"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 2566 ออนไลน์(อ.สุเพียร คำวงศ์)

   งานดูแลผู้สูงอายุ/LTC &COC

1. กิจกรรมเยี่ยมเสริมพลังติดตามการดำเนินงานเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ  ปีงบประมาณ 2566 ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโพน
        เมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 08.00 - 16.30 น.  อำเภอขุขันธ์ โดย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอขุขันธ์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโพน พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับ คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 ในกิจกรรมเยี่ยมเสริมพลังติดตามการดำเนินงานเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ  ปีงบประมาณ 2566 ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์  ตามโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 จังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่  และนิเทศติดตามการดำเนินงานป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเยี่ยมเสริมพลังให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้านผู้สูงที่ดียิ่งขึันต่อไป 

 
2. อำเภอขุขันธ์ เข้าร่วมประเมินชมรมต้นแบบด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ ปี 2566
        เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ภาคเช้า  กรมอนามัย โดย กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีกิจกรรมทางกายผู้สุงอายุ   กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ  ได้ประเมิน “ชมรมต้นแบบด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ ปี 2566 สำหรับอำเภอขุขันธ์  มี  ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยเหนือ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  เข้าร่วมรับการประเมิน และนำเสนอกิจกรรมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์  ผลการประเมิน ผ่านและอยู่ในระดับดี     

ขอบคุณภาพข่าว : ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ

3.การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมและพลัดตกหกล้ม ในพื้นที่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566

          เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566  นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ ได้ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดการประชุมและเป็นวิทยากรบรรยาย ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมและพลัดตกหกล้ม ในพื้นที่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลโสน  ซึ่งจัดโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดย #กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 900 คน แบ่งเป็น 7 รุ่นๆละ 2 วัน ในระหว่างวันที่ 3 - 29 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และห้องประชุมในเครือข่ายพื้นที่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ 
           รุ่นที่ 1 วันที่ 3 - 4 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม อบต.โสน 
           รุ่นที่ 2 วันที่ 7 - 8 (9) ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุมศาลารวมใจรักษ์ไทยพัฒนา หมู่ 13 ต.สำโรงตาเจ็น 
           รุ่นที่ 3 วันที่ 9 - 10 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านคลองกลาง 
           รุ่นที่ 4 วันที่ 15- 16 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านโคกโพน 
           รุ่นที่ 5 วันที่ 17- 18 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านปรือใหญ่ 
           รุ่นที่ 6 วันที่ 21- 22 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม ศสม.ห้วยเหนือ
           รุ่นที่ 7 วันที่ 28- 29 ส.ค. 2566 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านสมบูรณ์ 
ที่มา : ด่วนที่สุดที่ ศก 0033.007/4732  ลว 27 ก.ค. 2566 เรื่อง ขอเชิญเป็นประธานเปิดการประชุม
 งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
1. โครงการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2566
        อำเภอขุขันธ์  จัดกิจกรรมตาม โครงการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2566  โดย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอขุขันธ์  และ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ ร่วมกับ ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยเหนือ จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพพระสงฆ์ ในสังกัดคณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์ เป้าหมายอายุ 35 - 59 ปี จำนวน 50 รูป ภายใต้การขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์ พระสงฆ์ไทยห่างไกลโรค ณ  ห้องประชุมศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ  เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 08.30 - 12.00 น.  โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 สนับสนุนค่าใช้จ่ายอุปัฏฐากภิกษุอาพาธของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 10 ปี 2566
ขอบคุณภาพ/ข่าว : ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ



งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
1. การประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด
         เมื่อวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 - 12.00 น. นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ หัวหน้างานดูแลผู้สูงอายุ/ LTC สสอ.ขุขันธ์ เข้าร่วมประชุม รับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกันจาน  จำนวน  50 ราย เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 300,000บาท ผ่านไปได้ด้วยดี    
          ขอขอบคุณ  นายคำวงษ์  จันทรสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด , ผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด , ผู้แทน ผอ.รพ.สต.บ้านกันจาน ,ประธานศูนย์ฯ และคณะอนุกรรมการฯ  และ ทีมงาน CM และCG ทุกท่านที่ให้ความสำคัญในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย LTC ในพื้นที่ตำบลดองกำเม็ด  เพราะ ทุกท่านคือกำลังสำคัญร่วมขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน คนขุขันธ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  ขอขอบคุณ  มา ณโอกาสนี้
ที่มา : ที่ สปสช.ดม/ว003 ลว 27 ก.ค. 2566 เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(LTC)

2. การ
ประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน
           เมื่อวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 - 12.00 น. นายธัชนนท์ คำใสย์  สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ หัวหน้างานดูแลผู้สูงอายุ/ LTC สสอ.ขุขันธ์ เข้าร่วมประชุม รับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเคียนช่างเหล็ก  จำนวน  135 ราย เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 810,000บาท ผ่านไปได้ด้วยดี    
          ขอขอบคุณ  นางประยูร ยกยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน , ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด , ผู้แทน ผอ.รพ.สต.บ้านตะเคียนช่างเหล็ก ,ประธานศูนย์ฯ และคณะอนุกรรมการฯ  และ ทีมงาน CM และCG ทุกท่านที่ให้ความสำคัญในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย LTC ในพื้นที่ตำบลตะเคียนเพราะ ทุกท่านคือกำลังสำคัญร่วมขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน คนขุขันธ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  ขอขอบคุณ  มา ณโอกาสนี้
ที่มา : ที่ ศก82001/ว49003 ลว 4 ส.ค. 2566 เรื่อง ขอเชิญประชุม(คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง)

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ด้านโรคติดต่อนำโดยแมลง หลักสูตร CDCU Plus VCU จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 17 - 20 กรกฎาคม 2566

 วันที่ 17 กรกฎาคม  2566
        08.30 – 09.00 น.  - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม
                                        - ทำแบบทดสอบ Pre – test
        09.00 – 09.30 น. เปิดการอบรมและบรรยาย เรื่อง แนวคิดและนโยบายการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ นำโดยแมลง (CDCU Plus vector control unit) โดย หน.กลุ่มโรคติดต่อ สสจ.ศก. 
        09.30 – 11.00 น. บรรยาย เรื่อง หลักระบาดวิทยาโรคติดต่อนำโดยแมลง (หน่วยที่ 1) วิทยากร ดร.เกศรา แสนศิริทวีสุข นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สคร. 10 จ.อุบลราชธานี
        11.00 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อนำโดยแมลง (หน่วยที่ 2) วิทยากร ดร.เกศรา แสนศิริทวีสุข นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สคร. 10 จ.อุบลราชธานี
        12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
        13.00 – 15.00 น.  บรรยาย เรื่อง หลักการสอบสวนทางระบาดวิทยา การนำเสนอข้อมูล และการเขียนรายงานสอบสวน โรคติดต่อนำโดยแมลง (หน่วยที่ 3.1) วิทยากร นายชัยนันต์ บุตรกาล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สคร. 10 จ.อุบลราชธานี
        15.00 – 16.30 น. บรรยาย เรื่อง การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดต่อนำโดยแมลง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.  2558 ในบทบาทของหน่วย CDCU plus vector control unit (หน่วยที่ 6.1) วิทยากร นายชัยนันต์ บุตรกาล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สคร. 10 จ.อุบลราชธานี

