"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2559 ออนไลน์(อ.สุเพียร)

งานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษและLTC
1. สรุปผลการดำเนินงานผู้สูงอายุ1ต.ค.58-20มิ.ย.59 เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานเสนอผู้ตรวจราชการ
           สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุระดับ รพ.สต.ทุกแห่ง สรุปผลการดำเนินงานถึง 1 ตค.58-20 มิย.59 รวบรวมส่ง สสอ.ขุขันธ์ เพื่อส่งต่อให้ สสจ.ศรีสะเกษ เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานเสนอผู้ตรวจราชการ ระหว่างวันที่ ๕ – ๗ กรกฎาคม  ๒๕๕๙ นี้  สำหรับ รพ.สต./หน่วยบริการที่ยังไม่ดำเนินการให้กรอกข้อมูลเข้ามาได้ภายในวันนี้ก่อนเที่ยง นะครับ (ส่งหลังวันที่กำหนดขออนุญาตลดคะแนน Ranking 2/2559 ตามส่วน และขออภัยเนื่องจากปรับรายงานที่ส่งมาใหม่ตามเขตสุขภาพที่ 10 รายงานเดิมมีข้อมูลไม่ครบ  ทั้งนี้รายงานผลงานตามจริง ในส่วนกิจกรรมไหนไม่ได้ดำเนินการขอให้ลง N/A -พี่โสพิณ สสจ.ศก.)
รายงานการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการคัดกรอง Geriatric Syndromes1ต.ค.58-20มิ.ย.59 คลิกที่นี่
(ที่ยังรายงานไม่ครบถ้วน ได้แก่ Cmu ห้วยเหนือ , รพ. สต. ใจดี , หนองคล้า และขนุน )

รายงานการคัดกรอง/ ประเมินผู้สูงอายุ ปี 2559  คลิกที่นี่
(ที่ยังรายงานไม่ครบถ้วน ได้แก่ Cmu ห้วยเหนือ , รพ. สต. ใจดี , หนองคล้า  และหัวเสือ )

การดำเนินงาน ADL อำเภอขุขันธ์ปี 2559 คลิกที่นี่ 
(ที่ยังรายงานไม่ครบถ้วน ได้แก่ Cmu ห้วยเหนือ , รพ. สต. ใจดี , หนองคล้า และหัวเสือ )

โรคที่เป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด..ศรีสะเกษ ปี 2559 คลิกที่นี่ 
(ที่ยังรายงานไม่ครบถ้วน ได้แก่ Cmu ห้วยเหนือ , รพ. สต. ใจดี  , หนองคล้า ,ทับทิมสยาม 06 และหัวเสือ )

การคัดกรองกลุ่มGeriatric syndromes อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559 คลิกที่นี่ 
(ที่ยังรายงานไม่ครบถ้วน ได้แก่ Cmu ห้วยเหนือ , รพ. สต. ใจดี , หนองคล้า , ขนุน ,ปรือคัน ,ทับทิมสยาม 06 และหัวเสือ )

หมายเหตุ
แบบกรอกคัดกรองผู้สูงอายุ สำหรับ รพ.สต. ปี 2559 ของกระทรวงฯล่าสุด คลิกที่นี่เพื่อโหลด 


2. ด้วย สสจ.ศรีสะเกษ กำหนดจัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2559 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุมลำดวนทองโรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ จึงขอความร่วมมือท่าน ผอ.รพ.สต.ในสังกัดฯทุกแห่ง แจ้งผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ และผู้รับผิดชอบงานผู้พิการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังมีรายชื่อด้านล่างนี้ เข้าร่วมเข้ารับการอบรม ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว ทั้งนี้ สสอ.ขุขันธ์ ได้ ส่งรายชื่อผู้เข้าอบรมไปที่อีเมล์ของผุ้รับผิดชอบงาน สสจ.ศรีสะเกษ เรียบร้อยแล้ว ที่อีเมล์ sopin_2007@hotmail.com เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559

