"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนพฤศจิกายน 2559 ออนไลน์(อ.สุเพียร)

งานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษและLTC
1. ข้อมูลจากรายงานในแบบสำรวจเป้าหมายการตำบล LTC  จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2560  ดังนี้

ตอนนี้  ขอความร่วมมือตำบลที่เป็นเป้าหมายของอำเภอขุขันธ์ เริ่มดำเนินการได้เลย ตั้งแต่...การค้นหา/แยกผู้ป่วย ทั้ง 4 ประเภท  เพื่อเตรียมขอรับงบฯ จาก สปสช. เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการ LTC  และที่สำคัญเตรียมเปิดบัญชีไว้นะครับ...สปสช.รับอยู่แล้ว เตรียมการล่วงหน้าไวเลย ครับ...

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการของบประมาณตำบล LTC 
1. แบบฟอร์ม รายชื่อผู้สูงอายุพึ่งพิงสำหรับตำบล LTC ปี 2559 และตำบล LTC ปี 2560
2. แบบแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการของ อปท.(สำหรับตำบลที่สมัครใหม่ปี 2560)
และให้สำเนาบัญชีกองทุน LTC ที่เปิดใหม่ชื่อ “บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ.....(ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” ทั้งนี้ ขอให้ รพ.สต.ในตำบลเป้าหมาย LTC อำเภอขุขันธ์ ในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 10 แห่ง เร่งรัดดำเนินการและจัดส่งให้ สสอ.ขุขันธ์ภายในวันที่ 23 พ.ย. 2559 เพื่อสสอ.ขุขันธ์จะได้สรุปและรวบรวมนำส่งให้ สสจ.ศรีสะเกษ ภายในวันที่ 25 พ.ย. 2559 นี้(ตามหนังสือในสารบัญ) 

สำหรับแบบฟอร์มข้อที่ 1. ให้เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไปที่ sopin_2007@hotmail.com ภายในเวลาที่กำหนด

สำหรับ ตำบลเป้าหมาย LTC อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2560 เรียงลำดับตาม รพ.สต.ดังนี้ 
2. โปรแกรม Thai COC อยู่ที่ลิงก์ https://backend.thaicarecloud.org/sign-in/login
       สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ รพ.สต.ทุกแห่ง ที่ส่ง จนท.ผู้รับผิดชอบงานเข้าร่วมอบรมฯ และตามหนังสือที่อ้างถึงโรงพยาบาลศรีสะเกษร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูลโปรแกรม Thai COC ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐.น. ณ ห้องประชุมกิตติรังษี โรงพยาบาลศรีสะเกษ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพือสนับสนุนการจัดบริการผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงทุกกลุ่มวัย ทุกกลุ่มภาวะพึ่งพิง ครอบคลุมมากกว่า 22 กลุมโรค ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแกน และกรมการแพทย กระทรวงสาธารณสข ตามรายละเอียดแจ้งเเล้วนั้น

       โปรแกรม Thai COC นี้จะสนับสนุนนโยบาย DHS/Service Plan/Primary care duster/QOF และโอกาสพัฒนาในระยะต่อไป คือฐานข้อมูลผู้สูงอายุ/Care Manager/Caregiver/การเชื่อมโยงข้อมูลการส่งต่อกับโปรแกรม Thai Refer เพื่อให้เครือข่ายการเยี่ยมบ้าน ของจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

        ในการนี้    จังหวัดศรีสะเกษ จึงขอให้ทุกอำเภอดำเนินการ  ดังต่อไปนี้ 
1.ผู้รับผิดชอบงานสมัครสมาชิกเข้าสู่ระบบการบันทึกข้อมูลโปรแกรม Thai COC และเริ่มบันทึกข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
๒. ผู้รับผิดชอบงานจัดการข้อมูลและรายงานผลผู้บริหารระดับอำเภอ ซึ่งสามารถควบคุมกำกับได้ผ่านหน้ารายงาน Dashbord COC ได้ทุกเดือน

ที่มา: หนังสือศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.008/ว 20183 ลง 2 พ.ย. 2559 เรื่อง การบันทึกข้อมูลโปรแกรม Thai COC

3. แนะนำโปรแกรมคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ที่ลิงก์ http://164.115.22.135/geriatrics/

