"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุม 6 กรกฎาคม 2560

ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ครั้งที่  ๖/๒๕๖๐
วันพฤหัสบดีที่  6 กรกฎาคม  ๒๕๖๐
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

********** ¯ ***********


          กลุ่มงานควบคุมโรค
1. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..12  มิ.. 2560 พบผูปวย 13,961 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 21.34 ตอ แสนประชากร เสียชีวิต 27 ราย คิดเปนอัตราตาย 0.04 ตอแสน
ประชากร อัตราสวนเพศชายตอเพศหญิง
1: 0.95 กลุมอายุที่พบมาก ที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 15-24  (26.87 %) 10-14 ป (19.70 %) 25-34 ป (14.55 อาชีพสวนใหญ นักเรียนรอยละ 46.1 รับจางรอยละ 19.0 ไมทราบอาชีพ/ในปกครอง รอยละ 17.5 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ สงขลา (159.40 ตอแสนประชากร) พัทลุง (134.59 ตอ แสนประชากร) ปตตานี(105.35 ตอแสนประชากร) นราธิวาส (81.78 ตอแสนประชากร) นครศรีธรรมราช (72.95 ตอแสนประชากร)
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..20  มิ.. 2560  จำนวนทั้งสิ้น 162 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย 11.11  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14  ปี (46.48  ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ   15 - 24  ปี  (25.37  ต่อแสนประชากร)  กลุ่มอายุ  5 - 9 ปี (13.32  ต่อแสนประชากร) กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (13.25  ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (5.92  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  นักเรียน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 66 ราย รองลงมาคือ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (40 ราย) เกษตร (35 ราย)  อื่นๆ (7  ราย) และบุคลากรสาธารณสุข (6  ราย)  อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ อำเภอโนนคูณอัตราป่วย 30.97  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอขุนหาญ (25.69 ต่อแสนประชากร) อำเภอยางชุมน้อย  (24.4  ต่อแสนประชากร)  อำเภอเบญจลักษ์  (19.14  ต่อแสนประชากร) และอำเภอเมือง  (14.71 ต่อแสนประชากร)  ขุขันธ์ 14 ราย (9.41 ต่อแสนประชากร) อันดับ 9
โรคไข้เลือดออกเกิดได้ตลอดทั้งปี  ช่วงนี้มีฝนตกในทุกพื้นที่  จำเป็นต้องมีการลดภาชนะขังน้ำ โดยการกำจัดขยะมูลฝอยต่างๆ  ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบบ้านและชุมชนโดยเฉพาะหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปในระยะเวลา 28 วันนับจากปัจจุบัน  ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษพบว่ามีจำนวน  13 หมู่บ้าน  ได้แก่
1.อำเภอ กันทรลักษ์ ตำบลตระกาศ บ้านม่วง
2.อำเภอ กันทรลักษ์ ตำบลหนองหญ้าลาด บ้านป่าไม้พัฒนาใต้
3.อำเภอ กันทรารมย์ ตำบลหนองแก้ว บ้านหนองแก้ว
4.อำเภอ ขุนหาญ ตำบลขุนหาญ บ้านหมู่ 08
5.อำเภอ ขุนหาญ ตำบลบักดอง บ้านสันติสุข
6.อำเภอ ขุนหาญ ตำบลพราน บ้านซำตาโตง
7.อำเภอ น้ำเกลี้ยง ตำบลคูบ บ้านหนองแวง
8.อำเภอ เมือง ตำบลเมืองเหนือ
9.อำเภอ เมือง ตำบลหนองครก บ้านหนองครกใต้
10.อำเภอ ยางชุมน้อย ตำบลคอนกาม บ้านค้อ
11.อำเภอ ยางชุมน้อย ตำบลคอนกาม บ้านค้อใหม่
12.อำเภอ ราษีไศล ตำบลหนองแค บ้านเพียมาตย์
13.อำเภอ อุทุมพรพิสัย ตำบลปะอาว บ้านฝาง
ทั้งนี้ควรดำเนินการควบคุมโรคอย่างเข้มข้นตลอดจนการเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษจึงขอความร่วมมือท่านผู้บริหารสาธารณสุขกำกับติดตามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความร่วมมือในการดูแลสภาพแวดล้อม และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง    ลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน  หมู่บ้าน ชุมชน ทำให้ วัด โรงเรียนและหน่วยงานปลอดลูกน้ำยุงลาย และขอขอบคุณทุกหน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือด้วยดีมาโดยตลอด
          2. สถานการณ์โรคสุกใส
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..12  มิ.. 2560 พบผูปวย 35,822 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 54.75 ตอ แสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราสวนเพศชายตอเพศหญิง 1:1
กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 15-24 ป (16.15 %) 10-14 ป (15.52 %) 7-9 ป (15.13 %) อาชีพสวนใหญ    นักเรียนรอยละ 44.3 ไมทราบอาชีพ/ใน ปกครองรอยละ 33.1 รับจางรอยละ 13.8 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสน   ประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ นาน (154.52 ตอแสนประชากร) ภูเก็ต (140.66 ตอ แสนประชากร) เชียงราย (121.98 ตอแสนประชากร) ระยอง (99.60 ตอแสนประชากร)ลําปาง (90.48 ตอ
แสนประชากร)