ลำดับคำนำหน้าชื่อ - สกุลตำแหน่งชื่อสถานที่ทำงาน
1นายสุเพียร คำวงศ์จพ.สาธารณสุขชำนาญงานสสอ.ขุขันธ์
2นายวินิจ มนทองนักวิชาการสาธารณสุช ชำนาญการรพ.สต.วิทย์
3นายชยพล เสนาภักดิ์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.ขนุน
4น.ส.อนัญญา พันธ์ทองเจ้าพนักงานสาธารณสุขรพ.สต.อาวอย
5น.ส.สุจิตรา ชาติตะคุพยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการรพ.สต.นาก๊อก
6นางสิริพร ศรีอินทร์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.สมบูรณ์
7นายนะรา กุลวุฒินักวิชาการสาธารณสุขรพ.สต.กันจาน
8น.ส.รติยากร ชวดพงษ์เจ้าพนักงานสาธารณสุขรพ.สต.สำโรงตาเจ็น
9นางชนากานต์ นามโคตรจพ.สาธารณสุขปฏิบัติงานรพ.สต.บ่อทอง
10นางณัฎฐา ใชยมาศพยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการรพ.สต.หัวเสือ
11นางสร้อยฟ้า พรมงามพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.โนน
12นายเชียรชัย นอกไธสงนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.หนองคล้า
13นางกวิศรา สอนพูดพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.ตะเคียนบังอีง
14นางพัทยา ว้นสุดลพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.ตรอย
15นางเพ็ญทิวา สารบุตรนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.โคกเพชร
16นางรัชดาพร สอนพูดพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.นิคมซอยกลาง
17นางพีรภา จินดาวงษ์พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการรพ.สต.โคกโพน
18นางรัตนา วรสารพยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลขุขันธ์
19นางจันทรา มะลิพันธ์เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงานรพ.สต.ปรือใหญ่
20นายบริญญา รัตนพันธ์ผอ.รพ.สต.รพ.สต.ปราสาท
21น.ส.อภิรดี อินทรบุตรพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการรพ.สต.หนองลุง
22นางสุพิทยา โมฆะศิรินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.กฤษณา
23นายสมคิด อ่อนคำจพ.สาธารณสุขชำนาญงานรพ.สต.ปรือคัน
24น.ส.ภัทราวดี คำศรีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานรพ.สต.ใจดี
25นายรัฐธนินท์ บุญใสพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการรพ.สต.จะกง
26นางเขมจิรา วิลาวรรณจพ.สาธารณสุขปฏิบัติงานรพ.สต.ทับทิมสยาม06
27นางสุทิศา นิลเพชรพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.กวางขาว
28น.ส.นันท์นภัส ลีลานักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.คลองกลาง
29นายอิทธิกร เรืองอมรวิวัฒน์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.ตะเคียนช่างเหล็ก
30นางสมจันทร์ บัวเขียวพยาบาลวิชาชีพชำนาญการศสม.ห้วยเหนือ

3. ด้วย สสจ.ศรีสะเกษ กำหนดจัดอบรมโครงการพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุทางด้านกายและใจ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุส่งเสริมการเรียนรู้ และต่อยอดความรู้ ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายใจในชุมชน ในระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2559 เวลา 8.30- 16.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ สสจ.ศรีสะเกษ

      ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์  ขอความร่วมมือผอ.รพ.สต.วิทย์ อาวอย ตะเคียนบังอีง โคกเพชร นิคมซอยกลาง กวางขาว และCMU ห้วยเหนือ แจ้งผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของท่าน ดังมีรายชื่อข้างล่างนี้ เข้าร่วมอบรมพัฒนาทักษะผู้สูงอายุด้านกาย และใจเข้ารับการอบรมตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าว ทั้งนี้ สสอ.ขุขันธ์ ส่งรายชื่อผู้เข้าอบรมไปที่อีเมลของผู้รับผิดชอบงานสสจ.ศรีสะเกษ ที่อีเมล์ sopin_2007@hotmail.com เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ลำดับคำนำหน้าชื่อ - สกุลตำแหน่งชื่อสถานที่ทำงาน
1นายสุเพียร คำวงศ์จพ.สาธารณสุขชำนาญงานสสอ.ขุขันธ์
2นายวินิจ มนทองนักวิชาการสาธารณสุช ชำนาญการรพ.สต.วิทย์
3น.ส.อนัญญา พันธ์ทองเจ้าพนักงานสาธารณสุขรพ.สต.อาวอย
4นางกวิศรา สอนพูดพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.ตะเคียนบังอีง
5นางเพ็ญทิวา สารบุตรนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการรพ.สต.โคกเพชร
6นายอิทธิกร เรืองอมรวิวัฒน์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.ตะเคียนช่างเหล็ก
7นางรัตนา วรสารพยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลขุขันธ์
8นางสุทิศา นิลเพชรพยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.กวางขาว
9นางสมจันทร์ บัวเขียวพยาบาลวิชาชีพชำนาญการศสม.ห้วยเหนือ

งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ1. ด่วนที่สุด อำเภอขุขันธ์ ขอความร่วมมือดำเนินการสำรวจข้อมูลคนพิการที่ด้อยโอกาสที่จำเป็นต้องใช้รถเข็น หรือสามล้อโยก และรายงานให้อำเภอทราบภายในวันนี้13 กรกฎาคม 2558
คลิกที่นี่ เพื่อกรอกรายงาน https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSevAlrShs1_q7H7ZyflWEha1q55zI99QOS8TdU0z0ovYfzU5Q/viewform
คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบรายงาน
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1Dx3YQAed3QwXsrSyH6iCVYhL48TC458n-9ucrdzsx_Q/edit?usp=sharing


ที่มา : ที่ ศก 0418/ว 3847 ลง 11 ก.ค. 2559 เรื่อง ขอความร่วมมือสำรวจคนพิการที่ต้องการรถเข็นหรือสามล้อโยก

งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ ผอ.รพ.สต./จนท.ผู้เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันกรอกแบบสำรวจ รพ.สต.ในสังกัด สสอ.ขุขันธ์ ที่ประสงค์จะส่งต่อมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปี 2559 เสร็จครบทุกแห่ง(100%) https://docs.google.com/forms/d/12tTAatxQFxPotViGL3QJqdQa9pqd1_quLwxLDD6xRGU/viewform
      ตรวจสอบข้อมูลฯ​ที่ลิงก์นี้ 
https://docs.google.com/spreadsheets/d/13pTgjbS2pUQrZzfI2FFIR4OFPWT0P0xC4UMbDEPICfY/edit?usp=sharing
ที่มา: สสอ.ขุขันธ์ สั่งการในที่ประชุมประจำเดือน เมื่อ 6/7/2559

2. ด้วยจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยประจำปี 2559 ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง และทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่มั่นคงต่อการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายได้ตระหนักถึงปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้ และได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด สสอ.ขุขันธ์ จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยในวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ในหัวข้อเรื่อง "คัดแยกขยะที่ต้นทาง  ลดโรคร้าย  คลายโลกร้อน" โดยดำเนินการดังนี้ 
        1) จัดกิจกรรมรณรงค์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องพร้อมกันทั้งจังหวัด ในวันเวลา ดังกล่าวและดำเนินการ big cleaning day 
        2) สรุปผลการดำเนินงานพร้อมภาพกิจกรรมขึ้นบนเวป รพ.สต.ของท่าน หรือแชร์ส่งผ่าน facebook ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ เพื่อแชร์ต่อเพจวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยหรือ dachanee.m@gmail.com เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ ขอให้อำเภอแจ้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ผู้ประกอบการสถานบริการในพื้นที่ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยพร้อมเพียงกัน


          สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณ รพ.สต.บ่อทอง โดย ผอ.สมสนอง พันธ์จันทร์  ที่ได้ให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆในวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เริ่มจากการคัดแยกขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมในบ้าน/สถานที่ทำงาน ทำให้สถานที่ทำงานน่าอยู่ Healty Work Place นับเป็นแห่งแรกที่ได้ดำเนินการและส่งภาพถ่ายกิจกรรมเชิงประจักษ์มาในเฟส สสอ.ขุขันธ์ https://www.facebook.com/khukhanpublichealth และได้ถูกแชร์ต่อให้งานอนามัยสิ่งแวดล้อม สสจ.ศรีสะเกษ ที่ลิงก์ https://www.facebook.com/groups/422798607810479/ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
และขอบคุณ รพ.สต.ตะเคียนบังอีง โดย ผอ.วีระวัฒนื รัศมี ที่ให้ความสำคัญกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการร่วมรณรงค์ "คัดแยกขยะที่ต้นทาง  ลดโรคร้าย  คลายโลกร้อน" ในครั้งนี้ 