✏️ ผู้พัฒนาโปรแกรมคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ (เจ้าของลิขสิทธิ์) คือ "กรมการแพทย์" ซึ่งกรมการแพทย์กำลังวางแผนที่จะดำเนินการถ่ายทอดอย่างเต็มรุปแบบ เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นครบถ้วนสมบูรณ์ โดย ปีงบประมาณ 2560 มีแผนจัดอบรมทักษะการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ ในทุกๆรายการคัดกรอง โดยอาจารย์ด้าน Geriatric medicine ในแต่ละด้าน จะเป็นผู้ถ่ายทอด รวมถึง การบันทึกลงโปรแกรมฯ ซึ่งจะดำเนินการภายในไตรมาส 1 และต้นไตรมาส 2 ของปีงบประมาณนี้ (เมื่อกำหนดการชัดเจนแล้วจะแจ้งให้กลุ่มนี้ทราบเป็นที่แรก) 

✏️ โปรแกรมนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อ "ทดแทนการคัดด้วยกระดาษ" และ "คนทำงานต้องมาสรุปและแปรผลเอง" ซึ่งจะสะดวกกับเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการคัดกรองกับผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์คือเป็นเครื่องมือในการทำงาน ถ้าจะเปรียบเทียบก็คล้าย การวัดความดันดิจิตัล กับการวัดแบบปรอท ประมาณนั้นค่ะ ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะสะดวกใช้แบบใดก็ใช้แบบนั้น

✏️ โปรแกรมนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เหมือนกับฐานข้อมูล Hosxp หรือ JHCIS ที่ต้องการ summary ของข้อมูล จึงจะไม่นำมาเปรียบเทียบกัน

✏️ ก่อนนำผลบันทึกในระบบ 43 แฟ้ม (special PP) ก่อนจะได้ผลเราจะต้องดำเนินการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถแบ่งวิธีออกได้ใหญ่ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.  คัดกรองด้วยแบบฟอร์มกระดาษและนำผลที่คำนวณได้ มาลงใน special PP (ไม่มีฐานข้อมูลรายคน)
2. มีโปรแกรมที่จังหวัดเขียนขึ้นมาเอง นำผลไปบันทึกใน special PP
    - สามารถจำแนกฐานข้อมูลรายคน
    - ไม่สามารถจำแนกฐานข้อมูลรายคน
โปรแกรมคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ที่กรมการแพทย์พัฒนาขึ้นนี้ สามารถตอบสนองผู้คัดกรองในกลุ่ม 1. คือใช้กระดาษแบบฟอร์มคัดกรอง และ กลุ่ม 2. ที่ไม่สามารถจำแนกฐานข้อมูลรายคน

✏️ รพ.สต. คัดกรองเฉพาะ BGS   รพช. ประเมิน GA ต่อ (เฉพาะที่เสี่ยง จะปรากฎชื่อและรายการให้ประเมินต่อ)
***ในระดับ รพช. สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการคัดกรอง BGS มาก่อน รพช. สามารถดำเนินการคัดกรองได้ โดยใช้เลข 13 หลัก เพื่อคัดกรอง BGS แล้วดำเนินการประเมิน GA ต่อ ในตัวที่เสี่ยง
*ข้อมูล จะ Link กัน ไม่มีการคัดกรอง/ประเมินซ้ำซ้อน

คู่มือ/เอกสาร 

ที่มา: ปิยะนุช ชัยสวัสดิ์  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ (25 ตุลาคม 2559)

งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
1. จังหวัดศรีสะเกษ โดย สสจ.ศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และสสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ ผอ.รพ.สต./ จนท.ผู้รับผิดชอบงานวัดส่งเสริมสุขภาพทุกแห่ง ที่ให้ความร่วมมือใส่ใจในการค้นหา สำรวจข้อมูลพระภิกษุ และแม่ชีในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ เข้ารับการตรวจคัดกรองตาต้อกระจก จากหน่วยแพทย์จักษุศัลยกรรมสภากาชาดไทยในสมเด็จพระเทพฯจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ณ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

สำหรับผลการดำเนินงานฯ ภาพรวมจังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้


OK_โครงการรถคลีนิคจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เฉลีมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ(13 ต.ค. 2559) คลิกที่นี่


งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
1. ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู น่าทำงาน 

      *** แบบสมัครเข้ารมโครงการสถานที่ทำงาน น่าอยู่ น่าทำงาน ***

             ด้วยจังหวัดศรีสะเกษโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้จัดทำโครงการสถานที่ ทำงาน น่าอยู่ น่าทำงาน สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา (Healthy workplace) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน/ส่วนราชการ นจัหวัดศรีสะเกษได้มีการพัฒนาสถานที่ทำงานหมีความสะอาดปลอดภัยทำให้ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการได้รับความสะดวก มีความปลอดภัยการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