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..20  มิ.. 2560  พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1,026 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 70.38 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1  ราย  อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ  0.07  อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ  0.10 อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.03 : 1  กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ  5 - 9  ปี  (368.47  ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ    0 - 4  ปี  (281.83 ต่อแสนประชากร)  กลุ่มอายุ 10 - 14  ปี (185.93  ต่อแสนประชากร) กลุ่มอายุ 15 - 24  ปี (68.41  ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (36.44  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  นักเรียน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  467  ราย  รองลงมาคือ   ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (333  ราย)  เกษตร (80  ราย)  อื่นๆ (63  ราย) และบุคลากรสาธารณสุข (40  ราย)  อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอบึงบูรพ์อัตราป่วย  230.67  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอไพรบึง  (150.34  ต่อแสนประชากร)  อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  (133.28  ต่อแสนประชากร)  อำเภอยางชุมน้อย  (122.01  ต่อแสนประชากร) และอำเภอเบญจลักษ์  (117.55  ต่อแสนประชากร) 
จากสถานการณ์ผู้ป่วยทั้งจังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่วยสูงขึ้นตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ และสูงสุดในเดือนมีนาคม 2560 เริ่มลดลงในเดือน เมษายน-พฤษภาคม  2560  แต่ยังพบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ซึ่งถือว่าเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่ตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงปัจจุบัน  ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังและดำเนินการตามหลักการเฝ้าระรังควบคุมโรคเน้นการสอบสวนโรคและให้ความรู้ในการดูแลตนเองทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อลดการติดเชื้อและควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สถานการณ์โรคมือเท้าปาก
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..12  มิ.. 2560   พบผูปวย 21,689 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 33.15 ตอแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง 1:0.74 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 1 ป (26.86 %) 2 ป (24.11 %) 3 ป (17.73 %) อาชีพสวนใหญ ไมทราบอาชีพ/ในปกครองรอยละ 87.4 นักเรียนรอยละ 10.9 อื่นๆ รอยละ 0.9 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสน
ประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ จันทบุรี(109.03 ตอแสนประชากร) สุราษฎรธานี (97.27 ตอแสนประชากร) ตราด (89.39 ตอแสนประชากร) เลย (76.81 ตอแสนประชากร) แมฮองสอน (59.78 ตอแสนประชากร)
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรคตั้งแต่วันที่  1 ม..20  มิ.. 2560  พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 616 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   42.26  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต  อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง  เท่ากับ 1.44 : 1  กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ  0 - 4  ปี  (675.67  ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ    5 - 9  ปี  (45.5  ต่อแสนประชากร)  กลุ่มอายุ 10 - 14  ปี (7.57  ต่อแสนประชากร)  กลุ่มอายุ 45 - 54  ปี (0.92  ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ 15 - 24  ปี (0.91  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  568  ราย  รองลงมาคือ   นักเรียน (36  ราย) , อื่นๆ (6  ราย) , เกษตร  (3  ราย) และบุคลากรสาธารณสุข (2  ราย)  อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอห้วยทับทันอัตราป่วย  132.07  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอเมืองจันทร์  (128.54  ต่อแสนประชากร)  อำเภอกันทรารมย์  (86.52 ต่อแสนประชากร)  อำเภอยางชุมน้อย  (84.05  ต่อแสนประชากร) และอำเภอขุนหาญ  (67.56  ต่อแสนประชากร)
จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นและส่วนใหญ่เป็นเด็กโดยเฉพาะเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเดือนมิถุนายนมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการเกิดโรคในเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง  ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรดำเนินการให้เกิดการดำเนินงานตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรคเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อ  สนับสนุนให้ครูพี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครองให้การคัดกรองอาการเด็กหากมีอาการป่วยหรือสงสัย ให้เน้นการแจ้งข่าวมายังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจสอบและดำเนินการให้ผู้มีอาการได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเน้นความสะอาด และการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลทั้งที่บ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

