"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนเมษายน 2566 ออนไลน์(อ.สุเพียร คำวงศ์)

  งานดูแลผู้สูงอายุ/LTC &COC

1. ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ได้มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ด้านผู้สูงอายุ

        ตามที่ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กําหนดให้มีการตรวจราชการและนิเทศงานจังหวัดศรีสะเกษ รอบที่ 1 ประจําปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 นั้น  ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ได้มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะให้จังหวัดดําเนินการด้านผู้สุงอายุ ดังนี้
        1. มีนโยบายให้เปิดคลินิกผู้สูงอายุวันอาทิตย์ และเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
        2. ให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ADL ร้อยละ 100
        3. ในระยะยาวหรือปีต่อ ๆ ไปให้ผู้สูงอายุคัดกรอง Blue book ด้วยตนเอง หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยจึงไปรับบริการ/รับคำปรึกษาได้ที่คลินิกผู้สูงอายุ
        4. ให้โรงพยาบาลศรีสะเกษ จัดระบบรองรับการ Consult และ Tele-consult
        5. เรื่องรากฟันเทียม ให้จังหวัดสำรวจเป้าหมายและประมาณการว่าภายในปี ๒๕๖๖ จังหวัดศรีสะเกษจะทำรากฟันเทียมเพิ่มขึ้นจากโควตาที่ได้รับจัดสรร และแจ้งเขต เพื่อพิจารณาบริหารจัดการในภาพเขตต่อไป


ที่มา : 
ข้อสั่งการและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข1/2566 

2. สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต. ที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ประจำปี  2566 ภาพรวมอำเภอขุขันธ์ แล้วเสร็จ 100 %

    เรียน ผอ.รพ.สต./ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุทุกแห่ง
         - เพื่อโปรดทราบ
         - ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ประจำปี  2566 ให้แล้วเสร็จภายในภาคเช้าวันที่ 1 มีนาคม 2566ที่ผ่านมา สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต. ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ประจำปี  2566 ภาพรวมอำเภอขุขันธ์ จนแล้วเสร็จ 100 %
    ดาวน์โหลดข้อมูลภาพรวมการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ประจำปี  2566 อำเภอขุขันธ์ คลิก 
       หมายเหตุ

    เกณฑ์การดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 คลิก
    คู่มือการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ 2566 คลิก
ที่มา : ไลน์กลุ่ม PM Ageing@Sisaket,25660226.

3. สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต. ที่ได้รายงานผลการดำเนินงานการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

    เรียน ผอ.รพ.สต./ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุทุกแห่ง
         - เพื่อโปรดทราบ
         - ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือรายงานผลการดำเนินงานการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุจากสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุของแต่ละ รพ.สต. ไม่ต้องจำนวนมาก แต่ขอให้อยู่ในจำนวนที่สามารถรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผู้รับผิดชอบงานสูงอายุ สสจ.ศรีสะเกษ เน้นย้ำมา)   
          - สสจ.ศรีสะเกษ โดย สอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต. ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ในการรายงานผลการดำเนินงานการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จนแล้วเสร็จ 100 % 
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1y6M-bj8TNQBqzh46v12ePRzvjaEPpBT9uyPgcMYcd5o/edit#gid=652991412