              ในการนี้ จังหวัดศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ จึงขอเชิญชวนหน่วยงาน/ส่วนราชการ รพ.สต.ทุกแห่งในสังกัด สมัครเข้าร่วมโครงการ สถานทำงาน น่าอยู่ น่าทำงาน เพื่อดำเนินการพัฒนาหน่วยงาน/สถานที่ทำงานตามเกณฑ์ฯ และขอประเมินรับรองจากจังหวัดศรีสะเกษ และกรมอนามัย ตามลำดับต่อไป โดยส่งใบสมัครฯและดิดต่อสอบถามเพิมเติมที่กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย สสอ.ขุขันธ์  

ที่มา: หนังสือ สสจ.ศก. ที่ ศก 0032/ว 19739 ลง 26 ต.ค. 2559 เรื่อง ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู น่าทำงาน

วาระการประชุมงานควบคุมโรค สสอ.ขุขันธ์ 6 พฤศจิกายน 2561


 ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่  6 พฤศจิกายน 2561
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ 
                                                                                                 
*********************

๑) สถานการณ์โรคไข้เลือดออก

            ประเทศไทย ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วย 66,372
ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 101.44 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 84 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.13 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.93 กล่มุ อายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 15-24ปี (25.55 %), 10-14 ปี (20.74 %), 25-34 ปี (13.64 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ นักเรียนร้อยละ 48.2,รับจ้างร้อยละ 19.0, ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครองร้อยละ 17.2 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ นครปฐม (239.50 ต่อแสนประชากร), พิจิตร (211.43 ต่อแสนประชากร),นครสวรรค์(209.91 ต่อแสนประชากร), นครนายก (207.03 ต่อแสนประชากร) และเชียงราย (200.51ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1,734 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.34 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.07 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.06 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ1.04 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 5 - 9 ปี (531.55 ต่อแสนประชากร), 10 - 14 ปี(510.17 ต่อแสนประชากร), 0 - 4 ปี (171.59 ต่อแสนประชากร), 15 - 24 ปี(165.18 ต่อแสนประชากร) 25 - 34 ปี (45.12 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ นักเรียน จำนวน 1,132 รายเกษตรกรจำนวน 253 ราย, ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง จำนวน 221 ราย,อื่นๆ จำนวน 74 ราย, รับจ้าง,กรรมกร จำนวน 16 ราย, ข้าราชการ จำนวน 12 ราย, ทหาร,ตำรวจ จำนวน10 ราย, ค้าขาย จำนวน 4 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือขุขันธ์(225.39 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ(174.71 ต่อแสนประชากร), วังหิน (174.19 ต่อแสนประชากร),กันทรลักษ์ (166.44 ต่อแสนประชากร), ภูสิงห์ (130.78 ต่อแสนประชากร), รายชื่อหมู่บ้านต้องควบคุมโรคเข้มข้นจำนวน 22 หมู่บ้าน ดังแสดงที่ เว็บไซด์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ www.ssko.moph.go.thขอให้ทีม SRRT ระดับอำเภอร่วมกับทีม SRRT ระดับตำบล ในพื้นที่ให้ความสำคัญและควบคุมโรคเข้มข้นไม่ให้มีผู้ป่วยใหม่ภายใน 28 วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมยับยั้งการระบาดของโรคในพื้นที่อย่างเร่งด่วน และติดตามสถานการณ์ข้อมูลผู้ป่วยทางหน้าเว็บไซด์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ







๒) สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซิส

              ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 7 ก.ย. 61 พบผู้ป่วย 2,203 ราย จาก 69 จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย 3.37 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 25 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อแสนประชากร
อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.22 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 45-54 ปี (22.02 %),35-44 ปี(18.57 %), 55-64 ปี (16.98 %) อาชีพส่วนใหญ่ เกษตรกรร้อยละ 48.0, รับจ้างร้อยละ 20.9,นักเรียนร้อยละ 11.0 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ พังงา (20.93 ต่อแสนประชากร), ศรีสะเกษ (20.45 ต่อ แสนประชากร), ยะลา (14.56 ต่อแสนประชากร), ยโสธร (14.07ต่อแสนประชากร)และเลย (12.57 ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 314 รายคิดเป็นอัตราป่วย 21.79 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 0.49 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 2.23 อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิงเท่ากับ 4.06 : 1๘
กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 55 - 64 ปี (43.12 ต่อแสนประชากร) 45 - 54 ปี
(35.96 ต่อแสนประชากร), 65 + ปี (31.55 ต่อแสนประชากร), 35 - 44 ปี (24.57 ต่อแสนประชากร),25 - 34 ปี (15.82 ต่อแสนประชากร), อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ เกษตรกร จำนวน 216ราย, อื่นๆ จำนวน 50 รายไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง จำนวน 16 ราย รับจ้าง,กรรมกร จำนวน 13 ราย,นักเรียน จำนวน 11 รายค้าขาย จำนวน 3 ราย, นักบวช จำนวน 2 ราย, ทหาร,ตำรวจ จำนวน 2 ราย,อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ภูสิงห์ (58.12 ต่อแสนประชากร), ขุขันธ์(46.04 ต่อแสนประชากร), น้ำเกลี้ยง (45.69 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ (41.46 ต่อแสนประชากร),ปรางค์กู่ (35.71 ต่อแสนประชากร)โรคนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ ดังนั้นควรหากมีผู้ป่วยในพื้นที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการอย่างน้อย 2 อาการ ต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ปวดน่อง มีประวัติ
ทำอาชีพทางการเกษตร ต้องรีบไปเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลทันที โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลดำเนินการซักประวัติสัมผัสน้ำ หากอาการเข้าได้ให้ทำการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิส ใช้ CPG เป็นแนวทางในการรักษา จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังควบคุมโรค


















3 สถานการณ์โรคมือเท้าปาก
       ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 7 ก.ย. 61 พบผู้ป่วย 58,125 ราย จาก 77 จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย 88.84 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.80 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ 1 ปี (25.21 %), 2 ปี (23.59 %) และ 3 ปี (19.37 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครองร้อยละ 85.9, นักเรียน ร้อยละ 12.5 และอื่นๆร้อยละ 1.0 จังหวัด ที่มีอัตราป่วยต่่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ จันทบุรี(264.55 ต่อแสนประชากร), กรุงเทพมหานคร (155.59ต่อแสนประชากร), พะเยา (154.90 ต่อแสนประชากร), ระยอง (151.68 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่(149.42 ต่อแสน ประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 648 รายคิดเป็นอัตราป่วย 44.97 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.33 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 0 - 4 ปี (746.11 ต่อแสนประชากร), 5 – 9 ปี(50.25 ต่อแสนประชากร), 10 - 14 ปี (7.68 ต่อแสนประชากร) 15 - 24 ปี, (3.25 ต่อแสนประชากร)และ 55 - 64 ปี (1.31 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุด ตามลำดับ คือ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง
จำนวน 601 ราย, นักเรียน จำนวน 42 ราย, เกษตรกร จำนวน 4 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ยางชุมน้อย (135.57 ต่อแสนประชากร), ภูสิงห์ (89.26 ต่อแสนประชากร), เมือง(85.39 ต่อแสนประชากร), บึงบูรพ์ (83.04 ต่อแสนประชากร), ราษีไศล (67.47 ต่อแสนประชากร)โรคนี้พบมากในเด็กโดยเฉพาะอายุ 0-4 ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เกี่ยวข้องกับการดูสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เด็กยังทำได้ไม่ดี จึงขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทั้งที่พบผู้ป่วยและที่ยังไม่พบผู้ป่วยได้ให้สุขศึกษาในการดูแลความสะอาดแก่เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคมือเท้าปากแก่ครูพี่เลี้ยงเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมไปถึงประชาสัมพันธ์ให้ครูและผู้ปกครองสังเกตอาการเด็กในปกครอง หากมีอาการไข้ มีตุ่มบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้พาบุตรหลานไปรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน และหากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก แนะนำผู้ปกครองให้เด็กหยุดเรียนและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข รวมไปถึงไม่นำเด็กที่ป่วยไปเล่นกับเด็กคนอื่นในหมู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อลดการ
แพร่กระจายของโรคและเป็นการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พบว่ามีเด็กป่วยควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพต่อไป

๔ งานระบาดวิทยา
๔.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 19 ตุลาคม 2561 โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
10 อันดับแรก ได้แก่ โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ, อุจจาระร่วง, ปอดบวม, ตาแดง, อาหารเป็นพิษ, ไข้เลือดออก,STD (Sexually Transmitted Disease), อีสุกอีใส, ไข้หวัดใหญ่และวัณโรค ตามลำดับ การส่งรายงาน 506ในเดือนตุลาคม 2561

4.2 ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ
โปรแกรม R506 จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2561 – 19 ตุลาคม 2561 มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น 218 ราย ใน 19 อำเภอ มี 5 โรค 6 รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ ไข้เลือดออก เท่ากับจำนวน 96 ราย จำแนกเป็น DFจำนวน 74 ราย และ DHF จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ โรคมือเท้าปาก จำนวน 65 ราย โรคเลปโตสไปโรซิส จำนวน 39 ราย, มาลาเรีย จำนวน 16 ราย, ไข้สมองอักเสบและโรคหัด เท่ากัน จำนวน 1 รายดังนั้นขอให้ SRRT แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรค ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยแนบไฟล์เข้าในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศรีสะเกษhttp://203.157.165.115/r506/investigation.php หัวข้อ ส่งรายงานสอบสวนโรค เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและให้คะแนนตามเกณฑ์แร้งกิ้งต่อไป

โครงการรถคลีนิคจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เฉลีมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ

            ด้วย สภากาขาดไทยได้จัดทำโครงการรถคลีนิคจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เฉลีมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษาและทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย ๖๐ ปี โดยการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาโรคตาให้พระภิกษุ และแม่ชี ในจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ ๓๐ ตุลาคม ถึง ๔ พฤศจิกายน ๒๔๔๙ ณ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมืองศรีสะเกษ

            ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ จึงขอความร่วมมือ ผอ.รพ.สต.และเจ้าหน้าสาธารณสุข ทุก รพ.สต.ออกตรวจคัดกรอง ค้นหา พระภิกษุ แม่ชี นักบวช ที่ด้อยโอกาสที่มีปีญหาเกี่ยวกับต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ท่อนํ้าตาอุดตัน โรคเกี่ยวกับเปลือกตา และส่งรายชื่อตามแบบฟอร์มที่แบบมานี้ ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ภายในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๔๙

​ คลิกที่ลิงก์นี้ เพื่อสำรวจคัดกรอง/ค้นหาฯ

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd9ZUJpYJHRnGoI9rzhGMCTcuXinLBGct9JnsPIwG9TaCK4uQ/viewform

​ คลิกที่ลิงก์นี้ เพื่อตรวจสอบรายชื่อ
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1wmTF7PVoRk1xqOYS_8JUT4kLuS09-PosvbG_MIF9Cp8/edit?usp=sharing

ที่มา: ที่ศก 003.007/ว 5964  ลง 29 กันยายน 2559 เรื่องการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาโรคตาของสภากาชาดไทย

​  ดูภาพเชิงประจักษ์การออกปฏิบัติงานตรวจคัดกรอง ค้นหา พระภิกษุ แม่ชี นักบวช ที่ด้อยโอกาสที่มีปีญหาเกี่ยวกับต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ท่อนํ้าตาอุดตัน โรคเกี่ยวกับเปลือกตา โดย จนท.ในสังกัด สสอ.ขุขันธ์  คลิกที่นี่

โครงการแว่นตาผู้สูงวัยในสมเด็จพระเทพรัตนฯ ปี พ.ศ. 2559


           ด้วยสมเด็จพระเทพฯ องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการมูลนิธิสงเคราะห์ของสภากาชาดไทยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิ ร่วมกับ ห้างแว่นท็อปเจริญ ดำเนินงานตาม"โครงการแว่นตาผู้สูงวัยในสมเด็จพระเทพรัตนฯ" ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2557 - 2562 ในการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นกับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปที่ยากไร้และอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร" โดยห้างแว่นท็อปเจริญได้ดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ณ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เพื่อให้ผู้สูงวัยมีสายตาดี สามารถประกอบอาชีพไม่เป็นภาระของลูกหลาน ซึ่งเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสและยากไร้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร บัดนี้ อำเภอขุขันธ์ โดย สสอ.ขุขันธ์ ได้รับแว่นตาและนำไปส่งมอบถึงผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอขอบคุณ ผอ.รพ.สต./ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ ทุกรพ.สต.ทุกแห่งที่ให้ความร่วมมือด้วยดีและเป็นธุระนำส่งแว่นตาฯมอบแด่ผู้สูงวัยที่เป็นเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ

















หลักระบาดวิทยา

                                                             หลักระบาดวิทยา