"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วิธีการทำให้รายงานผู้สูงอายุจาก HDC(43+7 แฟ้ม) ทั้ง 3 ข้อนี้ผ่าน...ทำอย่างไร?

รายงานผู้สูงอายุจาก HDC(43+7 แฟ้ม) ทั้ง 3 ข้อ
10. ร้อยละของ Healthy Ageing จังหวัดศรีสะเกษคลิก
11. จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน จังหวัดศรีสะเกษ คลิก
12. ผลการคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง (Special PP)จังหวัดศรีสะเกษ คลิก

ทำได้ง่ายๆ โดยให้ทุก รพ.สต. เข้าเวปฯHDC ที่ http://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

แล้วทำตามขั้นตอนดังภาพที่ 1 - 6 ด้านล่างนี้ เพื่อจะได้รายชื่อผู้สูงอายุที่ดึงได้จากHDC(43+7 แฟ้ม) ซึ่งยังไม่ได้คัดกรองใน JHCIS ...แล้วให้นำรายชื่อผู้สุงอายุดังกล่าวที่ได้ ไปคัดกรองและกรอกข้อมูลลงที่ JHCIS ก็จะทำให้ผลงานทุก รพ.สต.เพิ่มขึ้นได้ในชั่วพริบตาก่อนการแรงกิ้งอย่างแน่นอน...ครับ






กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561

บทที่ 1 ที่มา แนวคิด และหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

         เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มาตรา 47 แห่งพระราช บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กําหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (คณะกรรมการหลักฯ) สนับสนุน ประสาน และกําหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับ ค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประสานหารือการดําเนินงานกับกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2549 คณะกรรมการหลักจึงออกประกาศ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) หรือเทศบาลดําเนินงานและบริหารจัดการระบบ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยในปีแรก สปสช. ร่วมกับ อบต. และเทศบาลนําร่อง ให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนฯ) รวม 888 แห่ง
       จากการศึกษาวิจัยนโยบายสาธารณะกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี พ.ศ. 2550 และ 2552 ของ ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่ายนักวิจัยในทุกภูมิภาค โดยการสนับสนุนจาก สปสช. มีข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนานโยบายและการดําเนินงานในพื้นที่ จึงนํามาซึ่งการแก้ไขประกาศคณะกรรมการหลักๆ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตําบลหรือเทศบาลดําเนินงานและ บริหารจัดการกองทุนฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 และประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เรื่อง แนวทางการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทําบัญชีหรือทรัพย์สิน ในกองทุนฯ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
      ปี 2557 คณะกรรมการหลักฯ ได้พิจารณาเห็นชอบปรับปรุงการดําเนินงานกองทุนฯ ของ อปท. ให้มีประสิทธิภาพจึงออกประกาศฉบับใหม่ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้อปท.ดําเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนฯ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งออกแบบให้ อบต. เทศบาล หรือ อปท. รูปแบบอื่นเป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ กองทุน โดยกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถาน บริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดําเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการ สาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ต่อมาคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักฯ ได้จัดทําตัวอย่างรายการชื่อแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และบริการปฐมภูมิที่กองทุนฯ สามารถให้การสนับสนุนได้โดยจัดทํา เป็นประกาศ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนฯ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557
  ปี 2559 รัฐบาลให้ความสําคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ จึงมีนโยบายที่มุ่งเน้น การดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิง (ติดบ้านติดเตียง) ให้ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม กระทรวง สาธารณสุข ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตําบล แห่งประเทศไทย และ สปสช. เห็นชอบร่วมกันสนับสนุนให้ อปท. เป็นหน่วยงานหลักหรือเจ้าภาพในการ บริหารจัดการพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวฯ เพื่อให้เกิดบริการดูแลระยะยาวฯ เชิงรุกที่บ้าน หรือ ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการประจํา ในพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพคณะกรรมการหลักๆ ได้ออกประกาศเพิ่มเติม เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท. ดําเนินงานและบริหาร จัดการกองทุนฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยเนื้อหาของประกาศ จะเชื่อมโยงกับประกาศคณะกรรมการหลักๆ ซึ่งต่อมาพบว่าการแยกประกาศออกเป็น 2 ฉบับ ทําให้ พื้นที่เข้าใจเนื้อหาของประกาศคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งประกาศ 2 ฉบับ ยังมีประเด็นที่เป็นข้อติดขัดในการบริหารจัดการกองทุนฯ ประกอบกับผลการรับฟังความคิดเห็นทั่วไป ปีงบประมาณ 2560 (ด้านการบริหารจัดการกองทุนฯ) มีข้อเสนอให้ สปสช. ทบทวนหลักเกณฑ์ การดําเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ เพื่อให้ประชาชนไม่เสียประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ในพื้นที่ คณะกรรมการหลักๆ จึงพิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท. ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จึงได้มีมติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินงานและ บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ซึ่งการปรับปรุงและยกร่างประกาศใหม่ได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองและ การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทน อปท.ผู้แทนภาคประชาชน กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สปสช. เขต และสปสช. ส่วนกลาง ได้ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์แนวทางเพื่อให้การดําเนินงานและบริหารจัดการ กองทุนฯ เป็นไปด้วยความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสอดคล้อกับมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และสอดรับกับวิธีการปฏิบัติงานของ อปท. ภายใต้การกํากับ ของกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ก้าวล่วงอํานาจหน่วยงานอื่น
            
        ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ ระบบที่ประกันให้ประชาชนทั้งหมดและชุมชนสามารถ เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จําเป็นได้อย่างมั่นใจ ทั้งการส่งเสริม การป้องกัน การบําบัดรักษา การฟื้นฟู สมรรถภาพและการดูแลแบบประคับประคอง ที่มีคุณภาพเพียงพอและมีประสิทธิผล โดยไม่มีปัญหา ด้านค่าใช้จ่ายจากการใช้บริการ โดยรวมมีความหมายครอบคลุมวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ 1) ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยทุกคนที่มีความจําเป็นรับบริการควรได้รับบริการ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่สามารถจ่ายได้ 2) บริการต้องมีคุณภาพเพียงพอที่จะทําให้สุขภาพของผู้รับบริการดีขึ้น และ 3) ทุกคนควรได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงทางการเงินเมื่อเจ็บป่วย เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่ล้มละลายจากการใช้บริการ คณะกรรมการหลักๆ โดย สปสช. เป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับประเทศมีกิจกรรมหลักที่สําคัญ คือ การลงทะเบียนสิทธิของประชาชน การกําหนดสิทธิประโยชน์ การจัดหาหน่วยบริการให้ประชาชน การจัดซื้อบริการสาธารณสุข (การบริหารจัดการกองทุน) การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ การจัดให้มีระบบสารสนเทศและ ข้อมูลการติดตามและประเมินผล การปกป้องสิทธิและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
        อย่างไรก็ตาม การดําเนินงานของ สปสช. อาจยังมีช่องว่างหรือไม่ทั่วถึง รวมถึงอาจมีปัญหาอุปสรรค อื่น ๆ อีกมากในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่ทําให้ประชาชนเข้าไม่ถึงบริการ การประสานกําหนดให้ อปท. เป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จะช่วยปิดช่อง ว่างและเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น ประกาศคณะกรรมการหลักตั้งแต่ปี 2557 จนถึงฉบับปี 2561 จึงออกแบบให้ อปท. ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมีทุน หรืองบประมาณที่เป็นการสมทบร่วมกันระหว่างสปสช. กับ อปท.ที่เรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” เป็นเครื่องมือให้ อปท. เป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคล สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการมุ่งเน้น ให้กองทุนฯ เป็นฐานในการดูแลสุขภาพให้กับชุมชน และเป็นทุนหนุนเสริมสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพ ของประชาชนในพื้นที่

        เงินกองทุนฯ สามารถจ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังต่อไปนี้

        (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข
        (2) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกัน โรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น
        (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดําเนิน กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็ก ในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน
        (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจําเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
        นอกจากนั้น สปสช. ยังสนับสนุนเงินค่าบริการสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง , (ค่าบริการ LTC) เข้ากองทุนฯ โดยให้ อปท. บริหารจัดการสนับสนุนให้แก่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในชุมชน หน่วยบริการ หรือสถานบริการ เพื่อจัดบริการสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

การดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ โดยมีกองทุนฯ นั้น อปท. มีบทบาทและหน้าที่ โดยสังเขปดังนี้
1. การจัดทําและบริหารแผนการเงินกองทุนฯ ประจําปี
2. สนับสนุนหรือประสานให้หน่วยบริการ หน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มประชาชน จัดบริการ หรือกิจกรรม หรือกระบวนการ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
3. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม 
4. การทํานิติกรรมและบริหารสัญญาหรือข้อตกลง 
5. การจัดทําบัญชีและรายงานทางการเงิน 
6. การติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดําเนินงานกองทุนฯ 
7. งานเลขานุการคณะกรรมการกองทุนและการพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ

วาระการประชุมประจำเดือนเมษายน 2564 ออนไลน์(อ.สุเพียร คำวงศ์&อ.สมจันทร์ บัวเขียว)

งานวัดส่งเสริมสุขภาพ

1.เก็บตกการประชุมวิชาการโรงพยาบาลสงฆ์ ประจำปี 2564

ธรรมบรรยาย เรื่อง ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติกับงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ โดยพระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(8 มีนาคม 2564) 

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
 01การอุปัฏฐากภิกษุอาพาธที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย คลิก
 02มาตรฐานการอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธตามหลักพระธรรมวินัย คลิก
 03การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอุปัฏฐากภิกษุอาพาธทั่วประเทศ คลิก
 04สมุดสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์PHR คลิก
 05เภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอุปัฏฐากพระภิกษุ คลิก
 06ภัยสุขภาพปอดในพระภิกษุสงฆ์ไทย คลิก
 07การดูแลภิกษุอาพาธโรคไม่ติดต่อ(NCDs) คลิก
 08การดูแลพระภิกษุอาพาธ์โรคกรดไหลย้อน คลิก
ที่มา : ด่วนที่สุด ที่ ศก 0032.007/ว1094 ลว 5 มี.ค. 2564 เรื่อง ขอเชิญบุคลากรเข้าร่วมประชุมวิชาการโรงพยาบาลสงฆ์ ประจำปี 2564 ในรูปแบบการประชุมทางไกล(Tele-Conference) ผ่านระบบ webex


งานงานดูแลผู้สูงอายุ/LTC &COC

1. รายชื่อตำบลต้นแบบ การดำเนินงาน Individual Wellness Plan จังหวัดศรีสะเกษ  ตามโครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน แบบบูรณาการด้วยพลังเครือข่ายที่เข้มแข็ง จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ลำ
ดับ
ที่
อำเภอรหัสสถาน
บริการ
ชื่อสถานบริการเป้าหมาย
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ
(คน)
จำนวนงบประมาณ
ที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด
จำนวน
เงินโอน
งวดที่ 1
จำนวนเงินโอนงวดที่ 2
9ขุขันธ์10930ศสม.ห้วยเหนือ418,2006,5601,640
1003357รพ.สต.ปรือคัน418,2006,5601,640

หมายเหตุ : วันที่ออก Rk ในแต่ละอำเภอ  นอกจากจะดูคลินิกผู้สูงอายุแล้ว   รบกวนในวันที่จะชี้แจงแนวทางใช้งบกับพื้นที่ต้นแบบ ตามรายชื่อนี้ด้วย...นะครับ
ที่มา : รายชื่อสถานบริการกิจกรรม WP งบ PPA64. (2021). รายชื่อสถานบริการกิจกรรม WP งบ PPA64. Retrieved March 23, 2021,  http://docs.google.com/spreadsheets/d/15wuH3Yg0egMrEMCcuRiZnMeeni6N7-j_khnB0ziseE4/edit?usp=sharing

‌2.เกร็ดใช้งานโปรแกรม Aging Health Data
เราจะลบผู้สูงอายุที่เสียชีวิตแล้วออกจากระบบคัดกรองประเมินผู้สูงอายุ Aging Health Data ได้อย่างไร ?

ตอบ 🖌หากข้อมูลไม่เก่ามาก(นำเข้าภายในปีนี้) ให้ส่ง แฟ้ม death ไป update ประชากรได้ ที่อีเมล์ของแอดมินโปรแกรมระบบคัดกรองประเมินผู้สูงอายุ Aging Health Data  คืออีเมล์ agingdms.moph@gmail.com  โดยแจ้ง รหัสสถานพยาบาล ชื่อหน่วยงาน ตำบล อำเภอ จังหวัด และลงชื่อผู้สอบถาม กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ให้สอบถามผ่านอีเมล์ agingdms.moph@gmail.com ได้เลย

3. รายงาน Statement จาก ธ.ก.ส. (กองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) ประจำเดือนเมษายน 2564 รายตำบล