ที่มา: ที่ ศก 0032/ว.11802 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2559 เรื่อง ขอเชิญจัดกิจกรรมรณรงค์ในงาน"วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย" ประจำปี 2559

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. กระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้หน่วยบริการ สำรวจข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริง สามารถนำไปใช้ในการวางแผนจัดทำมาตรการ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพต่อไป จึงขอความร่วมมือ จากทุกหน่วยงานในสังกัดดำเนินการตอบแบบสำรวจข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 สำหรับทุกหน่วยงานสาธารณสุขในระดับ สสอ. และรพ.สต.ให้ดำเนินการทำแบบสำรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์และสารสนเทศกระทรวงสาธารณสุขได้ที่ http://survey.moph.go.th/public/  และปฏิบัติตามขั้นตอนคร่าวๆดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 2


ขั้นตอนที่ 3


ขั้นตอนที่ 4
ตรวจสอบหน่วยงานที่ส่งข้อมูลแล้ว คลิกที่นี่
สรุปข้อมูลคอมพิวเตอร์และไอที ภาพรวมจังหวัดศรีสะเกษ

2. ข้อมูลผู้รับผิดชอบงานไอทีประจำ รพ.สต.ในสังกัด สสอ.ขุขันธ์ ปี 2559 ขอบคุณคณะ จนท.รพ.สต.ทุกแห่งที่ให้ความร่วมมือด้วยดีเช่นเคย
 ตรวจสอบข้อมูลที่ลิงก์นี้  https://docs.google.com/spreadsheets/d/1Pe3_JcM_YWrdn5PK-T1jNnJM9GI_VE2YR1GJQB2XXkM/edit?usp=sharing

3. สสจ.ศรีสะเกษ ได้อัพโหลดมาตรฐานการจัดทำระบบข้อมูลสุขภาพของสถานพยาบาล พ.ศ. 2559 ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และอ้างอิง

ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมฯอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์


 ประกาศนายทะเบียนกลางสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ที่ ๕๓/๒๕๕๗ เรื่อง จดทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะหฺ์อาสาสมัครสาธารณสุขขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ในราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 230 เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒ ง  วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘)

ระเบียบ / กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับ อสม.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการ อสม.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการ อสม. พ.ศ.2552  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการ อสม. พ.ศ.2554 
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล อสม.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล พ.ศ.2543  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550+หนังสือรับรอง  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2553  
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2558 
หนังสือการเทียบตำแหน่ง อสม. เท่ากับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 3
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของ อสม. 
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของ อสม. โครงการ อสม.เชิงรุก ปี 2552  
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของ อสม. การจัดสรรเงินค่าป่วยการ อสม. ปี 2553 

วันที่ 15 มิถุนายน 2559 นี้ เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน( ASEAN Dengue Day)

          วันที่ 15 มิถุนายน 2559 นี้เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน  ซึ่งปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดงานภายใต้คำขวัญ "ประชารัฐร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก" โดยจะมีกิจกรรมและการรณรงค์เกิดขึ้นภายในวันที่ 14 และ 15 มิถุนายนนี้ ที่กรุงเทพมหานคร

วันไข้เลือดออกอาเซียน ( ASEAN Dengue Day )

              เนื่องมาจากทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างเผชิญกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกร่วมกัน ภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ที่จัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ.2010) ณ ประเทศสิงคโปร์ จึงได้มีข้อตกลงร่วมกันให้วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาคมอาเซียนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้แต่ละประเทศดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจริงจัง และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในนามของอาเซียน โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมคือ ในวันที่ 14 มิถุนายน จะมีการจัดประชุมโรคไข้เลือดออกสำหรับสมาชิกอาเซียนและประเทศผู้ให้การสนับสนุน เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและการป้องกันควบคุมโรคร่วมกัน และในวันที่ 15 มิถุนายน จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตามบริบทของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและชุมชนตระหนักรู้ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