หมายเหตุ  จากแนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (Inspection Guideline)
        ประเด็นที่ 3 : สุขภาพกลุ่มวัย และการยกระดับบริการผู้สูงอายุ
        หัวข้อ 3.2 การยกระดับบริการผู้สูงอายุตัว
        ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุมีแผนส่งเสริมสุขภาพดี
(Wellness Plan)
คำนิยาม
1) ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2) แผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) หมายถึง เครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ(Health Literacy) แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ว่าหมายถึง “ทักษะทางปัญญาและสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจ และความสามารถของปัจเจกในการแสวงหา ทำความเข้าใจ และการใช้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี”
แผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) มีองค์ประกอบการส่งเสริมสุขภาพและจัดการปัจจัยเสี่ยง6 ประเด็น ได้แก่
            1. ประเด็นโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
            2. ประเด็นการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ
            3. ประเด็นสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
            4. ประเด็นผู้สูงอายุสมองดี
            5. ประเด็นความสุขของผู้สูงอายุ
            6. ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
3) ผู้สูงอายุมีแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีค่าคะแนนการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index for Activities of Daily Living: ADL) ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป (กลุ่มติดสังคม) ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและจัดทำแผนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
การจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี(Wellness Plan) มีขั้นตอนดังนี้
        1. ผู้สูงอายุเข้าสู่กระบวนการด้วยความสมัครใจ และได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้
        2. ผู้สูงอายุประเมินตนเองตามแนวทางการประเมิน เพื่อรับรู้สถานการณ์สุขภาพ และความเสี่ยงด้านสุขภาพ
        3. จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี(Wellness Plan) ผ่านโปรแกรมที่กรมอนามัยพัฒนาขึ้น หรือผ่านรูปแบบอื่นๆ
        4. นำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) สู่การปฏิบัติจริง
        5. หลังจากปฏิบัติตามแผนฯ แล้ว ผู้สูงอายุดำเนินการประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเอง หรือประเมินร่วมกับเจ้าหน้าที่
        6. ปรับปรุง /พัฒนาแผนฯ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
        7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่เพื่อนสมาชิกชมรม /กลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนหรือผู้ที่สนใจ
        8. เสร็จสิ้นกระบวนการ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี
ที่มา : ไลน์กลุ่ม PM Ageing@Sisaket,25660226.
          
ประเด็นการตรวจราชการที่มุ่งเน้น. (2023). 

4. ขอส่งคำสั่งอำเภอขุขันธ์ ที่ ๗๙/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอำเภอขุขันธ์
            เนื่องด้วย อำเภอขุขันธ์ มีผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลต่อเนื่อง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้การดูแลไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง เมื่อเทียบกับผู้ปฏิบัติงานที่มีอยู่อย่างจำกัด กับภาระงานที่มากขึ้น สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วน  ความอดทน  ความเสียสละ กำลังใจ  การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม  การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านแบบบูรณาการก่อให้เกิดผลแบบองค์รวม ทั้งกายจิตและสังคมมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้  โดยมีกลุ่มโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็ง และโรคทางจิตเวช โดยมีเป้าหมายในการลดการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนลดความพิการ ลดการตายและลดภาระค่าใช้จ่าย จุดเน้นคือ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง การสนับสนุนอุปกรณ์
ทางการแพทย์ และการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
            ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอำเภอขุขันธ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์  อำเภอขุขันธ์ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอำเภอขุขันธ์ โดยมี นายอำเภอขุขันธ์ เป็นประธานกรรมการ  , สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ , ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง นางอังคณาลักษณ์ แสวงดี และนายสุเพียร คำวงศ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 ดาวน์โหลด  สั่งอำเภอขุขันธ์ ที่ ๗๙/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอำเภอขุขันธ์ คลิก


5. สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ รพ.สต.ทุกแห่งที่ได้ให้ความร่วมมือดำเนินการประชาสัมพันธ์ และประเมินความสุขของผู้สูงอายุ ด้วยแบบประเมินความสุขของผู้สูงอายุ(ประเมินตนเอง) ฉบับสั้น
        ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้ขอความร่วมมือทุก รพ.สต.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และประเมินความสุขของผู้สูงอายุ ด้วยแบบประเมินความสุขของผู้สูงอายุ(ประเมินตนเอง) ฉบับสั้น Thai Geriatric Mental Health Assessment Tool (T-GMHA-15) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 นั้น  สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต. ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ในการประชาสัมพันธ์และประเมินฯ
หมายเหตุ แบบประเมินความสุขของผู้อายุ ฉบับสั้น (T-GMHA-15)
        แบบประเมินความสุขของผู้สูงอายุ(ประเมินตนเอง) คลิก   shorturl.at/fknBU

ที่มา : ที่ ศก0033.013/ว1390 ลว 7 มี.ค. 2566 เรื่องขออนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ประเมินความสุขของผู้สูงอายุ