ที่มา : โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. (2018). Retrieved March 29, 2021, from Nhso.go.th website: https://obt.nhso.go.th/obt/ltc_statement_report?zonecode=10&provincecode=3300&districtcode=3305&month=3&budgetyear=2021

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

1. สำเนาหนังสือ จังหวัดศรีสะเกษ  เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมอบรมทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยสำหรับผู้ปฎิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ

      พร้อมนี้จังหวัดศรีสะเกษ ขอส่งสำเนาหนังสือ จังหวัดศรีสะเกษ ด่วนที่สุด ที่ ศก ๐๐๑๗.๒/ว๑๗๙๑ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมอบรมทักษะดิจิทัล แบบออนไลน์ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยสำหรับผู้ปฎิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ(Cybersecurity for Technologists in Government) รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ    

     หลักสูตร ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความปลอดภัยระบบสารสนเทศในยุคต่อไป (วันที่ 7 เม.ย. 2564 เวลา 14:00 น.) ลงทะเบียน : คลิก
     หลักสูตร การนำเทคโนโลยี AI และ ML มาประยุกต์ในการเฝ้าระวังและบริหารจัดการภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับภาครัฐ (วันที่ 21 เม.ย. 2564 เวลา 14:00 น.) ลงทะเบียน : คลิก

ที่มา : ที่ ศก 0017.2/ว1791 ลว 23 มี.ค. 2564 เรื่อง   ขอเชิญผู้สนใจอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการเขียน Mobile Application ด้วยโปรแกรม Flutter

2. สสจ.ศรีสะเกษ ขอเชิญผู้สนใจอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการเขียน Mobile Application ด้วยโปรแกรม Flutter

         ด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการเขียน Mobile Application ด้วยโปรแกรม Flutter ให้กับบุคลากรสาธารณสุขใน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ  หรือระบบ ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น smart hospital เป้าหมายผู้เข้าอบรมได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสสจ.ศรีสะเกษ จำนวน ๓๕ คน ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๙ เมษายน ๒๕๖๙ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

        ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ จึงขอเชิญเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่สนใจในการพัฒนา Mobile Application เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังกล่าว โดยสมัครเข้าร่วม อบรมได้ที่ ระบบลงทะเบียนฝึกอบรมเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ URL: http://203.157.165.13 /register/admin.php ภายในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ (ผู้เข้าร่วมอบรมต้องสามารถเข้าอบรมได้ตลอดหลักสูตร) โดยเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก จากต้นสังกัดฯ

ที่มา : ที่ 0032.011/ว1641 ลว 30 มี.ค. 2564 เรื่อง   ขอเชิญผู้สนใจอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการเขียน Mobile Application ด้วยโปรแกรม Flutter

3. สสอ.ขุขันธ์ โดย หน.งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยบนเวปไซต์ และเวปบล็อกเกอร์ของทุก รพ.สต.ในสังกัด สสอ.ขุขันธ์ จาก Http:// เป็น Https:// เพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น  และไม่ถูกดักอ่านข้อมูลได้ง่าย

เกี่ยวกับ HTTP

 แรกเริ่มเดิมที เมื่อเราเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผ่าน HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol โดย เราจะพิมพ์ HTTP:// ตามด้วยชื่อเว็บไซต์เช่น HTTP://google.com โดย HTTP ถือเป็น Protocol นึงที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ กับ เว็บไซต์ต่างๆ โดย HTTP มีการรับส่งข้อมูลในรูบแบบของ Plain Text กล่าวคือ เมื่อคุณทำการส่งข้อมูลใดๆ ก็ตามไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะข้อความ เช่น

ข้อมูลผู้ใช้ส่งข้อมูลที่ส่งในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต
ไม่เกิดการเข้ารหัส สามารถอ่านได้ง่าย
เซิร์ฟเวอร์รับข้อมูล
ABCDABCDABCD

ซึ่งมีข้อด้อยเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก สามารถทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถกระทำการดักอ่านข้อมูล บนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ระหว่างอุปกรณ์โครงข่ายได้ง่าย (Sniffer) ทำให้ข้อมูลอาทิ Username/Password หรือ ข้อมูลธรรมกรรมทางการเงินเกิดความไม่ปลอดภัย