วันที่ 18 กรกฎาคม  2566
        09.00 – 10.30 น. บรรยาย เรื่อง การเก็บตัวอย่าง การนำส่งตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลทางห้องปฏิบัติการ  ในผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย (หน่วยที่ 5.1) และการตรวจวินิจฉัยและการแปลผลทางห้องปฏิบัติการในยุง พาหะ (หน่วยที่ 5.4) วิทยากร ทนพญ.โสภิตา โสพิลา นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ สคร.10 จ.อุบลราชธานี
        10.30 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง การเก็บตัวอย่าง การนำส่งตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลทางห้องปฏิบัติการ ในผู้ป่วย กรณีไวรัสโรคติดต่อนำโดยยุงลาย (หน่วยที่ 5.2) วิทยากร ดร.ทนพญ.วิภาวี แสนวงษา นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ  หัวหน้ากลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค สคร.10 
        12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
        13.00 – 14.00 น. บรรยาย เรื่อง การเก็บตัวอย่าง การนำส่งตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลทางห้องปฏิบัติการ  ในผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลงอื่น ๆ (หน่วยที่ 5.6) วิทยากร ดร.ทนพญ.วิภาวี แสนวงษา นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ  หัวหน้ากลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค สคร.10 
        ฐานที่ 1 โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ยุงลาย +มาลาเรีย) 
        วิทยากร
        1. ดร.ทนพญ.วิภาวี แสนวงษา นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ 
        2. น.ส.พรนิภา สายธนู นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ 
        3. น.ส.วิไลวัลย์ วงศ์ภา นักกีฏวิทยา 
        ฐานที่ 2 โรคติดต่อนำโดยแมงลงอื่นๆ 
        วิทยากร 
        1. ทนพญ.โสภิตา โสพิลา นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ  
        2. น.ส. สุดารัตน์ กิ่งผา นักเทคนิคการแพทย์ 
        3. นายนราศักดิ์ บุญใหญ่ นักกีฏวิทยา

วันที่ 19 กรกฎาคม  2566
        09.00 – 10.30 น. บรรยาย เรื่อง การสอบสวนทางกีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม (หน่วยที่ 3.2) วิทยากร นส. มนศภรณ์ สมหมาย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สคร. 10 จ.อุบลราชธานี
        10.30 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง การตัดสินใจเพื่อการควบคุมแมลงพาหะนำโรค (decision making for vector  control) (หน่วยที่ 6.2) วิทยากร นส.วิไลวัลย์ วงศ์ภา นักกีฏวิทยา สคร.10 จ.อุบลราชธานี
        12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
        กลุ่ม 1 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย 
        วิทยากร
        1. นางสาววิลาวัลย์ สุขยา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 
        2. นางสาวมนศภรณ์ สมหมาย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 
        กลุ่ม 2 โรคไข้มาลาเรีย  
        วิทยากร
        1. นางสาวจุฬารัตน์ มานะดี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 
        2. นางสาวนงค์นุช สุรัตนวดี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 
        กลุ่ม 3 โรคเท้าช้าง 
         วิทยากร
        1. นางสาวสำรวย ศรศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ          2. นายนราศักดิ์ บุญใหญ่ นักกีฏวิทยา 
        กลุ่ม 4 โรคสครับไทฟัสและโรคลิชมาเนีย  
        วิทยากร
        1. นายชัยนันต์ บุตรกาล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 
        2. นางสาววิไลวัลย์ วงศ์ภา นักกีฏวิทยา 
หมายเหตุ จำนวนกลุ่มพิจารณาตามความเหมาะสมจากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
        09.00 – 10.30 น. บรรยาย เรื่อง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (หน่วยที่ 4) วิทยากร ว่าที่ร้อยตรี พลภัทร ศรีกุล นิติกร สคร.10 จ.อุบลราชธานี
        10.30 – 12.00 น. นำเสนอผลการฝึกปฏิบัติการสอบสวนโรค (หน่วยที่ 3.3)
        ผู้วิพากย์
        1. นายชัยนันต์ บุตรกาล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
        2. นางสาวสำรวย ศรศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
        12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
        13.00 – 13.30 น. ทำแบบทดสอบ Post – test 
        13.30 – 14.30 น. พิธีมอบประกาศนียบัตรและปิดการประชุมฯ

ที่มา : การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพหลักสูตรระบาดวิทยาสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ด้านโรคติดต่อนำโดยแมลง (CDCU plus vector control unit) ระหว่างวันที่ 17 - 20 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ และอาคารอเนกประสงค์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