1. งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
1.1 สรุปผลการประชุมราชการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
สคร.10 อุบลราชธานี ชี้เเจงมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2567 👉
✅ร้อยละของหน่วยบริการสุขภาพสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.) มีการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐานที่กรมควบคุมโรคกำหนด (ร้อยละ 25 ผ่านเกณฑ์ระดับเริ่มต้นพัฒนาขึ้นไป)
มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับ รพ.สต. (5 องค์ประกอบ เกณฑ์การดำเนินงาน 25 ข้อ) คลิ๊กลิงค์ด้านล่างนะคะ 👇👇
https://docs.google.com/document/d/1bDufYvXoJqYq3G_WFlNBvVbNqugHinUL/edit
แบบรายงานผลการดำเนินงานเพื่อขอรับการประเมิน ตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ประจำปี 2567
ระบบประเมินออนไลน์ (รพ.สต. สามารถเข้าไปประเมินตนเอง พร้อมแนบเอกสาร/หลักฐานผ่านระบบออนไลน์ได้เเล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 66 - 15 ก.ค. 67 ค่ะ ** กรณีไม่ประเมินโดยใช้แบบรายงาน)
รหัสเข้าใช้งานสำหรับหน่วยบริการ
USERNAME : รหัสสถานบริการ 5 หลัก (XXXXX)
PASSWORD : @XXXXX@
👉สรุป Timeline การประเมินและรับรองการจัดบริการอาชีวอนามัย ใน รพ.สต. ปี 2567
การประเมินตนเอง
- รพ.สต. ประเมินตนเองผ่านระบบอนไลน์พร้อมแนบหลักฐาน ตั้งเเต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2566 - 15 กรกฎาคม 2567
- สสจ. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานในระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 (กรณีไม่แนบหลักฐาน หรือเเนบไม่ตรงตามเกณฑ์ ให้คะเเนนเป็น 0)
การรับรองผล
😊 ระดับเริ่มต้นพัฒนา - ระดับดีมาก
- สคร. 10 ประเมินรับรองผล ตั้งเเต่วันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2567
- สถาบันราชประชาสมาสัยจัดทำเกียรติบัตรรับรองคุณภาพฯ
😀 ระดับดีเด่น
- คณะกรรมการส่วนกลาง ร่วมกับ สคร.10/สสจ. สุ่มสอบทวน (แบบ onsite/online) ตั้งเเต่วันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2567
- สคร. สรุปรายชื่อที่ผ่านการรับรอง ส่งไปยังสถาบันราชประชาสมาสัย ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567
- สถาบันราชประชาสมาสัยจัดทำโล่รับรองคุณภาพฯ
หมายเหตุ ระยะเวลารับรองผล มีอายุ 3 ปี (1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2570)
ดาวน์โหลดแนวทางและเเบบฟอร์มสนับสนุนการดำเนินงาน 👉 https://drive.google.com/drive/folders/1cPmiBQnDVUen6K-MTp8DUDSJBI7MrrGJ
2. งานคุ้มครองผู้บริโภค
2.1 รายงานผลการสำรวจเฝ้าระวังลุกชื้นเถื่อน 9 ยี่ห้อ หมูยอ และน้ำปลาร้าบรรจุขวด ตามวาระเร่งด่วน อย. และนโยบายขับเคลื่อนจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ 29 มกราคม 2567 งานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ โดย นางสาวอัจฉรา ประสงค์จินดา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ลงพื้นที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้น 9 ยี่ห้อ ตามวาระเร่งด่วน อย. และน้ำปลาร้าบรรจุขวด ตามนโยบายขับเคลื่อนจังหวัดศรีสะเกษ ตลอดจนผลิตภัณฑ์หมูยอ (ตามวาระการประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัย จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2567 โดยมีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษเป็นประธานฯ) ในร้านค้าและสถานประกอบการในพื้นที่ ผลการลงพื้นที่ตรวจสอบไม่พบผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นยี่ห้อที่เป็นปัญหาดังกล่าว แต่พบผลิตภัณฑ์หมูยอไม่มีฉลาก ไม่มีเลข อย. ไม่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุ จากการสอบถามผู้ประกอบการรับมาจากแหล่งผลิตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเบื้องต้นได้ให้คำเเนะนำผู้ประกอบการในการห้ามจำหน่ายสินค้าดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และได้ให้คำเเนะนำผู้ประกอบการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ถูกต้องมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภค
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเลข อย.
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุเเล้ว แต่นำมาจำหน่าย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลาก
2.2 การสำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ จังหวัดศรีสะเกษ (GIS)
ขอความร่วมมือ รพ.สต.ทุกเเห่งดำเนินการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ โดยใช้เครื่องมือ "ร้านชำ GIS Ver.3" หรือ "หอมแดง Next Gen" โดยสามารถดำเนินการสำรวจได้ตั้งเเต่เดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2567 (ตัดรอบที่ 30 มิ.ย. 67) เป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ทุกเเห่ง (เฉพาะสังกัด สสจ.ศก.)