4. เลปโตสไปโรซีส
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1  ม.. - 10 มิ.. 2560  พบผูปวย 874 ราย จาก 61 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 1.34 ตอแสนประชากร เสียชีวิต 24 ราย คิดเปนอัตราตาย 0.04 ตอแสนประชากร  อัตราสวน เพศชาย
ตอเพศหญิง
1:0.29 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 45-54 ป (20.82 %) 35-44 ป (20.25 %) 55-64 ป (15.79 %) สัญชาติเปนไทย รอยละ 98.3  พมา รอยละ 1.6  ลาว รอยละ 0.1 อาชีพสวนใหญ เกษตรรอยละ 44.6 รับจาง
รอยละ
26.9 นักเรียนรอยละ 9.0 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด  5  อันดับแรกคือ   ศรีสะเกษ (9.68 ต่อ
แสนประชากร ) นครศรีธรรมราช (
9.03  ตอแสนประ
ชากร)  กระบี่ (8.49  ตอแสนประชากร) ตรัง ( 6.25 ตอแสน
ระชากร) พัทลุง (5.56 ตอแสนประชากร)
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม..20  มิ.. 2560  พบผูปวยจำนวนทั้งสิ้น 162 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   11.11  ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1  ราย   อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ    0.07   อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ  0.62  อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง  เท่ากับ 4.59 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 45 - 54  ปี  (41  ราย)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ   35 - 44  ปี  (39  ราย) , กลุ่มอายุ        55 - 64  ปี (26  ราย) , กลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (22  ราย) และกลุ่มอายุ 65ปีขึ้นไป (18  ราย)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  เกษตร  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  123  ราย  รองลงมาคือ   ข้าราชการ (9  ราย)  รับจ้าง/กรรมกร (9  ราย)   อื่นๆ (8  ราย) และไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (5  ราย)  อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอขุนหาญอัตราป่วย  40.92  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอขุขันธ์ 48 ราย  (32.26  ต่อแสนประชากร)  อำเภอภูสิงห์  (26.99  ต่อแสนประชากร)  อำเภอไพรบึง  (16.7  ต่อแสนประชากร) และอำเภอปรางค์กู่  (14.67  ต่อแสนประชากร)
กลุ่มเสี่ยงโรคดังกล่าวประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีอายุอยู่ในวัยทำงาน  ในช่วงนี้จะมีการดำเนิน กิจกรรมทางการเกษตร ทำนา  ทำไร่  ที่มีโอกาสไปสัมผัสเชื้อก่อโรคได้ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ ขอให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์  ให้ความรู้ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ลดการติดเชื้อ หากมีอาการตั้งแต่เริ่มป่วยให้เข้ารักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความรุนแรงของโรค  และโรงพยาบาลควรพิจารณาเข้าร่วมโครงการวิจัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ดำเนินการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจยืนยันการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส  จะเป็นการเก็บข้อมูลและการรับรู้สถานการณ์การระบาดในสัตว์รังโรคและสัตว์เลี้ยงเพื่อผลในการเฝ้าระวังควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพต่อไป