เกี่ยวกับ HTTPS และ SSL

 ต่อมาจึงมีการพัฒนา SSL (Secure Socket Layer) ขึ้นมา หรือเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อให้เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ สามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งได้  ไม่ถูกปรับแก้ไข มีแหล่งที่มาต้นทางปลายทางอย่างถูกต้อง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่างการรับส่งกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใบรับรองความปลอดภัยนี้ถูกออกให้โดยหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ Certificate Authority (CA) โดยมีลักษณะการใช้งานคือ HTTPS:// หรือ Hypertext Transfer Protocol Secure  คือโปรโตคอลที่ทำการเข้ารหัสข้อมูลที่รับส่งระหว่างผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น  ไม่ถูกดักอ่านข้อมูลได้ง่าย

ข้อมูลผู้ใช้ส่งข้อมูลที่ส่งในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต
HTTPS , SSL Certificate
ถูกเข้ารหัส ไม่สามารถเปิดอ่านได้
เซิร์ฟเวอร์รับข้อมูล
ABCDdk'sajij1'bh[dsgabsadsa;kjABCD

 เราจึงเห็นว่าเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก มีการปรับมาใช้งาน HTTPS:// กันอย่างแพร่หลาย และ เบราเซอร์ต่างๆ ต่างให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้เว็บไซต์ทั่วโลกหันมาใช้งาน HTTPS กันเป็นจำนวนมาก

ข้อดีของการใช้งาน SSL Certificate และ HTTPS://

ด้านความปลอดภัย 
SSL นั้นช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือ การดักอ่านข้อมูลบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ข้อมูลที่รับส่งกันระหว่างผู้ใช้ กับเซิร์ฟเวอร์ หรือ ผู้ใช้กับแอปพลิเคชั่นต่างๆ เกิดความปลอดภัยมากขึ้น 

เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ผู้ใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ องค์กร หน่วยงาน ต่างให้ความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยของข้อมูลอินเตอร์เน็ต เป็นที่รับรู้กันอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่ใช้งาน HTTPS จึงได้รับความมั่นใจมากขึ้นว่าข้อมูลของพวกเขา อาทิ Username/Password ข้อมูลธรรมกรรมทางการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิส จะไม่ถูกดักจับข้อมูลระหว่างทาง (Sniffer) 

เป็นมิตรกับ Search Engine และอันดับการค้นหาที่ดีกว่า
ผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล หรือ Search Engine  ต่างให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุนการใช้งาน SSL และให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ Google , Bing ต่างให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่ใช้งาน HTTPS โดยมักจะได้รับการจัดอันดับความสำคัญการค้นหาที่ดีกว่าเว็บไซต์ HTTP ทั่วไป

เบราเซอร์ (Browser) แสดงเว็บไซต์ปลอดภัย

Reference : HTTPS ต่างจาก HTTP อย่างไร , SSL ช่วยให้เว็บไซต์น่าเชื่อถือได้อย่างไร. ไอเรียลลีโฮส - IREALLYHOST.com. Published 2021. Accessed March 27, 2021. https://www.ireallyhost.com/kb/ssl/366


4.กิจกรรมสมรรถนะ 2564 ดู 2เรื่อง

 ผลงานOne Pageสสอ.ขุขันธ์ 2563 คลิก
  เดือนละอย่างน้อย 2 เรื่องขึ้นไปโดยเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป  
 ตรวจสอบบริการPt.Dead / บริการล่วงหน้า รายรพ.สต. คลิก
แต่ละเดือนต้องเป็น 0  

ผลงานOne Pageสสอ.ขุขันธ์ 2563 ถึง ณ วันนี้ ดังนี้        
ตรวจสอบบริการPt.Dead / บริการล่วงหน้า รายรพ.สต. ถึง ณ วันนี้ ดังนี้

งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
1. ขอเชิญ ผอ.รพ.สต.ปราสาท และ รพ.สต.บ่อทอง ร่วมเป็นเกียรติ และจัดจนท.ประจำ รพ.สต.ร่วมคัดกรองโรคโควิด 19 ในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยพุทธศักราช 2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ณ โบราณสถานปราสาทตาเล็ง ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 50 คน รายละเอียดตามที่แจ้งในหนังสือที่แนบมาพร้อมนี้

ที่มา : ที่ วธ 0420/1446 ลว 1 เม.ย. 2564 เรื่อง แจ้งรายละเอียดการจัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔ 

สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  www.mueangkhukhanculturalcouncil.org

สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563
สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563

นายสุเพียร  คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ รักษาการแทน ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์(31 ธันวาคม 2563 - 15 เมษายน พ.ศ.2564)