6. เรื่องแจ้งจาก คุณสมจันทร์ บัวเขียว หน.ศสม.ห้วยเหนือ
    6.1 รพ.สต.ที่มีงบประมาณโอนมาแล้ว  ให้ดำเนินงานนำเสนอ care plan คือ หลังปี 65 / รพ.สต.ใด ยังไม่นำเสนอ care plan ปี 66 : ให้ดำเนินการด้วย ประชาชนจะได้รับงบการดูแล จะได้ไม่เสียโอกาส
    6.2 ถ้า รพ.สต.และ อบต.ใด ยังมีการเบิกค่าใช้จ่ายงบ LTC ไม่ครบคลอบคลุม พื้นที่ห้วยเหนือ ยินดีเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ขอให้ประสานมาได้ ซึ่งขณะนี้ มีต่างอำเภอ,ต่างจังหวัด ขอมาดูงานในพื้นที่ เยอะคะ
    6.3 คลีนิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลขุขันธ์ คลินิกเปิดให้บริการวันพฤหัสบดีที่ 1 และ 3 ของทุกเดือน
    6.4 วัคซีน covid-19 ศสม.ห้วยเหนือ บริการฉีดทุกวันในเวลาราชการ
งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
1. สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือ ผอ.รพ.สต.แจ้งผู้รับผิดชอบงาน และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ปีงบประมาณ 2566
            ตามที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อน การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ปี ๒๕๖๖ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สามารถดูแลกันเอง และพระภิกษุสงฆ์ สามเณร รวมถึงบุคลากรในวัดมีสุขภาพดี และส่งเสริมให้วัดเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพที่มีความปลอดภัย ปลอดโรค โดยในปี ๒๕๖๖ จึงได้มีเป้าหมายในการดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ดังนี้
            ๑. วัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๔๐
            ๒. วัดส่งเสริมสุขภาพสู่วัดรอบรู้ด้านสุขภาพ ๑ แห่ง/ ๑ จังหวัด 
            ๓. พระศิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด - พระ อสว.) ๑ รูป/ตำบล
            ๔. พระสงฆ์มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๒๐
            ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ จึงขอความร่วมมือท่าน แจ้งผู้รับผิดชอบงานและผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการขับเคลื่อนการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ปี ๒๕๖๖ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
            จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา และแจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ
 ข้อมูลพระคิลานุปัฏฐาก อำเภอขุขันธ์  ปีงบประมาณ 2566 จากคณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์  จำนวน 24 รูปจากตำบลซึ่งยังไม่มีพระ อสว. ที่สนใจลงทะเบียนเข้าอบรมพระคิลานุปัฏฐาก แบบออนไลน์ 70 ชั่วโมง กรมอนามัย ผ่านโปรแกรม MOOC Anamai ส่งข้อมูลให้ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี คลิก  
 ข้อมูลพระสงฆ์สามเณรอาพาธติดเตียง อำเภอขุขันธ์ ปีงบประมาณ 2566 คลิก
        ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญ และกล่าวยกย่องเรื่องการอุปัฏฐาก อีกทั้งยังสนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนใส่ใจเรื่องการอุปัฏฐากเป็นสำคัญด้วย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการอุปัฏฐากภิกษุที่อาพาธ ถึงพระองค์ก็ทรงตระหนักถึงการอุปัฏฐากภิกษุที่อาพาธเป็นอย่างยิ่ง ดังพระพุทธพจน์สรุปไว้ว่า “โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺ เหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺ เหยฺย” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2535) “ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะพยาบาลเรา ก็จงพยาบาลภิกษุอาพาธเถิด”


ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว880 ลว 9 ก.พ. 2566 เรื่อง ขอความร่วมมือ ผอ.รพ.สต.แจ้งผู้รับผิดชอบงาน และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ปีงบประมาณ 2566

2. คู่มือเกี่ยวกับงานวัดส่งเสริมสุขภาพ
 Infographic พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สำหรับพระสงฆ์ คลิก
 สมุดบันทึกสุขภาพพระสงฆ์  คลิก
 คู่มือแนวทางการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ ปี 2565 คลิก
  คู่มือแนวทางการดำเนินงานและการประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพสู่รอบรู้ด้านสุขภาพ ปี2565 คลิก
 แนวทางหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพระสงฆ์ต้นแบบในการขับเคลื่อนงานวัดส่งเสริมสุขภาพและพระคิลานุปัฏฐาก คลิก
 แนวทางหลักเกณฑ์คัดเลือกพระคิลานุปัฏฐาก ดีเด่น คลิก
 คู่มือแนวทางการอบรมหลักศุตรพระคิลานุปัฏฐากขั้นตัน (35 ชั่วโมง) คลิก
 คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (70 ชั่วโมง) คลิก 
ที่มา : ระบบข้อมูลวัดส่งเสริมสุขภาพ(Health Temple) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