ลิงค์สำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ คลิ้กด้านล่างเลยค่ะ 👇
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfL6w6QVwapXAM35OaHk1OaiHOTMCC81-IddOjzw3CcsyeiHA/viewform
2.3 สรุปผลการดำเนินงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อำเภอขุขันธ์ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 (ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ รายงานสรุปผลการดำเนินการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดศรีสะเกษ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 (ระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2566) เพื่อแสดงทิศทางผลการดำเนินงาน รวมถึงแนวโน้มของการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2567
- จำนวนประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองบำบัดการสูบบุหรี่ จำนวน 14,470 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.4 จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไปทั้งหมด จำนวน 83,172 ราย
ผลการคัดกรอง พบว่า
*สูบแล้วเเต่เลิก 791 ราย
*ไม่สูบ 12,515 ราย
*สูบ 1,164 ราย (8.04%)
ผลการบำบัดผู้ติดบุหรี่
* ได้รับการบำบัด 636 ราย (54.64%) ผลการบำบัด ดังนี้ เลิกบุหรี่ได้ 1 เดือน (2 ราย) เลิกบุหรี่ได้ 3 เดือน (2 ราย) เลิกบุหรี่ได้ 6 เดือน (27 ราย)
- จำนวนประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองบำบัดผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 14,068 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.01 จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไปทั้งหมด จำนวน 83,172 ราย
ผลการคัดกรอง พบว่า
* ไม่เคยดิ่ม 10,306 ราย (73.26%)
* เคยดื่มแต่หยุดมาเเล้ว 1 ปี ขึ้นไป 808 ราย (5.74%)
* ดื่ม 2,937 ราย (20.88%)
* จำนวนผู้ดื่มสุราความเสี่ยงต่ำ 2,810 ราย (95.98%) ได้รับ BA 1,833 ราย (65.02%)
* จำนวนผู้ดื่มสุราความเสี่ยงปานกลาง 112 ราย (3.81%) ได้รับ BC 26 ราย (23.21%)
* จำนวนผู้ดื่มสุราความเสี่ยงสูง 6 ราย (0.2%) ได้รับ BC 1 ราย (16.67%)
3. งานการเเพทย์แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก
3.1 สรุปคะเเนนการประเมินรับรองมาตรฐาน รพ.สส.พท. ประจำปี 2567 เพื่อขอรับรองมาตรฐานการจัดบริการจากกรมการเเพทย์แผนไทย
ระดับดีเยี่ยม ได้เเก่
- รพ.สต.บ้านโคกโพน
- รพ.สต.บ้านกวางขาว
- รพ.สต.บ้านใจดี
- รพ.สต.บ้านสมบูรณ์
- รพ.สต.บ้านหนองลุง
- รพ.สต.บ้านปรือใหญ่
- รพ.สต.บ้านสำโรงตาเจ็น
- รพ.สต.บ้านกฤษณา
- รพ.สต.บ้านหัวเสือ
ระดับดีมาก ได้เเก่
- รพ.สต.บ้านบ่อทอง
- รพ.สต.บ้านขนุน
- รพ.สต.บ้านคลองกลาง
- รพ.สต.บ้านตรอย
- รพ.สต.บ้านจะกง
- รพ.สต.บ้านโนน
ระดับพื้นฐาน ได้เเก่
- รพ.สต.บ้านหนองคล้า
- รพ.สต.ทับทิมสยาม 06
- รพ.สต.บ้านอาวอย
3.2 ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐบันทึกข้อมูลการให้บริการด้านการเเพทย์ทางเลือก
ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับเเจ้งจากกรมการเเพทย์แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก เพื่อขอประชาสัมพันธ์ให้หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐบันทึกข้อมูลการให้บริการด้านการเเพทย์ทางเลือกของหน่วยงาน เพื่อทราบถึงสถานการณ์การให้บริการการเเพทย์ทางเลือก อันจะนำไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านการแพทย์ทางเลือกในระบบสุขภาพต่อไป
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ รพ.สต. ของท่าน บันทึกข้อมูลการให้บริการด้านการเเพทย์ทางเลือกของหน่วยงาน ตามลิงค์ด้านล่างนี้👇
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScIJIbhKIU2-zIi5eIuHxsPzsbD0JMnBC0MbHzMRLS1ibprUA/viewform
3.3 การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการผลิตและขอรับการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยการผลิตสมุนไพรและยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา
ตามที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ ได้รับเเจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการผลิตและขอรับการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยการผลิตสมุนไพรและยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการปรับปรุงเเละเเก้ไขคำสั่งมอบอำนาจใหม่ ซึ่งได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการผลิต และขอรับการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นยาจากสมุนไพร รวมถึงยาแผนไทย ยาพัฒนาจากยาสมุนไพร และยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา และหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ที่จะผลิตและสนับสนุนให้บริการอื่นได้ ต้องเป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐาน GMP และต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับผู้ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ๒๕๖๒
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จึงขอแจ้งรายละเอียดการมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการผลิตและขอรับการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยการผลิตสมุนไพรและยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา
คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการผลิตและขอรับการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา