"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

กิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเข้าฐาน(CG:จังหวัดศรีสะเกษ) ณ วสส.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2558

             ตามที่กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการดูแลสุขดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง(Long Term Care)ด้านสุขภาพ โดยมีความมุ่งหวังว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จะได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพจากบุคลากร หรือทีมงาน Family Care Team ซึ่งเน้นการสร้างอาสาสมัคร Care Giver หรือนักบริบาลผู้สูงอายุ ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ อาสาสมัครกลุ่มนี้ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรอบรมนักบริบาลผู้สูงอายุของกรมอนามัย อย่างน้อย 70 ชั่วโมง นั้น

             ในการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้จัดทำโครงการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยการคัดเลือกพื้นที่นำร่อง 8 อำเภอๆละ 1 ตำบลๆละ 5 คน ในการส่งอาสาสมัครนักบริการนักบริบาลผู้สูงอายุเข้ารับการอบรมที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 21 - 25 ธันวาคม 2558 โดยใช้งบประมาณที่จังหวัดโอนให้ งบ (งบPPA) จำนวน 35,000บาท/อำเภอ สำหรับพื้นที่นำร่องของอำเภอขุขันธ์ คือตำบลห้วยเหนือ ดังงรายละเอียดโครงการตามสิ่งที่ส่งมาด้วย


#วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี
Posted by วสส อุบล on 21 ธันวาคม 2015

หมายเหตุ  
      กิจกรรมตำบล LTCเป้าหมาย ปีงบฯ 2559 งบโอนลง CUPละ 100,000บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ 
     1. การสำรวจผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในตำบล LTC 
     2. ให้ทำ Care Plan แก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็นรายๆว่าจะทำอะไรให้กลุ่มนี้บ้าง โดยให้ Care Giver เป็นคนช่วยพิจารณาดูว่า...
"ผู้สูงอายุติดบ้านทำอย่างไรจะช่วยให้เขาเป็นติดสังคมได้  และผู้สูงอายุติดเตียงทำอย่างไรให้เขาเป็นเป็นติดบ้านได้"
    3. ใช้งบประมาณตามระเบียบเงินบำรุงฯ

       ส่วนงบของท้องถิ่น จะใช้ในเรื่อง การอบรม CM CG ค่าจ้าง CG และซื้อวัสดุต่างๆ

ที่มาจาก กลุ่มไลน์งานผู้สุงอายุจังหวัดศรีสะเกษ,21 ธ.ค. 2558.

แนวทางการดำเนินงานตามโครงการมอบของขวัญปีใหม่และวันเด็ก 2559 รัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข

ด้วยในปี พุทธศักราช 2559 รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวทางการดำเนินงานตามโครงการมอบของขวัญปีใหม่ และวันเด็ก 2559 ดังนี้

1.การกวาดล้างโปลิโอ โดยฉีดวัคซีน in Inactivated Polio Vaccine(IPV) ให้แก่เด็กอายุ 4 เดือน จำนวน 7 แสนคนทั่วประเทศ (เป้าหมาย 80%)

2. Long Term Care(LTC)มีเป้าหมายดูแล
- สุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปติดบ้านติดเตียง 1 แสนคน
- มอบชุดของขวัญยาสามัญประจำบ้านและแว่นสายตา

3. มอบแขนขาเทียม โดย
- จัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยผู้พิการ 1,500 ราย
- พัฒนาทักษะบุคลากรจดทะเบียนและผู้ดูแลผู้พิการ 1,000 คน

4. ดูแลสุขภาพพระภิกษุ-สามเณร โดยมีเป้าหมาย
- จัดทำระบบการดูแลและหอผู้ป่วยพระสงฆ์อาพาธเขตละ 1 โรงพยาบาล
- ตรวจคัดกรองสุขภาพและจัดทำ temple Folder(แฟ้มวัดส่งเสริมสุขภาพ)
- เป้าหมายพระสงฆ์สามเณร จำนวน 3 แสนรูปทั่วประเทศ

5. เด็กไทยสายตาดี
- ตรวจวัดสายตานักเรียน ป. 1 ทั่วประเทศ
- มอบแว่นตามอบแว่นสายตากรณีสายตาผิดปกติ
หมายเหตุ รายละเอียดโครงการมอบของขวัญปีใหม่ และวันเด็ก 2559

แผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพ ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กลุ่มผู้สูงอายุ (Flagship 5)


ที่มา : http://www.ssko.moph.go.th/ > ดาวน์โหลดจากกลุ่มงาน > สร้างสุขภาพ > http://www.ssko.moph.go.th/news2/details.php?id=1834&cat_id=6

สรุปผลการประชุมโครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล (Long Term Care) วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 4 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

- เปิดการขับเคลื่อนและมอบนโยบายการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวฯ โดยศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และบรรยายพิเศษ "การเตรียมความพร้อมสังคมไทย...สู่สังคมผู้สูงอายุ" โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสงกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สมาคมองค์การส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
- เปิดและเยี่ยมชมบูธนิทรรศการจากเขตสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 2000 คน

สาระสำคัญมีดังนี้
-ในปี2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้าน  และกลุ่มติดเตียง

โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ
     1. ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงไม่กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
     2. ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
      รัฐบาลจึงสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวปกติ จำนวน 600 ล้านบาทให้แก่ สปสช.
      ส่วนที่ 1 จำนวน 500 ล้านบาท จัดสรรไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จำนวนประมาณ 1,000 แห่ง
      ส่วนที่ 2 จำนวน 100 ล้านบาท จัดสรรไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ประมาณ 1,000 แห่งๆละ ประมาณ 100,000 บาท

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ
      1.จัดบริการทางการแพทย์ 2.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ให้แก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงตามชุดสิทธิประโยชน์
โดยมีกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการ

เป้าหมายการดำเนินงานในปี 2559
      1. ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 100,000 คน
      2. ในพื้นที่ประมาณ 1,000 ตำบลในทุกจังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร

สิ่งที่คาดหวังผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงจะได้รับการดูแล
      1. จากทีมสหวิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
      2. บริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพและตามชุดสิทธิประโยชน์
      3. โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่น
      4. ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าเท่าเทียม
      5. ผู้สูงอายุมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เป็นหลักชัยของสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
      6.เกิดสังคมเอื้ออาทรด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชนเพื่อ "สังคมไทยสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้"

บทบาทหน้าที่ของส่วนต่างๆมีดังนี้
1. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
    1.1 จัดทำกรอบแนวทาง ประกาศ ระเบียบ พื้นที่เป้าหมายร่วมกับเขตและกระทรวงสาธารณสุข
    1.2 จัดสรรงบประมาณรายเขตที่จะโอนให้กองทุน อปท.ในพื้นที่ที่เข้าร่วมดำเนินงาน
    1.3 สนับสนุนด้านข้อมูลวิชาการ องค์ความรู้ และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้
    1.4 กำหนดชุดสิทธิประโยชน์และเกณฑ์การได้รับการสนับสนุนตามชุดสิทธิประโยชน์
    1.5 พีฒนาระบบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวางแผน และบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯ
    1.6 สนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรในส่วนกลาง เขตและพื้นที่
    1.7 จัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
    1.8 ติดตามและประเมินผลการศึกษาและพัฒนาขยายผล

2. สปสช. สาขาเขต และเขตสุขภาพกระหรวงสาธารณสุข
    2.1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน แก่กองทุน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
    2.2 บริหารจัดการงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงาน ได้แก่
          2.2.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในระดับพื้นที่
          2.2.2 การฝึกอบรม Care Manager Care Giver ฯลฯ
    2.3 ประสานสนับสนุนการดำเนินงานกลไกคณะกรรมการ ได้แก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ เพื่อบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
     2.4 ร่วมจัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
     2.5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและพัฒนาขยายผล
3. หน่วยบริการปฐมภูมิ(เช่น รพศ./รพท. และ รพช.)
     3.1 จัดบริการ/บริหารการจัดบริการ ตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินความต้องการดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวฯ
    3.2 จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุที่รับผิดชอบในระดับอำเภอ กระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอใช้ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นฐานในการจัดบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคม
    3.3 สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนวิชาการแก่ รพ.สต. ดำเนินกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แก่การดูแลระยะยาวฯ
    3.4 ปรับระบบการจัดบริการของสถานพยาบาล เพื่อรองรับความจำเป็นด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป(จาก Acute care oriented เป็น  Chronic care oriented) ซึ่งต้องมีการจัดกระบวนการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์จัดบริการ
   3.5แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยบริการ หน่วยบริหารจัดการ อปท. อสม. อผส. รวมถึง สมาคม ชมรม เครือข่ายภาคประชาชนร่วมจัดบริการ ร่วมสนับสนุนการจัดบริการ
   3.6 พัฒนาการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในชุนที่มีความเชื่อมโยงกับสถานพยาบาล และบูรณาการระหว่างบริการด้านการแพทย์และบริการด้านสังคม

4. เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ(เช่น รพ.สต.)
   4.1 จัดบริการเชิงรุก/บริหารจัดการบริการตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินความต้องการดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลโดยสหวิชาชีพ รวมถึงกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวฯ
   4.2 จัดทำแผนงาน/โครงการในการจัดบริการดูแลระยะยาวฯในพื้นที่ร่วมกับศูนย์บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่
  4.3 จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่รับผิดชอบในระดับตำบลกระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายในระดับตำบลใช้ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นฐานในการจัดบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคม
 4.4 ประสานงานกับผู้จัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ควบคุมกำกับการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) เพื่อให้ดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 4.5 ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ อปท. /ภาคประชาชน ในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 4.6 ร่วมกับผู้จัดการระบบฯ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ(Care Giver) ในการทำงานเชิงรุกในระดับพื้นที่ ทั้งการนิเทศติดตาม การให้คำปรึกษาทั้งทางด้านการดูแลและการทำงาน
 4.7 เสริมพลังแก่ครอบครัวผู้สูงอายุและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการให้ความรู้/คำปรึกษา/คำแนะนำ
 4.8 แสวงหา ประสานความร่วมมือจาก รพช. สสอ. อปท. รวมถึง สมาคม ชมรม เครือข่ายภาคประชาชน พมจ. ร่วมจัดบริการ ร่วมสนับสนุนการจัดบริการ สนับสนุนงบประมาณ
 4.9 ร่วมกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
   มีบทบาทหลักในการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เน้นการจัดบริการด้านสาธารณสุข โดยบูรณาการกับบริการด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนให้เกิดระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้แก่ สวัสดิการเบี้ยยังชีพ การปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน การสนับสนุนการเดินทางเพื่อมารับบริการ การสนับสนุนกายอุปกรณ์ การพัฒนาด้านอาชีพรายได้แก่ทั้ง ผู้สูงอายุ /ผู้ดูแล การสนับสนุนด้านสังคมอื่นๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ การสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงาน/องค์กร/ชมรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการในการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ และร่วมกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
   
เอกสารประกอบการประชุม
1. กำหนดการประชุม
2. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Long Term Care ) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2559
3. คู่มือป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
4. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ พิมพ์ครั้งที่ 4 พฤศจิกายน 2557

5.  แบบประเมินผลการประชุมฯ

ขอบคุณที่มา: ไลน์กลุ่มงานผู้สูงอายุ สสจ.ศรีสะเกษ

วาระการประชุมเดือน ธันวาคม 2559 (สุพัฒน์ ในทอง)

งานทันตสาธารณสุข
แผนการออกหน่วยทันตกรรมใน รพ .สต 

  • วันที่ 2 ธันวาคม 2558 ณ รพ.สต.นาก๊อก
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2558 ณ รพ.สต.หนองคล้า
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2558 ณ รพ.สต.วิทย์
  • วันที่ 24 ธันวาคม 2558 ณ รพ.สต.หัวเสือ


งาน สสม.
1.  ขอรายชื่อประธาน ชมรม อสม ระดับตำบล/ รพ สต   พร้อมเบอร์โทรศัพท์
2. แจ้งประธาน อสม อำเภอขุขันธ์  เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวา   ในวันที่ 4 ธันวาคม เวลา 15.00 น ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์  การแต่งกายเสื้อสีเหลือง และชุดขาวเพื่อปฏิบัติธรรม


งานกีฬาสาธารณสุขปี 2558
ขอรายชื่อ บุคลากรสาธารณสุขทุก รพ สต ทีมีความสามารถในด้านกรีฑา  สมัครเข้าร่วมการแข่งขันด้วยครับ

งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ นายสุพัฒน์ ในทอง

 งานดำเนินการ ปีงบฯ 2562
**งานทันตกรรม
           สำรวจยูนิตทันตกรรม   คลิ๊กที่นี้

  แบบรายงานกิจกรรมวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๑  


**งานวัณโรค คลิกที่นี่
   สำรวจเป้าหมายการคัดกรองปี 62  คลิ๊กที่นี้

**งานโรคหนอนพยาธิ มะเร็งตับท่อน้ำดี
   สำรวจ จนท ผ่านการอบรมจุลทัศนากร อำเภอขุขันธ์  คลิ๊กที่นี้
  หมู่บ้านเป้าหมายปลอดโรคพยาธิปี62 อำเภอขุขันธ์  คลิ๊กที่นี้       
**งานจมน้ำ
**พอ.สว/หน่วยแพทย์เคลื่อน/โครงการพระราชดำริ/บริจาคโลหิต
  ตารางหน่วย พอ.สว.ศก ปี 62  คลิ๊กที่นี้ 
**ป้องโรคมะเร็ง (ปากมดลูก เต้านม )

รายงานประจำปี 2561
    รายงานทีมป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล  คลิ๊กที่นี้       ** ว่ายน้ำ รร ศรีประชาฯ  คลิ๊กที่นี้      
** รายงานกิจกรรม ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง 2561  คลิ๊กที่นี้

*** รายงานอุบัติเหตุเทศกาลสงรานต์ปี 2561  คลิ๊กที่นี้
** หมู่บ้านและโรงเรียนต้นแบบพยาธิ อำเภอขุขันธ์ 2561  คลิ๊กที่นี้
*** การรายงาน Xray  2561  คลิ๊กที่นี้
 การรายงานยอดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 2561คลิ๊กที่นี้
*** รายชื่อเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานจุดเสี่ยงช่วงเทศกาลปีใหม่และส่งกรานต์ปี 2561 คลิ๊กที่นี้
    แบบรายงานเป้าหมายการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง กำหนดการX-Ray และยอดจัดสรรงบฯ ปีงบประมาณ  2561  คลิ๊กที่นี้
           งานทันตกรรม กรอกข้อมูลทันตบุคลากรอำเภอขุขันธ์    คลิ๊กที่นี้

รายงานเร่งด่วน ปีงบฯ 2560

แบบรายงานฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง อำเภอขุขันธ์ 2560 -คลิ๊กที่นี้
ขอรายชื่อผู้ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ปี 2557-คลิ๊กที่นี้
 รายชื่อเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานจุดเสี่ยงช่วงเทศกาลส่งกรานต์ปี 2560 คลิ๊กที่นี้
 รายงานเร่งด่วน ปีงบฯ 2560
OK_รายงานผลการดำเนินงาน หมู่บ้านและโรงเรียนต้นแบบพยาธิ อำเภอขุขันธ์ 2559  คลิ๊กที่นี้
OK_แบบรายงานผลการดำเนินงานการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง  ปีงบประมาณ  2560  คลิ๊กที่นี้

วาระการประชุมประจำเดือนธันวาคม 2558 ของ อ.สุเพียร

ชาวอำเภอขุขันธ์ ยินดีต้อนรับ นางมัลลิกา เกษกุล ภรรยาท่านสำรวย เกษกุล นายอำเภอขุขันธ์  ในโอกาสที่ท่านได้ย้ายมาปฏิบัติราชการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. สสอ.ขุขันธ์ ได้นำกล้องวงจรปิดเดิมที่เคยติดตั้งที่อาคารสำนักงานเดิมมาติดตั้งใหม่โดยทีมช่างมืออาชีพ ...กล้องนี้ เคยช่วยราชการได้ดีมาก และผลงานชิ้นโบว์แดงจับภาพคนร้ายลักรถจักรยานยนต์ได้ 4 ครั้งตลอดช่วง 4 - 5ปีที่ผ่านมา...การติดตั้งเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในตอนบ่ายวันนี้(3 ธันวาคม 2558) สามารถดูกล้องเพื่อเวรยามรักษาความปลอดภัยหน่วยงานราชการผ่านทางโทรศัพท์ុมือถือของ จนท.ผู้ปฏิบัติงานใน สสอ.ขุขันธ์ทุกท่าน


2.  ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลบริการรายวัน ราย รพ.สต. จากDataCenter สสจ.ศรีสะเกษ คลิกดูที่เมนูด้านล่างนี้(ขอบคุณข้อมุลจาก อ.บิ๊ก ณ รพ.สต.หนองคล้า)


งานดูแลคนพิการ
1. ด่วนที่สุด...ถึง จนท.รพ.สต.โคกเพชร ,ตะเคียนช่างเหล็ก,ใจดี ,หนองลุง และอาวอย
            โรงพยาบาลศรีสะเกษขอความร่วมมือให้ท่านได้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ติดตามคนพิการทางการได้ยินตามทะเบียนรายชื่อที่แนบมาพร้อมนี้ไปติดต่อขอรับเครื่องช่วยฟังที่ห้องตรวจการได้ยิน  ห้องหมายเลข 16 ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสะเกษ  ตามวันที่กำหนดพร้อมให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

            1. คนพิการที่จะได้รับเครื่องช่วยฟังต้องเป็นคนพิการทางการได้ยินสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคนพิการบัตรทอง ท. 74 เท่านั้น  หากใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
            2. คนพิการต้องมารับเครื่องช่วยฟังด้วยตนเองเพื่อตรวจการได้ยินก่อนรับเครื่อง
            3. นำบัตร / สมุดคนพิการ บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนาบัตรมาด้วยบัตรดังกล่าวต้องไม่หมดอายุ  หากบัตรหมดอายุให้ไปต่ออายุบัตรให้เรียบร้อยก่อนไปรับเครื่อง   มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับเครื่องดังกล่าว

            สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่นายพรรณศักดิ์  บุระกรณ์  นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย   โทรศัพท์ 086-8612 189  งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โทรศัพท์  045-61503 ต่อ 3003

ที่มา หนังสือ ร.พ.ศรีสะเกษ ที่ ศก0032.205/ว.6763 ลง 4 พ.ย. 2558 เรื่อง  ติดตามคนพิการทางการได้ยินรับเครื่องช่วยฟัง

งานดูแลผู้สุงอายุ
1. การอบรมอาสาสมัคร care giver
            ตามที่กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการดูแลสุขดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง(Long Term Care)ด้านสุขภาพ  โดยมีความมุ่งหวังว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงจะได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพจากบุคลากรหรือทีมงาน Family Care Team ซึ่งเน้นการสร้างอาสาสมัครCare Giver หรือนักบริบาลผู้สูงอายุให้เกิดขึ้นในพื้นที่อาสาสมัครกลุ่มนี้ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตร อบรมนักบริบาลผู้สูงอายุของกรมอนามัยอย่างน้อย 70 ชั่วโมงนั้น
           ในการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ   จึงได้จัดทำโครงการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยการคัดเลือกพื้นที่นำร่อง 8 อำเภอๆละ 1 ตำบลๆละ 5 คน  ในการส่งอาสาสมัครนักบริการนักบริบาลผู้สูงอายุเข้ารับการอบรมที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี   ระหว่างวันที่ 21 - 25 ธันวาคม  2558 โดยใช้งบประมาณที่จังหวัดโอนให้ งบ (งบPPA) จำนวน 35,000บาท/อำเภอ ดังรายละเอียดโครงการตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

ที่มา หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก0032.007/ว.5100  ลง 20 พ.ย. 2558 เรื่อง  การอบรมอาสาสมัคร Care Giver

2. สรุปการประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์  ชี้แจงโครงการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลLong Term Care เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ประธานชี้แจงโดยนายแพทย์ประทีป  ธนกิจเจริญ  รักษาการเลขาธิการสปสช. 


3. สรุปการประชุมกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กรมอนามัย ได้เชิญผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุของแต่ละ คป.สอ. เข้าร่วมประชุม LTC ที่ โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  cup ละ 1 คน เน้นตำบลเป้าหมาย ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558   สำหรับปีงบประมาณ 2559 พื้นที่เป้าหมายเขต 10 ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์คือ บ้านภูมิ ตำบลห้วยเหนือ เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์

นโยบายLTC 2559 ว่าด้วยการดำเนินงานด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(Long Term Care) ปีงบประมาณ 2559

นโยบายปลัดกระทรวงฯพูดถึงFCT+LCT+DHS(25581130)ระบบการดูแลระยะยาวLTC (Facebook ของ ปลัดโสภณ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๘)สรุปผลการประชุมโครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล(Long Term Care) วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 4 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณที่มา จาก...ไลน์กลุ่มงานผู้สูงอายุ สสจ.ศรีสะเกษ

งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. ขอความอนุเคราะห์รวบรวมของเสียอันตราย 
               ด้วย  วันที่ 4  ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย  และวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.)แห่งชาติ   สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดศรีสะเกษ  ร่วมกับ  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 สันนิบาตเทศบาลจังหวัดศรีสะเกษ   จัดทำโครงการศรีสะเกษ  เมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสุข  เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย และวัน ทสม. แห่งชาติ   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 88  พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามRoadmap การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

             ในการนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ   โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอให้ท่านแจ้งผู้เกี่ยวข้องรวบรวมของเสียอันตรายจากหน่วยงานบ้านพักเจ้าหน้าที่ในสังกัด  โดยทำบัญชีรายการแยกชนิดของเสียอันตราย รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย  โดยนำส่งของเสียอันตรายพร้อมแบบบัญชีรายการแยกชนิดของเสียอันตรายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งสำเนาแบบบัญชีรายการแยกชนิดของเสียอันตรายส่งมายังกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข  ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

ที่มา หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก0032.004/ว.5149  ลง 24 พ.ย. 2558 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์รวบรวมของเสียอันตราย 

งานสาธารณสุขระหว่างประเทศ
1. ข้อสอบภาษาอังกฤษชุดใหม่(DIFA TES)ของสถาบันการต่างประเทศ เทวะวงศ์วโรปการ 
            ด้วยสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงต่างประเทศ    ซึ่งรับผิดชอบภารกิจด้านการฝึกอบรมและการทดสอบทักษะด้านภาษา    โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการจัดการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษของข้าราชการ  พนักงานราชการ   พนักงานรัฐวิสาหกิจ   และบุคลากรของหน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ ที่สมัครรับทุนศึกษาฝึกอบรมในต่างประเทศ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนที่ดำเนินการโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (เดิมชื่อ "สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ" -สพร.) เพื่อการคัดเลือกผู้สมัครรับทุน บุคลากรที่จะไปปฏิบัติงานในต่างประเทศและทดสอบเพื่อใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ของหน่วยงานได้พัฒนาข้อสอบภาษาอังกฤษชุดใหม่"DIFA TES" ซึ่งจะนำมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครรับทุนศึกษาฝึกอบรมดูงานรวมทั้งฝึกปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศแทนข้อสอบภาษาอังกฤษชุดปัจจุบัน(DTEC Test) ตั้งแต่มกราคมปี 2559 เป็นต้นไปรายละเอียดปรากฏในเอกสารที่แนบมานี้