5. งานระบาดวิทยา   
5.1 เฝ้าระวังรายงาน 506
นับตั้งแต่ 1 ม..23 ..  2560  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก  ได้แก่
โรคอุจจาระร่วง  ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  ปอดบวม  ตาแดง  อาหารเป็นพิษ  สุกใส 
STD (Sexually  Transmitted  Disease) วัณโรค มือเท้าปากและงูสวัด  ตามลำดับ  การส่งรายงาน 506 ในเดือน  มิถุนายน 2560 (รายละเอียดตามภาคผนวก)

          5.2  ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค  ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด  ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม R506  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 – 20 มิถุนายน 2560  มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น  149 ราย ใน 18  อำเภอ มี 6 โรค 7 รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ มาลาเรีย  จำนวน  50  ราย  รองลงมาคือ ไข้เลือดออก  จำนวน  60 ราย จำแนกเป็น DF จำนวน  51  ราย  และ  DHF  จำนวน  ราย  Leptospirosis จำนวน 50 ราย    มาลาเรีย  จำนวน  30  ราย  หัด  จำนวน  ราย  ไข้สมองอักเสบ  จำนวน  3 ราย   ดังนั้นขอให้ SRRT  แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรคส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานต่อไป  (เอกสารรายชื่อผู้ป่วยต้องสอบสวนโรค ส่งไปที่อีเมล์เครือข่าย SRRT ระดับอำเภอทุกอำเภอ)  รายละเอียดตามตารางที่
ตารางที่  จำนวนผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรคตามเกณฑ์การสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา  ปี 2560  พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามอำเภอและโรคที่ต้องสอบสวน ประจำเดือน มิถุนายน  
(24 พฤษภาคม – 20 มิถุนายน 2560)   


วาระการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2560 ออนไลน์(อ.สุเพียร คำวงศ์&อ.สมจันทร์ บัวเขียว)

1. ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ภายใต้โครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข(Long Term Care:LTC) อำเภอขุขันธ์ มีพื้นที่นำร่องในปีประมาณ 2560 จำนวน 10 ตำบล ได้แก่ 
           1) กันทรารมย์ (รพ.สต.โคกโพน และ อบต.กันทรารมย์)
           2) โคกเพชร (รพ.สต.โคกเพชร และ อบต.โคกเพชร)
           3) จะกง (รพ.สต.จะกง และ อบต.จะกง)
           4) ใจดี (รพ.สต.ใจดี และ อบต.ใจดี)
           5) ปรือใหญ่ (รพ.สต.ปรือใหญ่ ,ปรือคัน ,ทับทิมสยาม 06 และ อบต.ปรือใหญ่)
           6) โสน (รพ.สต.อาวอย , ขนุน ,หนองคล้า และ อบต.โสน)
           7) ศรีสะอาด (รพ.สต.ตะเคียนบังอีง และ อบต.ศรีสะอาด)
           8) สะเดาใหญ่ (รพ.สต.รพ.สต.หนองลุง และ อบต.สะเดาใหญ่)
           9) สำโรงตาเจ็น (รพ.สต.สำโรงตาเจ็น และ อบต.สำดรงตาเจ็น)
           10) หัวเสือ (รพ.สต.หัวเสือ และ อบต.หัวเสือ)

ขอบคุณพื้นที่นำร่องฯ ทั้ง 10 ตำบล และ Cmuห้วยเหนือ ที่ไปร่วมประชุมฯ สำหรับเอกสารประกอบการอบรม CM และ อปท.วันที่ 22 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเนวาด้า จ.อุบลฯ เพื่อให้ทุกแห่งไว้ดาวน์โหลดนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้

