58  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
       พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  โดยพบเพศหญิง137  ราย  เพศชาย 122  ราย  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  1.12 : 1
      กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14  ปี  คิดเป็นอัตราป่วย 81.48 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  15 -  24  ปี, 5 - 9  ปี, 0 - 4  ปี, 25 - 34  ปี, 35 - 44 ปี,55 -  64 ปี, 65  ปี ขึ้นไป, 45 - 54  ปี  อัตราป่วยเท่ากับ  65.02,64.72,14.9,9.89,4.64, 3.77, 3.31  และ 2.83  ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
       อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  172  ราย  รองลงมาคือ   อาชีพเกษตร,   อาชีพอื่นๆ,   อาชีพนปค.,   อาชีพค้าขาย,   อาชีพราชการ,   อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข,   อาชีพอาชีพพิเศษ,   อาชีพนักบวช,   อาชีพเลี้ยงสัตว์,   อาชีพครู,   อาชีพประมง,   อาชีพทหาร/ตำรวจ,   อาชีพงานบ้าน,   อาชีพรับจ้าง,  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  52,21,12,1,1, ราย ตามลำดับ 
          พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน พฤษภาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 96 ราย  จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้( มิถุนายน ) น้อยกว่าเดือนที่แล้ว (พฤษภาคม) จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้ ( มิถุนายน ) เท่ากับ 5 ราย  ส่วนเดือนที่แล้ว (พฤษภาคม ) เท่ากับ 96 ราย   โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน  มกราคม  40 ราย กุมภาพันธ์  34 ราย มีนาคม  54 ราย เมษายน  30 ราย พฤษภาคม  96 ราย มิถุนายน  5 ราย
           พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลเท่ากับ 56  ราย   ในเขตองค์การบริหารตำบลเท่ากับ  203 ราย  และไม่ทราบเขต เท่ากับ 0 ราย   พบผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมากกว่าในเขตเทศบาล โดยจำนวนผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  เท่ากับร้อยละ 78.38  ส่วนผู้ป่วยในเขตเทศบาล เท่ากับร้อยละ  21.62
              ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลศูนย์เท่ากับ 25 ราย โรงพยาบาลทั่วไป  เท่ากับ 16 ราย  โรงพยาบาลชุมชน  เท่ากับ 204 ราย  คลินิก โรงพยาบาลเอกชน  เท่ากับ 14 ราย
       อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ   โนนคูณ อัตราป่วยเท่ากับ 58.14  ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ   อำเภอ กันทรารมย์,  อำเภอ ราษีไศล,  อำเภอ ศรีรัตนะ,  อำเภอ ปรางค์กู่,  อำเภอ อุทุมพรพิสัย,  อำเภอ ห้วยทับทัน,  อำเภอ ขุนหาญ,  อำเภอ น้ำเกลี้ยง,  อำเภอ ขุขันธ์,  อำเภอ ไพรบึง,  อำเภอ ยางชุมน้อย,  อำเภอ เบญจลักษ์,  อำเภอ ศิลาลาด,  อำเภอ พยุห์,  อำเภอ เมือง,  อำเภอ กันทรลักษ์,  อำเภอ เมืองจันทร์,  อำเภอ วังหิน,  อำเภอ ภูสิงห์,  อำเภอ โพธิ์ศรีสุวรรณ,  อำเภอ บึงบูรพ์, อัตราป่วยเท่ากับ  48.94 ,  35.98 ,  33.7 ,  22.12 ,  19.61 ,  18.84 ,  18.51 ,  15.71 ,  14.51 ,  14.48 ,  13.61 ,  10.74 ,  9.95 ,  8.31 ,  7.16 ,  6.42 ,  5.55 ,  1.99 ,  1.84 ,  0 ,  0 ,   ราย ตามลำดับ 

  
จำนวนป่วย อัตราป่วย อัตราตาย ด้วยโรค ไข้เลือดออกรวม(26,27,66) ไทย
จำแนกตามพื้นที่ ระหว่างวันที่ 
1/1/2563   ถึง  4/6/2563 จังหวัด ศรีสะเกษ
                                จำนวนป่วย(ราย) อัคราป่วย/100, จำนวนตาย( อัตราตาย/100,0   อัตราป่วยตาย   จำนวนประชากร
                        โรค                                                         000             ราย)                00                  ร้อยละ
เมือง                                10         7.16        0        0.00        0.00      139714
ยางชุมน้อย                          5         13.61       0        0.00        0.00       36734
กันทรารมย์                         49        48.94       0        0.00        0.00      100117
กันทรลักษ์                          13         6.42        0        0.00        0.00      202451
ขุขันธ์                               22        14.51       0        0.00        0.00      151623
ไพรบึง                               7         14.48       0        0.00        0.00       48337
ปรางค์กู่                             15        22.12       0        0.00        0.00       67826
ขุนหาญ                             20        18.51       0        0.00        0.00      108047
ราษีไศล                             29        35.98       0        0.00        0.00       80596
อุทุมพรพิสัย                        21        19.61       0        0.00        0.00      107063
บึงบูรพ์                               0          0.00        0        0.00        0.00       10632
ห้วยทับทัน                           8         18.84       0        0.00        0.00       42461
โนนคูณ                             23        58.14       0        0.00        0.00       39562
ศรีรัตนะ                            18        33.70       0        0.00        0.00       53406
น้ำเกลี้ยง                             7         15.71       0        0.00        0.00       44545
วังหิน                                1          1.99        0        0.00        0.00       50198
ภูสิงห์                                1          1.84        0        0.00        0.00       54377
เมืองจันทร์                           1          5.55        0        0.00        0.00       18030
เบญจลักษ์                           4         10.74       0        0.00        0.00       37253
พยุห์                                 3          8.31        0        0.00        0.00       36103
โพธิ์ศรีสุวรรณ                       0          0.00        0        0.00        0.00       23826
ศิลาลาด                             2          9.95        0        0.00        0.00       20110
อัตราป่วยรวม                     259       17.58       0        0.00        0.00  1473011


















แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2563

แผนการรณรงค์และประเมินผลจิตอาสพัฒนาสิ่งแวดล้อม

แผนการรณรงค์และประเมินผลจิตอาสพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปี 2563


อัตราป่วยด้วยโรคที่สำคัญ 10 อันดับ อำเภอขุขันธ์ ปี 2563

อัตราป่วยด้วยโรคที่สำคัญ 10 อันดับ อำเภอขุขันธ์ ปี 2563


































































งานด้านยุทธศาสตร์

1.สนับสนุนการดำเนินงาน covid-19 ของกองทุนสุขภาพตำบล  คลิ๊ก
2.
3.
4.
5.

ข้อสั่งการจังหวัดศรีสะเกษ

ข้อสั่งการ คำสั่ง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ จังหวัดศรีสะเกษ

Time Line การปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคโควิด19 อำเภอขุขันธ์

สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOCกรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
              สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอำเภอขุขันธ์ ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 ไม่มีผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 4 ราย(PUI) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อโควิดทั้ง 4 ราย โรงพยาบาลขุขันธ์จึงให้กลับบ้านทั้ง 4 ราย ด้านการกักกันเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน ที่บ้านในกลุ่มประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายและประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง 48 ราย พ้นระยะกักกันทั้งหมดแล้ว และกลุ่มผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ 3,718 ราย ครบระยะสังเกตอาการ 14 วัน 3,107 ราย(ร้อยละ 83.56 ) ยังต้องสังเกตอาการที่บ้าน 611 ราย(ร้อยละ 16.44)



การดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอำเภอขุขันธ์

มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. อำเภอขุขันธ์ประชุมมอบนโยบายและแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ณ หอประชุมอำเภอขุขันธ์ โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ทุกหน่วยงาน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกตำบล 

23 มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ โดยสรุปดังนี้

1. สถานการณ์และแนวทางการควบคุมโรคโรคโควิด 19

2. การแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) และคณะกรรมการคัดกรอง แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตป้องกันและควบคุมโรค 

3. แนวทางการแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้กักกันเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน ที่บ้านในกลุ่มประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายและประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ความร่วมมือในการกักกัน

4. การสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชน และการจัดทำหน้ากากอนามัยให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล


24-26มีนาคม 2563 อำเภอขุขันธ์ ดำเนินการดังนี้
การปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระดับอำเภอและหมู่บ้าน
1. จัดตั้งทีมอาสาโควิด 19 ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวังโรค
2. จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มาภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อเฝ้าระวังตามสังเกตอาการเป็นระยะ 14 วัน
3. สื่อสารความเสี่ยง ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อแยกตัวสังเกตอาการไข้และอาการทางเดินหายทุกวัน และหลีกเลี่ยงการไกล้ชิดกับผู้อื่นในที่พำนัก หรือที่พักอาศัยจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา
4. แจ้งผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
- ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ช้อนส้อม
- ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70 % ลูบมือจนแห้ง
- หลีกเลี่ยงการพูด ไกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง
- หารมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยทันที

การปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
1. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
2. มาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน/ชุมชน
3. การป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน
4. การจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลที่มาถึงภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 และให้ถือปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
          ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
1. ระดับตำบล ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการปฏิบัติงาน ให้กำนัน ตำรวจ และ อปท. ร่วมดำเนินการ
2. ระดับหมู่บ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลากลางหมู่บ้าน ประกอบด้วยข้อมูลสถานการณ์โรค ข้อมูลกลุ่มเฝ้าระวัง 14 วัน ในหมู่บ้าน สร้างความเข้าใจคนที่กลับมาบ้านว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร มาจากประเทศที่เสี่ยงติดโรค มาจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ตลอดจนการกำกับดูแลเรื่องสุขภาพความเป็นอยู่
3. รวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ลงในเวปไซต์ ทุกวัน เพื่อความรวดเร็วและการเข้าถึงข้อมูล
4. ใบรับรองการแยกกัก คุมไว้สังเกต ครบ 14 วัน ให้ลงนามโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตรวจยืนยันข้อมูลกับศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดศรีสะเกษ และให้นายอำเภอเป็นผู้ควบคุมกำกับ
มาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม
1. จัดหาสถานที่รองรับผู้ป่วย โรงพยาบาลสนาม
2. สำรวจข้อมูลพนักงานและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่จังหวัดปิดสถานที่ชั่วคราว
3. มหาเถรสมาคมแจ้งการจัดกิจกรรมต่างๆของวัด ให้วัดงดหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
5. ปิดตลาดนัดชุมชน ทุกพื้นที่ ทุกหมู่บ้าน
6. ให้มีมาตรการป้องกันโรคในร้านสะดวกซื้อ หากไม่ปฏิบัติให้ระบุโทษตามกฎหมาย
7. สถานประกอบการต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันหนาแน่น ให้ปิดทุกแห่ง
8. ปิดสถานที่ชั่วคราว ห้างสรรพสินค้า เว้นแต่ซุปเปอร์มาร์เก๊ต ร้านขายยา หรือร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหาร(ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น)
9. ปิดสระว่ายน้ำ สวนน้ำ หรือกิจกรรมอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
10. ปิดศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา

27 มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ 
             - ชี้แจงบทบาทหน้าที่ ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรรมการคัดกรอง แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตป้องกันและควบคุมโรค โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander)  ประกอบด้วย
                1. นายอำเภอขุขันธ์        ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๑
                2. ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๒    
                3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุขันธ์    ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๓    
                4. สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์    ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๔
             - การเดินทางกลับบ้านของประชาชน จากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การกักกันอยู่ที่บ้าน 14 วัน
                - การจัดหาสิ่งสนับสนุนการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-๒๐๑๙ ให้ อปท.ทุกแห่งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้รวดเร็ว และเพียงพอ โดยเผื่อเวลาไว้ให้นานที่สุด
              - การจัดตั้งจุดตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามเขต ที่จุดสี่แยกนาเจริญ มี เจ้าหน้าที่จากฝ่ายปกครอง  เจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก สภ.ขุขันธ์ ปรือใหญ่ จะกง และจาก สภ.ขุนหาญซึ่งอาจมาร่วมด้วย  การดูแลเรื่องอาหาร อาหารว่างและเครื่องดืม  ขณะนี้เป็นหน้าที่ของ อบต โสน 
 - การส่งมอบเครื่องตรวจวัดไข้อินฟาเรต ๒ เครื่อง เจลล้างมือ และหน้ากากผ้า ให้กับ รพ.สต.ทุกแห่ง
             - การจัดเตรียมโรงพยาบาลสนามอำเภอขุขันธ์ กรณีมีผู้ป่วย ล้นจากรพ.ศรีสะเกษ
             - การออกตรวจสถานบริการ ตลาดสด ตลาดโต้รุ่ง เซเว่นอีเลเว่น

2 เมษายน 2563  เวลา 14.00 น. ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC)  ณ ศูนย์ EOC อาคารส่งเสริมสุขภาพชั้น 1 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
          - สถานการณ์โรคโควิด 19 และแนวทางการแก้ปัญหาผู้กักกัน ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 
             - การเตรียมโรงพยาบาลสนาม การคัดเลือกสถานที่ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม


7 เมษายน 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC)  ณ ศูนย์ EOC อาคารส่งเสริมสุขภาพชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์


         - ต้อนรับท่านนายอำเภอ นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ประธานแจ้ง สถานการณ์โรคโควิด 19 และแนวทางการแก้ปัญหาผู้กักกัน ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 



8 เมษายน 2563  เวลา 17.00 น. คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับอำเภอออกตรวจแนะนำการป้องกันโรคโควิด ตรวจสถานบริการ ตลาดสด ตลาดโต้รุ่ง เซเว่นอีเลเว่น


9-26 เมษายน 2563  
        ทีมปฏิบัติงานในระดับอำเภอ ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. การตั้งด่านตรวจรักษาความสงบเรียบร้อย ตาม...
    “พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘” 
2. การออกตรวจแนะนำตลาดสด ร้านโต้รุ่ง ร้านอาหาร ร้านเซเว่นอีเลเว่น 
    ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย 
3. การออกติดตามควบคุม...ผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรการกักกัน 14 วัน 
      3.1 กลุ่มประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่ออันตราย(9+2) และประเทศอื่นๆ
      3.2 ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ
4. มาตรการอื่นๆ

        ทีมปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ออกดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
    1.1 การสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ในฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลที่มาถึงภูมิลำเนา 
    1.2 การออกติดตามเยี่ยมผู้ถูกกักกัน 14 วัน ในพื้นที่
2. มาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน/ชุมชน
    2.1 การเฝ้าระวังในงานศพ ตรวจวัดอุณภูมิ เจลล้างมือ อ่างล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
    2.2 การเฝ้าระวังในร้านค้าชุมชน อ่างล้างมือ เจลล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
    2.3 การเฝ้าระวังในศาลากลางหมู่บ้าน วัด โรงเรียน อ่างล้างมือ เจลล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
3. การป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน
    3.1 อสม.ออกแนะนำ ตรวจเยี่ยม กลุ่มผู้สูงอายุ

30 เมษายน 2563  เวลา 15.30 น. ประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินผ่านระบบวีดีโอทางไกล(VCS) ณ ห้องประชุมราชสีห์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม อำเภอขุขันธ์โดยนายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้เชิญผู้เข้าประชุมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงาน ผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่ ทุกหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการถ่ายทอดผ่านระบบ DOPA Chanal ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
       วันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 15.30 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ พร้อมด้วย  หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันทุกตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล VCS โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการประชุม ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ 
         สรุปประเด็นในการประชุม มี ดังนี้                                                                      
(1 ) มติครม. เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 จะมีวันหยุดหลายวัน ทำให้มีการลาหยุดงานต่อเนื่องกันหลายวันในช่วง 1- 11 พฤษภาคม 2563 มีการเดินทางข้ามจังหวัดและการรวมตัวกันของประชาชนเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว ครม.มีมติ สรุปดังนี้
   -ให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ และทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมกันรณรงค์ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อย่างต่อเนื่องต่อไป
    -ขอความร่วมมือประชาชนในการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”และงดการเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น
(2)เรื่อง ชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
  นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้มีประกาศ ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 3 ฉบับ
   2.1 ประกาศ  เรื่อง การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1)
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
  2.2 ประกาศ  เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
   2.3 ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
(3) แนวทางดำเนินการตามมาตรการผ่อนปรน ประเภทกิจการและกิจกรรม เริ่ม 3 พฤษภาคม 2563 นี้
    1. ตลาด : ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย
  2. ร้านจำหน่ายอาหาร : ร้านอาหารทั่วไป (นอกห้าง)  ร้านอาหารริมทาง รถเข็น หาบเร่
  3. กิจการค้าปลีก ส่ง : ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกขนาดย่อม ร้านค้าชุมชน
  4 กีฬา สันทนาการ : กิจกรรมในสวนสาธารณะ  (โดยไม่ให้เล่นเป็นทีมและไม่มีการแข่งขัน)
  5. ร้านตัดผม เสริมสวย : เฉพาะ ตัด สระ ไดร์ผม

  6. อื่นๆ : ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับเลี้ยง รับฝากสัตว์

วันที่ 1 - 13 พฤษภาคม 2563 นายสุริยา  บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้มอบหมายให้ มว.ท.พันธ์ทิพย์  แสงแก้ว จ่ากองร้อย อส. (จนท.ปค.ฝ่ายความมั่นคง) พร้อมด้วยสมาชิก อส. ในสังกัดกองร้อย อส. อ. ขุขันธ์ ที่ 5 ได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ขุขันธ์  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์  รวม 10  นาย.  ได้ร่วมกันปฎิบัติหน้าที่ ตั้งจุดตรวจ จุดคัดกรอง ฯ ณ บริเวณตู้ยามรัตนากรวิสุทธิ์ ในเขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์  
ผลการปฎิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ประธานในการประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอ (ก.บ.อ.) ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น และกำนัน ครั้งที่ 4/2563 และประชุมคณะกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (EOC) 

       เพื่อแจ้งข้อราชการต่างๆ รวมถึงแนวทางมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้มอบหมายให้นายสุวรรณ เนตรเนติกุล ปลัดอําเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอขุขันธ์ รับมอบเจลแอลกอฮอล์ จากบจก.เอี่ยมศิริแป้งมัน และบจก.เอี่ยมอุบล เพื่อแจกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ บุคลากร ในสังกัดหน่วยงานต่างๆในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อำเภอขุขันธ์ จำนวน 1,449.52 ลิตร
       โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้แทนส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมรับมอบเจลแอลกอฮอล์ ณ ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
 วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ นายสุวรรณ เนตรเนติกุล ปลัดอําเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอขุขันธ์  รับมอบน้ำดื่ม อาหารแห้ง จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสิ่งของใส่ ตู้ปันน้ำใจ เพื่อช่วยเหลือคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด -19 
       " หยิบฟรี หยิบไปแต่พอดี ถ้ามีช่วยแบ่งปัน"
       ชาวอำเภอขุขันธ์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันอาหารช่วยเหลือคนไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19  สามารถแจ้งความประสงค์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปัน ได้ที่ ตู้ปันน้ำใจ หน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์
วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.00 น. เทศบาลเมืองห้วยเหนือ โดย ผอ.กองสาธารณสุขฯ จนท.กองสาธารณสุขฯ และทีมพัฒนาออกติดตั้งอ่างล่างมือตลาดสดเทศบาล2และตลาดโต้รุ่ง