3. สื่อคลิปวีดีโอ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์สำหรับพระสงฆ์ ของ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


4. พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์สำหรับพระสงฆ์ ตามเกณฑ์ของ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

งานฟื้นฟูสมรรภาพคนพิการ
1. ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การเปิดสมัครอบรมคอมพิวเตอร์ 6 หลักสูตรสำหรับผู้พิการ
            ด้วย สสจ.ศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การเปิดสมัครอบรมคอมพิวเตอร์ 6 หลักสูตร คือ คอมพิวเตอร์สำนักงาน และคอมพิวเตอร์กราฟิก หลักสูตรละ 5 เดือน รวมระยะเวลาตลอดหลักสูตร ๑ ปี โดยหมดเขตรับสมัคร วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖


            ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ จึงขอความอนุเคราะห์ท่านประชาสัมพันธ์ให้ผู้พิการที่สนใจ ได้รับทราบข่าวสารโดยทั่วกัน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

ที่มา : ที่ ศก 0033.013/ว 1511 ลว 10 มี.ค. 2566 เรื่อง  ประชาสัมพันธ์รับสมัครอบรมหลักสูตรคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการ

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือตรวจสอบและอัพเดทข้อมูลชื่อรุ่นของระบบสารสนเทศประจำรพ. สต.
            ตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนด
เรียน ผอ.รพ.สต./ผู้รับผิดชอบงานไอทีประจำ รพ.สต.ทุกแห่ง @All 
       - เพื่อโปรดทราบและเร่งรัดดำเนินการ
       - จังหวัดศรีสะเกษ โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอให้ตรวจสอบและอัพเดทข้อมูลชื่อรุ่นของระบบสารสนเทศประจำรพ. สต. ของท่านให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มีนาคม 2566 คลิกลิงก์ด้านล่างนี้

2. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy Policy) จังหวัดศรีสะเกษ
          ตามที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ และความในมาตรา ๙๕ และมาตรา ๙๖ ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒  ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  และเพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ จังหวัดศรีสะเกษ จึงกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy Policy) จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซต์ของจังหวัดศรีสะเกษ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

ที่มา : ด่วนที่สุด ที่ ศก 0033/ว6179 ลว 29 มี.ค. 2566 เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data Privacy Policy) จังหวัดศรีสะเกษ

3. การฝึกอบรมการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลให้เป็นดิจิทัล(Digitized Data)
          พร้อมนี้จังหวัดศรีสะเกษ ได้ส่งสำเนาหนังสือสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ศก 0017.2/ว1117 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง การฝึกอบรมการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลให้ เป็นดิจิทัล (Digitized Data) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
          ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ  ขอเชิญชวนบุคลากรในสังกัดที่สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรม ดาวน์โหลดรายละเอียดตามลิงก์หนังสือด้านล่างนี้

ที่มา : ที่ ศก 0017.2/ว1117 ลว 20 มี.ค. 2566 เรื่อง การฝึกอบรมการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลให้ เป็นดิจิทัล (Digitized Data) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)

4. ข้อมูลกิจกรรมสมรรถนะ ปีงบประมาณ 2566 ดู 2เรื่อง
 ผลงานOne Pageสสอ.ขุขันธ์ ปีงบฯ 2566 คลิก
  เดือนละอย่างน้อย 2 เรื่องขึ้นไปโดยเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป 
 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล3มิติ(ถูกต้อง , สอดคล้อง , ครบถ้วน+สมบูรณ์) คลิก
ผลงานOne Pageสสอ.ขุขันธ์ ปีงบฯ 2566 ถึง ณ วันนี้ ดังนี้

5. สสจ.ศรีสะเกษ ส่งประกาศและแนวทางปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเป็นแนวทางเดียวกัน
               จากสถานการณ์การถูกโจมตี หรือการคุกคามระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ จากผู้ไม่ประสงค์ดีเกิดขึ้นในหลายหน่วยงาน  กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศ มุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการดำเนินงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย และเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้จัดทำประกาศและแนวทางปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ในหน่วยงานขึ้น
            ในการนี้ สสอ.ขุขันธ์  จึงขอส่งประกาศและแนวทางปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางเดี่ยวกัน
            1. ที่ ศก 0033/ว 10200 ลว 13 มิ.ย. 2565 เรื่อง การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
            2. ที่ ศก 0033/ว 10199 ลว 13 มิ.ย. 2565 เรื่อง แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงสาธารณสุข

ที่มา : ที่ ศก 0033.011/ว 3621 ลว 13 มิ.ย. 2565 เรื่อง ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
หมายเหตุ
       ดูย้อนหลัง...การอบรมเชิงปฏิบัติการ" หลักสูตรธรรมาภิบาลข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Data Governance and Cyber Security and PDPA)" รุ่นที่ 2  ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2565 บรรยายโดย นพ.อนันต์  กนกศิลป์  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยี
 

งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
(ไม่มี)

วาระการประชุมเดือน เมษายน 2566 (สมศักดิ์ ทวีพันธ์)

งานหลักประกันสุขภาพ
1.แจ้งโอนเงินจาก รพ.ขุขันธ์ ครั้งที่ 4/2566
        ด้วยโรงพยาบาลขุขันธ์ ได้โอนเงินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ โดยโอนผ่านธนาคาร ธกส. เข้าบัญชีเงินประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จํานวน ๑๘ แห่ง เป็นเงิน ๖๗,๖๘๐ บาท (หกหมื่นเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
        ในการนี้ ขอให้ท่านตรวจสอบยอดเงินทีธนาคาร ธกส. สาขาขุขันธ์ ให้บันทึกบัญชีรับเงิน และออกใบเสร็จรับเงินส่งให้โรงพยาบาลขุขันธ์โดยด่วน ดังรายละเอียดแนบมาพร้อมนี้
        จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและ ดำเนินการต่อไป
ที่มา : ที่ ศก 0033.301/249 ลว. 28 ก.พ.2566 เรื่อง ขอแจ้งการโอนเงินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 4/2566

งานสาธารณสุขมูลฐานและระบบสุขภาพปฐมภูมิ
1.แนวทางการดำเนินการตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการ
        ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินการพัฒนาเกณฑ์โดยบูรณาการเกณฑ์ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๒ เกณฑ์ประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (ระดับ ๕ ดาว) และเกณฑ์การประเมินหน่วยบริการปฐมภูมิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้คณะอนุกรรมการคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการ ปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้ หน่วยบริการปฐมภูมิทุกประเภท ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
        ในการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ขอแจ้งแนวทางการดำเนินการตามคู่มือคุณภาพ มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้ท่าน และหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดหน่วยงานของท่านทราบ เพื่อถือปฏิบัติ ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดคู่มือฯ ดังกล่าว ได้ที่เว็บไซต์สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ หรือ Scan CS Code ท้ายหนังสือ
        จึงเรียนมาเพื่อทราบ และพิจารณาดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ : 
  คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ปี 2566 คลิก
ที่มา : ที่ ศก 0033.015/705 ลว. 2 ก.พ.2566 เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพฐมภูมิ พ.ศ.2566

งานในความรับผิดชอบของ ภัสรา สอาด

 วาระการประชุม(ภัสรา) ปีงบฯ2566

# เดือนตุลาคม 2565# เดือนกุมภาพันธ์ 2566# เดือนมิถุนายน 2566
# เดือนพฤศจิกายน 2565# เดือนมีนาคม 256​​6 👇# เดือนกรกฎาคม 2566
# เดือนธันวาคม 2565# เดือนเมษายน 2566 👇# เดือนสิงหาคม 2566
# เดือนมกราคม 2566# เดือนพฤษภาคม 2566# เดือนกันยายน 2566

 วาระการประชุม(ภัสรา) ปีงบฯ2567

# เดือนตุลาคม 2566👇# เดือนกุมภาพันธ์ 2567# เดือนมิถุนายน 2567
# เดือนพฤศจิกายน 2566👇# เดือนมีนาคม 256​​7👇# เดือนกรกฎาคม 2567
# เดือนธันวาคม 2566# เดือนเมษายน 2567 👇# เดือนสิงหาคม 2567👇
# เดือนมกราคม 2567👇# เดือนพฤษภาคม 2567 👇 # เดือนกันยายน 2567👇 

👉เอกสารประกอบการประชุมต่าง   ๆ👉ตัวชี้วัดงานส่งเสริมสุขภาพ
งานที่รับผิดชอบ
1. งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย
  -  งานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ
  -  งานโภชนาการเด็ก
  -  งานอนามัยโรงเรียน
       🌷แนวปฏิบัติการคัดกรองสายตาและแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ โครงการเด็กไทยสายตาดี ปี 2566 👉 คลิก

        🌷โรงเรียนก้าวท้าใจ   👉 คลิก
        🌷โครงการก้าวท้าใจ Season 5  👉 คลิก
 - งานทันตสาธารณสุข
        🌷กิจกรรมโรงเรียนผู้พิทักษ์ฟันดี 
👉 คลิก
        🌷 เชิญบุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการวัดสายตาในเด็ก 👉 คลิก 
  - งานส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน
        🌷คู่มือการข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน 👉 คลิก
        🌷แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน 👉  คลิก
2. งานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (ก้าวท้าใจ, ชุมชนไอโอดีน, อนามัยโพล)
3. Fee Schudule
4. พอ.สว.
5. งานบัตรประจำตัวข้าราชการ
    🚩แบบฟอร์มทำบัตรข้าราชการ    เอกสารประกอบด้วย
                  1. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
                  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
                  3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
                  4. กพ.7 (หน้าแรกพร้อมลงลายมือชื่อ) จำนวน 1 ฉบับ
                  5. กรณีบัตรหมดอายุ ให้แนบบัตรเก่ามาด้วย
                  6. กรณีบัตรหาย ให้นำใบแจ้งความแนบมาด้วย
💢💢Update ประชาสัมพันธ์การจัดทำบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ประจำปี 2566 รอบที่ 2 👉  คลิก


6.งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
#ข้อมูลการจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คลิก
# แบบรายงานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2563 คลิก

# การปรับเปลี่ยนวัคซีนรวมป้องกันโรคโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน ครั้งที่ ๒ (MMR2)      
    เป็นอายุ ๑ ปี ๖ เดือน คลิก
#แบบสำรวจกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คลิก
#ใบเบิกวัคซีน 67 💟
-ตค.66  คลิก            -พย.66  คลิก                -ธค.66 คลิก
-มค.67  คลิก            -กพ.67  คลิก                -มีค.67 คลิก
-เมย.67 คลิก            -พค.67  คลิก                -มิย.67 คลิก
-กค.67  คลิก            -สค.67  คลิก                 -กย.67 คลิก        
#ใบเบิกวัคซีน 68 💟
-ตค.67  คลิก            -พย.67  คลิก                -ธค.67 คลิก
-มค.68  คลิก            -กพ.68  คลิก                -มีค.68 คลิก
-เมย.68 คลิก            -พค.68  คลิก                -มิย.68 คลิก
-กค.68  คลิก            -สค.68  คลิก                 -กย.68 คลิก       
****************************************************
 
#สสจ.ศก. แจ้งการจัดทำคำแนะนำการให้วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเพื่อเป็นแนวทางสำหรับรพ.ที่จะฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ป่วยโรคต่างๆ ประกอบด้วย

  1.แนวทางการให้วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

  2.คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคไต

  3.คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคระบบประสาท

  4.คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่คิวอาร์โค้ด

ย้อนหลังงานปีงบประมาณ2563 คลิก
#ผลการรณรงค์การให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 พย.-ธค. 64 คลิก

วาระการประชุมเดือนมีนาคม 2565(ธรรมรัฐ เตียนสิงห์)

งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไปและโรคอุบัติใหม่
1 .งานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขุขันธ์ ผู้ป่วย 47 ราย (ตุลาคม 65 – 28 กพ 66) มี ผป.เกิดในเดือนกุมภาพันธ์ รับรายงาน 5 ราย เกิดในพื้นที่ดังนี้
        - ตำบลหัวเสือ 1 ราย บ้านสวงษ์ ที่อยู่ 25 หมู่ 12
        - ตำบลศรีตระกูล 2 ราย บ้านละเบิก ที่อยู่ 57 หมู่ 4 บ้านหลังเดียวกัน
        - ตำบลดองกำเม็ด 1 ราย บ้านตราด ที่อยู่ 93 หมู่ 7
        - ตำบลห้วยเหนือ 1 ราย บ้านบก ที่อยู่ 151/1 หมู่ 13
        - ข้อสั่งการ ให้พื้นที่สอบสวนโรค รายงานควบคุมพื้นที่ตามมาตรการ
ข้อเสนอแนะ/มาตรการป้องกันโรค
        1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ควรให้สุขศึกษาในการป้องกันการเกิดโรคในโรงเรียนและชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันการเกิดโรค และเน้นการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในพื้นที่ระบาด
        2. กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ เน้นการดำเนินงานตามมาตรการ 3-3-1
     สถานพยาบาล แจ้งรพ.สต.หรือสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่รับทราบว่าในพื้นที่มีผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ภายใน 3 ชั่วโมง ภายหลังผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย

     หน่วยงานควบคุมโรคดำเนินการควบคุมยุงพาหะ ทั้งการฉีดพ่นสารเคมี(สเปรย์กระป๋อง)และกำจัดแหล่งน้ำขังภายในบ้านผู้ป่วย ภายใน 3 ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยในชุมชน ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยภายใน 1 วัน

     และในวันที่ 3 หลังพบผู้ป่วย ทั้งการฉีดพ่นสารเคมีและกำจัดแหล่งน้ำขัง  หน่วยงานท้องถิ่นพ่นสารเคมีกำจัดยุงและอสม.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย ภายใน 1 วัน หลังได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยในชุมชน
        3. รพ.สต.เข้มข้นในการควบคุมป้องกันโรคโดยหลักการ 3 เก็บ (บ้าน น้ำ ขยะ)
        4. จัดกิจกรรมประชาคมในหมู่บ้านหาแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคร่วมกัน และรณรงค์กำจัดแหล่งน้ำขัง ขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบๆบ้าน พืชอุ้มน้ำ และกอไผ่
        5. ควรประเมินความเสี่ยงทุกครั้งหลังการดำเนินงาน โดยวัดค่า HI CI เพื่อประเมินความเสี่ยง
        6. ให้คำแนะนำในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมียุงและคนที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ (ประมาณ 90%) ให้แนะนำการป้องกันยุงลายกัด ยาทากันยุง 14 วัน ,ไม้ช๊อตยุง , นอนในมุ้ง, ติดตั้งมุ้งลวดบ้านชั้นล่าง เป็นต้น

2. งานควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ขุขันธ์ ผู้ป่วย 81 ราย (ตุลาคม 65 – 28 กพ 2566) มีข้อมูลพื้นที่เกิดโรคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 5 ราย ดังนี้
        - ตำบลตาอุด 2 ราย ตำบลศรีตระกูล 1 ราย ตำบลนิคมพัฒนา 2 ราย
        - ข้อสั่งการ ให้พื้นที่สอบสวนโรค รายงาน ควบคุมพื้นที่ตามมาตรการ

3. การเร่งรัดการฉีดวัควีนโควิด -19 ในช่วงรณงค์ 15 พย.2565 ถึง 15 มีนาคม 2566

        ข้อสั่งการ  
            1. ให้ทำแผนฉีดวัคซีนทุกแห่ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
            2. กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่ม 607 และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
            3. มีการติดตามดำเนินงานตามแผน
            4. บันทึกรายงานใน MOPH IC และรายงานผู้บังคับบัญชาทุกวันที่มีการฉีด
            5.  การประเมินผลงาน ครอบคลุมเป้าหมายแยกกลุ่มตามเกณฑ์ RK พิจารณาจากผลงานฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ตามเกณฑ์

4. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
        4.1 จากกรณีสุนัขข่วนผู้ป่วยที่บ้านโสน หมู่ที่ 1 ได้ดำเนินการติดตามสอบสวนโรคและดำเนินการตามการแล้ว จากผลการตัดหัวสุนัขส่งตรวจ ผลการตรวจปกติ จำนวนผู้สัมผัสโรค 12 ราย ให้ติดตามการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ครบทุกคน (รพสต.อาวอย)

        4.2 การดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า พิจารณาวางแผนดำเนินงานในพื้นที่ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

5. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก
    - จากการรายงานติดเชื้อไข้หวัด ในเขตประเทศกัมพูชา