 เอกสารสำหรับ CM และ อปท.   คลิกดาวน์โหลด

 เอกสาร อ.หมอ กฤช ลี่ทองอิน   คลิกดาวน์โหลด 

 ตัวอย่างโครงการLTCและการบริหารจัดการของท้องถิ่น_งบLTC_ผ่านศูนย์ฯ  คลิกดาวน์โหลด
ประกอบด้วยเอกสาร 3 ชุด ดังนี้ 
1) การบริหารจัดการของท้องถิ่น_งบLTC_ศูนย์
2) โครงการ LTCตัวอย่าง_ศูนย์

3) โมเดลการบริหารจัดการLTC ทต.นาเรือง (งานบรรยาย ป.มานพ ทต.นาเรือง)

 ไฟล์เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางดำเนินงานกองทุนตำบลและการดำเนินงาน LTC ปี ๒๕๖๐ เพื่อทำความเข้าใจการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการ LTC และการสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ของอปท.ในพื้นที่ดำเนินงาน LTC ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐   คลิกดาวน์โหลด
 ไฟล์คู่มือการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน(บ้านกลางของผู้สูงอายุ)   คลิกดาวน์โหลด

ภาพบรรยากาศการอบรม CM และ อปท.
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเนวาด้า จ.อุบลฯ

2. สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือตรวจสอบรายงานผู้สูงอายุจาก HDC(43+7 แฟ้ม) ของ รพ.สต.ของท่านด้วยครับ

     10. ร้อยละของ Healthy Ageing จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2560 >คลิกเพื่อตรวจสอบ
     11. จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2560 >คลิกเพื่อตรวจสอบ
     12. ผลการคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง (Special PP)จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2560 >คลิกเพื่อตรวจสอบ


3. วาระการประชุมฯฝากจาก คุณสมจันทร์ บัวเขียว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 
    3.1 คปสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ รพ.สต.ตะเคียนช่างเหล็ก , อาวอย , หัวเสือ , จะกง , ปราสาท , ปรือคัน และทับทิมสยาม 06 ที่ได้ส่งCare Giver(CG)เข้ารับการอบรมในโครงการของ กศน.อำเภอขุขันธ์ ในการจัดอบรมCare Giver(CG) ตามหลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย เมื่อวันที่ 12 - 14 มิถุนายน 2560 ณ ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองห้วยเหนือ ทำให้ในขณะนี้ คปสอ.ขุขันธ์ เรามี Care Giver(CG) ครอบคลุมทุก ตำบล และทุก รพ.สต. แล้ว ในปีงบประมาณ 60 โดยมีCare Giver(CG) ทั้งสิ้น จำนวน 126 คน (และมีกลุ่มเป้าหมายLTC จำนวน ทั้งสิ้น 579 รายในพื้นที่LTCนำร่อง 10 ตำบล 14 รพ.สต.)  และให้เตรียมพร้อมขับเคลื่อน LTC ปีงบประมาณ 2561 กันต่อไป 

    3.2 คปสอ.ขุขันธ์ ขอให้Care manager(CM) จำนวน 14 รพ.สต.(ดังข้างต้น ในข้อ 1)ที่อยู่ในพื้นที่นำร่องโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข(Long Term Care:LTC) ปีประมาณ 2560 ทั้ง 10 ตำบล เร่งรัดเขียนCare Plan ส่งให้ อบต.ทั้ง 10 แห่ง เพื่อกระตุ้นการดำเนินงานLTCในพื้นที่ โดยไม่ต้องรอว่า อบต.นั้น ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทุกคนได้รับประโยชน์โดยทั่วหน้ากัน ส่งCare Planให้ อบต.ภายใน 17 ก.ค. 2560 นี้ นะครับ คลิกดาวน์โหลดตัวอย่างCare Planห้วยเหนือ2560