          การนี้เนื่องจากกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศจะปรับเปลี่ยนการคัดเลือกผู้สมัครรับทุน  โดยใช้ผลการทดสอบ DIFA TES เป็นเกณฑ์การคัดเลือกตั้งแต่มกราคม ปีพ.ศ. 2559  เป็นต้นไป  โดยผู้สมัครรับทุนจะต้องมีผลสอบดังกล่าวเพื่อใช้ในการสมัครรับทุน ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับทุนศึกษาฝึกอบรมดูงานรวมถึงการวิจัยในต่างประเทศ จึงควรสมัครเข้ารับการทดสอบดังกล่าวเพื่อเตรียมผลการทดสอบไว้ใช้ในการสมัครรับทุนโดยผู้มีความประสงค์สามารถสมัครสมัครสอบได้ด้วยตนเอง ที่ www.mfa.go.th/ dvifa ตามรายละเอียดที่ระบุในเอกสารแนบทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

ที่มา หนังสือ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ ศก0032.008/ว.20295  ลง 10 พ.ย. 2558 เรื่อง  ข้อสอบภาษาอังกฤษชุดใหม่(DIFA TES)ของสถาบันการต่างประเทศ เทวะวงศ์วโรปการ

งาน พรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
      นายปิ่น  นันทะเสน เลขาฯสภาการสาธารณสุขชุมชน ,นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ฝากเรียนประชาสัมพันธ์ ดังนี้

วาระการประชุมประจำเดือน พฤศจิกายน 2558 ของ อ.สุเพียร

ข่าวจากสภาวิชาชีพการสาธารณสุข
1. ทีมประชาสัมพันธ์ฯ ได้ทำLine Official เพื่อการประชาสัมพันธ์ การรับสมัครสมาชิก  ขอความร่วมมือช่วยเผยแพร่ และเข้าร่วมกลุ่มด้วย

             เรียนเชิญเข้าร่วมกลุ่ม รับสมัครสมาชิกสภา เพื้อการรับทราบข่าวสารการรับสมัคร... กรุณากดลิงก์ด้านล่าง หรือค้นหา ID "@thaiccph" ที่ LINE หรือ LINE@ (กรุณาใส่ "@" ด้วย) แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ   http://line.me/ti/p/%40pra9919x  หรือ สแกน QR Code ด้านล่าง


งานสาธารณสุขระหว่างประเทศ
1. สสจ.ศรีสะเกษ ขอข้อมูลที่จำเป็นประกอบศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านการสาธารณสุขและแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
              ด้วยในปีงบประมาณ 2558 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้ดำเนินงานสนับสนุนการเป็นเมืองศูนย์กลางอาเซียนและพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนตามกรอบโครงการ/ภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วย
1. การจัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุขด้านการสาธารณสุข
2. ทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
3. ประชุมเชิงปฏิบัติการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขชายแดนระหว่างไทยกัมพูชาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
             ทั้งนี้ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจด้านการสาธารณสุขที่ห้องประชุมเล็กชั้นล่างของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษและอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องมีในศูนย์เพื่อให้สามารถให้บริการได้

             ในการนี้เพื่อให้การเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษจึงขอให้ท่านดำเนินการดังต่อไปนี้                1. จัดทำแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2558 ตามแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนการเป็นเมืองศูนย์กลางบริการสุขภาพในอาเซียนจังหวัดศรีสะเกษตามแบบที่ส่งมาด้วย 2
             2. แจ้งรายชื่อผู้ประสานงานเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3
             3. แจ้งจำนวนข้อมูลบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาต่างชาติตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 4
ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษทั้งในรูปแบบเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ที่อีเมล n_jan@hotmail.com ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการ

สิ่งที่ส่งมาด้วย
            1. แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนการเป็นเมืองศูนย์กลางบริการสุขภาพในอาเซียน จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2558
            2. แบบฟอร์มแผนปฏิบัติการ
            3. แบบฟอร์มรายละเอียดผู้ประสานงานเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียน
                สสอ.ขุขันธ์ (นายสุเพียร  คำวงศ์)
            4. แบบฟอร์มรายละเอียดข้อมูลบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาต่างชาติ
                คลิกที่นี่เพื่อ กรอกข้อมูล   ตรวจสอบข้อมูล(แจ้งคุณสุเพียร คำวงศ์ เพื่อประสานข้อมูล)

ที่มา : หนังสือ ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.002/28577 ลง 29 ต.ค. 2558 เรื่อง ขอข้อมูลที่จำเป็นประกอบศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านการสาธารณสุขและแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. สสจ.ศรีสะเกษ  ขอความร่วมมือส่งรายงานการจัดกิจกรรมวันล้างมือโลกปี 2558
            ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันล้างมือโลก เพื่อเป็นการรณรงค์สร้างความตระหนักให้ประชากรทั่วโลกล้างมือด้วยน้ำสบู่และสบู่ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและเสียค่าใช้จ่ายน้อยในการป้องกันโรคติดเชื้อ นั้น
            สสจ.ศรีสะเกษ โดยสสอ.ขุขันธ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ดังกล่าวจึงขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนทุกแห่ง จัดกิจกรรมรณรงค์การล้างมือประจำปี 2558 ในสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล  วัด  หรือสถานที่สาธารณะ ฯลฯ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี และขอความกรุณาจัดส่งแบบรายงานตามสิ่งที่ส่งมาด้วยพร้อมรูปถ่ายในการจัดกิจกรรมวันล้างมือโลกประจำปี 2555 18 จำนวนแห่งละ  4 รูปผ่านทางไลน์/หรือเฟสกลุ่ม สสอ.ขุขันธ์ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2558 นี้ให้จงได้  ...ขอขอบคุณคณะจนท.รพ.สต.ทุกแห่งที่ให้ความร่วมมือด้วยดี

>> คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบรายงานที่กรอกแล้ว
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1cnZDj32v6rK96lDKYGgggG_eAaKaxK2uzDTAjcR7ZVI/edit?usp=sharing

ที่มา : หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.004/ว 4587 ลง 16 ตุลาคม  2548 เรื่อง ขอความร่วมมือส่งแบบรายงานการจัดกิจกรรมวันล้างมือโลก ปี 2558

งานดูแลคนพิการ
1. ด่วนที่สุด...ถึง จนท.รพ.สต.โคกเพชร ,ตะเคียนช่างเหล็ก,ใจดี ,หนองลุง และอาวอย
            โรงพยาบาลศรีสะเกษขอความร่วมมือให้ท่านได้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ติดตามคนพิการทางการได้ยินตามทะเบียนรายชื่อที่แนบมาพร้อมนี้ไปติดต่อขอรับเครื่องช่วยฟังที่ห้องตรวจการได้ยิน  ห้องหมายเลข 16 ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสะเกษ  ตามวันที่กำหนดพร้อมให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

            1. คนพิการที่จะได้รับเครื่องช่วยฟังต้องเป็นคนพิการทางการได้ยินสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคนพิการบัตรทอง ท. 74 เท่านั้น  หากใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
            2. คนพิการต้องมารับเครื่องช่วยฟังด้วยตนเองเพื่อตรวจการได้ยินก่อนรับเครื่อง
            3. นำบัตร / สมุดคนพิการ บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนาบัตรมาด้วยบัตรดังกล่าวต้องไม่หมดอายุ  หากบัตรหมดอายุให้ไปต่ออายุบัตรให้เรียบร้อยก่อนไปรับเครื่อง   มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับเครื่องดังกล่าว

            สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่นายพรรณศักดิ์  บุระกรณ์  นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย   โทรศัพท์ 086-8612 189  งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โทรศัพท์  045-61503 ต่อ 3003

ที่มา หนังสือ ร.พ.ศรีสะเกษ ที่ ศก0032.205/ว.6763 ลง 4 พ.ย. 2558 เรื่อง  ติดตามคนพิการทางการได้ยินรับเครื่องช่วยฟัง