    3.3 คณะกรรมการระดับอำเภอฯ จะออกประเมินงานLTC ,ชมรมผู้สุงอายุ และวัดส่งเสริมสุขภาพ ประมาณปลายเดือนกรกรฎาคม 2560 นี้(แผน/กำหนดการที่แน่นอน จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) 
           หมายเหตุ - ประเมินตำบลละ 1 วัด และ 1 ชมรมผู้สุงอายุ
                              - งานตำบลLTCนำร่อง 10 ตำบล 14 รพ.สต. จะไปตามดูCare Plan(C/P) ไม่ต้องเตรียมนำเสนอ เพราะจะไปติดตามให้คำแนะนำชี้แนะ

    3.4 การคัดกรองตา ตามโปรแกรม vision 2020 http://www.vision2020thailand.org/report.php ให้เตรียมกลุ่มเสี่ยงไว้เพื่อจะได้ประสานงานให้แพทย์ออกใบส่งตัว(Refer Card)ให้คนไข้ไปโรงพยาบาลศรีสะเกษ หรือ โรงพยาบาลประชารักษ์ ต่อไป และสำหรับ รพ.สต.ใดที่ได้คัดกรองครบตามเป้าแล้ว ขอให้ส่งเอกสารเบิกงบสนับสนุนฯ รพ.สต.ละ 1,250 บาท ได้ที่ คุณสมจันทร์ บัวเขียว ในวันและเวลาราชการ


       หมายเหตุ 
       (1) รายงานการคัดกรองตาผู้สูงอายุในโปรแกรม Vision 2020 Thailand ต้องมากกว่าร้อยละ 75

        (2) รายงานการคัดกรอง Basic Geriatric Screening ภาพรวมโปรแกรม Aging Health Data ต้องมากกว่าร้อยละ 90

       (3) สำหรับพื้นที่ตำบล LTC จำนวน Care Plan ที่เขียน และ Care Giver(CG)ลงสู่การปฏิบัติ ต้องมากกว่าร้อยละ 80
     OK- พื้นที่ LTC : 10 ตำบล : 14 รพ.สต. งบประมาณโอนลงที่ท้องถิ่นแล้ว ทุกแห่ง
     OK- 10 เม.ย.60 ที่ผ่านมาได้จัดประชุม Conference Care Plan เป้าหมาย CM จำนวน 14 รพ.สต.
     OK-  6 มิ.ย. 60 ขับเคลื่อนองค์กรท้องถิ่น พื้นที่เป้าหมาย 10 ตำบล ร่วมกับ รพ.สต.
     OK-  เดือน มิ.ย.60 CM นำเสนอ CP กับคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อขออนุมัติ ดำเนินการตาม CP  เริ่มลงปฏิบัติงาน ตาม CP
    - ปลายเดือน ก.ค. 60 ออกประเมินระดับอำเภอ โดยคณะกรรม LTC ระดับอำเภอ
อย่างน้อยต้องได้ ระดับดี ร้อยละ 30 คือ 4 แห่ง จาก 14 แห่ง

4. อำเภอขุขันธ์ ได้รับแจ้งจากจังหวัดศรีสะเกษ และกระทรวงมหาดไทยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ให้ทุกหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจไปสำรวจกล้องวงจรปิด(CCTV) ในพื้นที่ของแต่ละหน่วยงานให้พร้อมใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของการติดตั้งกล้อง โดยกล้องใดติดตั้งเพื่อใช้ตรวจสภาพ หรือเพื่อใช้ป้องปรามก็ต้องปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยความปลอดภัย และหากเกิดเหตุการณ์ใดในช่วงที่ผ่านมา แล้วมีรายงานว่ากล้องวงจรปิด(CCTV) ไม่สามารถใช้การได้ หัวหน้าหน่วยงานนั้นต้องรับผิดชอบ  สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือรายงานและแก้ไขให้ใช้การได้ทุกแห่ง ภายใน 14 ก.ค. 2560
ตัวอย่างภาพจากกล้องวงจรปิด สสอ.ขุขันธ์
เฝ้าระวังและตรวจตราสถานการณ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  
ที่มา : ที่ ศก 0418/ว 2743 ลง 27 มิถุนายน 2560 เรื่อง การสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องแก่สาธารณชนและการป้องกันเหตุร้ายในพื้นที่