การเป็นเจ้าภาพจัดงานวันไข้เลือดออกอาเซียนในนามกลุ่มประเทศอาเซียน

ครั้งที่ 1
จัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 (ค.ศ.2011) โดยมีคำขวัญว่า Dengue is everybody’s concerns, causing socio-economic burden but it’s preventable “โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ทุกคนตระหนักว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้” ในการจัดงานดังกล่าวได้เกิดข้อตกลงร่วมกันเรียกว่า “จาการ์ตา คอล ฟอร์ แอคชั่น 2011” (Jakarta call for action on combating Dengue 2012)”

ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ประเทศสหภาพเมียนมาร์ โดยมีคำขวัญว่า ASEAN Unity for Dengue-Free Community “อาเซียนร่วมใจ ปลอดภัยไข้เลือดออก” มีข้อตกลงร่วมกันเรียกว่า “ย่างกุ้ง คอล ฟอร์ แอคชั่น 2012” (Yangon call to Action 2012) โดยมีสาระสำคัญ คือ
1. เพิ่มศักยภาพในด้านการป้องกัน ได้แก่ การเฝ้าระวัง การควบคุมยุงพาหะ และการขับเคลื่อนทางสังคม
2. เพิ่มศักยภาพในการรักษา เน้นการวินิจฉัยและตรวจรักษาเร็ว 3. เพิ่มคุณภาพการวิจัย
4. พัฒนาและแลกเปลี่ยนนวัตกรรม โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม โดยใช้คำขวัญเดียวกับครั้งที่ 2 มีกิจกรรมการประชุมนานาชาติโรคไข้เลือดออกและจัดงานวันไข้เลือดออกอาเซียน โดยเป็นการติดตามการดำเนินงานตามข้อตกลงของจาการ์ตา และย่างกุ้ง รวมทั้งให้มีการนำเสนอบทเรียนที่ประสบความสำเร็จของแต่ละประเทศในอาเซียน โดยยังคงเน้นชุมชนปลอดไข้เลือดออกและการร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน

ครั้งที่ 4 จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีคำขวัญว่า ASEAN Unity and Harmony: Key in the Fight Against Dengue “อาเซียนพร้อมใจ สู้ภัยไข้เลือดออก”

ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีคำขวัญว่า Family Ownership Fighting DENGUE “ทุกครอบครัวร่วมใจ หยุดยั้งภัยไข้เลือดออก”

และใน ปี ค.ศ.2016 หรือ พ.ศ. 2559 นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงาน ภายใต้คำขวัญ Community Empowerment A Sustainable Success to Fight Dengue “ประชารัฐร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก” กำหนดให้มี “แบงคอก คอล ฟอร์ แอคชั่น” (Bangkok call for Action) หลังจากการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก

วัตถุประสงค์ของงานวันไข้เลือดออกอาเซียนครั้งที่ 6
• เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วนทั้งภูมิภาคอาเซียน

• เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน 

• เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในประเด็นต่างๆ ของทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาสังคม

             ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกมาร่วมงาน พร้อมทั้งตัวแทนจากนานาชาติที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานประชุมครั้งนี้

กิจกรรมในงานวันไข้เลือดออกอาเซียนครั้งที่ 6 (The 6th ASEAN Dengue Day) ร่วมกับองค์การอาเซียน (Association of Southeast Asia Nation Secretary) ประกอบด้วย

- การประชุมสมาชิกจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ และผู้บริหารในภูมิภาคเอเชีย และนานาชาติที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรม แชงกรี-ล่ากรุงเทพมหานคร 

- จัดกิจกรรมรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน โดยมีคำขวัญวันรณรงค์ ว่า Community Empowerment A Sustainable Success to Fight Dengue “ประชารัฐร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก” ในวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

               ประเทศไทยมีความโดดเด่นในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ทำอย่างจริงจังทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งมีกิจกรรมการดำเนินงานที่หลากหลาย นอกจากนี้ผลงานวิจัยเกี่ยวกับไข้เลือดออก เรื่องการศึกษาซีโรไทป์ (Serotype) และภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ก็ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก

               กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ประสบความสำเร็จชัดเจน คือ การลดอัตราป่วย-ตายที่ปัจจุบันสามารถพัฒนามาตรฐานการรักษาจนมีอัตราป่วย-ตายไม่เกินร้อยละ 0.1 ของผู้ป่วยในอัตราสูงในแต่ละปี โดยผลสำเร็จจากการประชุมครั้งนี้จักได้นำองค์ความรู้ไปเป็นข้อมูลประกอบสำหรับจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก พ.ศ.2560- 2564 ต่อไป

ที่มา : ASEAN Dengue Day Thailand https://www.facebook.com/aseandenguedaythailand/info/?tab=page_info






ถือเป็นวันมงคลของประเทศไทยที่จะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทำงานหนักเพื่อประชาชนให้ได้อยู่เย็นเป็นสุข และพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ และพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง อยู่เป็นมิ่งขวัญชาวไทยตลอดไป

วาระการประชุมประจำเดือนเดือนมิถุนายน 2559 (ฤทธาธร ดอกพอง)

. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย  ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ – ๑๖  พฤษภาคม  ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วยจำนวน  ๑๗,๑๗๐ ราย  อัตราป่วย  ๒๖.๒๔ ต่อแสนประชากร  ผู้ป่วยเสียชีวิต ๑๔ ราย คิดเป็นอัตราตาย ๐.๐๒   ตอแสนประชากร  สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง  ๑: .๙๗  เกิดได้ในทุกกลุ่มอายุป่วยมากสุดคือ ๑๕-๒๔ ปี   (๒๕.๒๑ %) รองลงมา  คือ  ๑๐-๑๔ ปี (๑๗.๒๕ %) และ๒๕-๓๔ ปี(๑๕.๘๒%) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร  ๕ อันดับแรก คือ  กรุงเทพมหานคร  (๖๑.๔๘) ระยอง (๕๖.๙๒) ภูเก็ต (๔๘.๖๓)  สมุทรสาคร (๔๖.๔๑)  และ ตราด (๔๕.๓๖)  
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดศรีสะเกษ  จาก ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มีผู้ป่วย
๕๗๒ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย ๓๙
.๐๔ ต่อแสนประชากร  เป็นอันดับที่ ๘ ของจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด  ผู้ป่วยเสียชีวิต
๒ ราย  ที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอวังหิน อำเภอละ ๑ ราย  อัตราตาย ๐
.๑๔ ต่อประชากรแสนคน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ๕ อันดับแรก ได้แก่ อำเภอกันทร
ลักษ์ (๖๑.๓๑)รองลงมาคือ อำเภอขุนหาญ (๕๖.๑๘)  อำเภอปรางค์กู่ (๕๒.๙๓)  อำเภอราษีไศล (๕๐.๕๖)  และอำเภอกันรารมย์ (๔๙.๙๗)
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดศรีสะเกษดังกล่าว กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์โรคและนำเสนอต่อผู้บริหารทุกสัปดาห์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษและนายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน  ได้ติดตามผลการควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยหลายราย จำนวน ๔ ครั้ง ๗ หมู่บ้าน วัด๕ แห่ง โรงเรียน ๓ แห่ง  พบว่ามีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำสูงเกินเกณฑ์(เกณฑ์ค่าHI<๑๐) ทั้งในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน
ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประชาชนยังขาดแคลนน้ำจึงไม่สามารถขัดล้างภาชนะเก็บน้ำได้  แต่ในขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ทำให้มีภาชนะเก็บน้ำจำนวนมากขึ้น รวมทั้งมีภาชนะขังน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น กาบใบไม้ กอไผ่ เป็นต้น
ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จึงขอความร่วมมือรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ในระหว่างวันที่ ๑ – ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ และวันไข้เลือดออกอาเซียน วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙  ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อม และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีก็สามารถทำได้ เช่น การขัดล้างภาชนะเก็บน้ำทุกสัปดาห์ การปิดฝาโอ่งให้มิดชิดหรือการปล่อยปลายกินลูกน้ำ เป็นต้น และขอความร่วมมือนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการดำเนินงานและกระตุ้นให้ประชาชนดูแลบ้านเรือนตนเองไม่ให้มีลูกน้ำ  
       
. สถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERSหรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS)
          องค์การอนามัยโลก (
WHO: World Health Organization)  รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรค  ทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด ๒๗ ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน ๑,๗๓๓  ราย เสียชีวิต ๖๒๘ ราย
สถานการณ์ในประเทศไทย  เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙ กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ รายที่ ๒ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นชายชาวโอมาน อายุ ๗๑ ปี   และวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ นายแพทย์โสภณ  เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจ้งผลการรักษาว่าผู้ป่วยหายเป็นปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อไวรัสเมอร์ส ๒ ครั้ง         จากห้องปฏิบัติการอ้างอิง ๓ แห่ง ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก พร้อมประสานสถานทูต เพื่อรับส่งผู้ป่วยกลับประเทศ  ส่วนญาติผู้ป่วยที่รับตัวไว้สังเกตอาการ อาการปกติดี ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเมอร์ส ได้เดินทางกลับไปพร้อมกัน ในส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรายอื่นๆ กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามอาการภายหลังกลับบ้าน   ทุกคนสบายดี   
ประเทศไทย ยังมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่จะพบโรคเมอร์ส รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้เสมอ จากการที่มีผู้เดินทางเข้า-ออกจากประเทศ จึงต้องมีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น โดยตรวจคัดกรองผู้เดินทางจากพื้นที่ติดโรค ที่ช่องทางเข้าออกประเทศ ในโรงพยาบาล และในชุมชน ต้องยกระดับมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น

. การเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
องค์การอนามัยโลก เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๑๑ พฤษภาคม  ๒๕๕๙  พบ
ผู้ป่วยสะสมรวม ๒๘,๖๕๒ ราย  เสียชีวิต ๑๑,๓๒๕ ราย  เกิดการระบาดเป็นวงกว้างใน  ๓  ประเทศ  ได้แก่ กินี (ป่วยสะสม ๓,๘๑๔ ราย,เสียชีวิต ๒,๕๔๘ ราย ,ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ๘  รายไลบีเรีย(ป่วย ๑๐,๖๗๘ ราย,เสียชีวิต ๔,๘๑๐ ราย, ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ๔ ราย)เซียร์ราลีโอน (ป่วย ๑๔,๑๒๔ ราย,เสียชีวิต ๓,๙๕๖ ราย, ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ       ราย)  องค์การอนามัยโลกประกาศให้ประเทศไลบีเรีย เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ประกาศให้สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘  และประกาศให้สาธารณรัฐกินีเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘  หลังจากนั้นได้มีรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มเติม๓๖ ราย เสียชีวิต ๑๕ ราย และประเทศที่มีการระบาดในพื้นที่จำกัด ได้แก่  ไนจีเรีย เซเนกัล สหรัฐอเมริกา สเปน มาลี อิตาลี และสหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยสะสม ๓๖ ราย เสียชีวิต ๑๕ ราย
          การเฝ้าระวังหากพบ  ผู้มีอาการไข้มากกว่า  ๓๘ องศาเซลเซียส  ที่เดินทางกลับมาจาก ๓ ประเทศหลัก  ได้แก่  กินี ไลบีเรีย เซียร์รารีโอล สามารถโทรแจ้งได้ที่ ๐๔๕-๖๑๕๙๗๒ ในเวลาราชการและ๐๘๒-๑๓๗๒๗๙๓ นอกเวลาราชการ หากค้นพบเจอจะได้ให้การรักษา  ที่ถูกต้อง  รวมถึงการควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดของโรคสู่บุคคลอื่น

          . สถานการณ์โรคอุจาระร่วง 
 สถานการณ์โรคโรคอุจาระร่วงประเทศไทย  ตั้งแต่ ๑ มกราคม – ถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙    พบผู้ป่วย ๔๑๔,๖๐๙ ราย จาก๗๗ จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย ๖๓๓.๗๐ ต่อแสนประชากร  ผู้ป่วยเสียชีวิต  จำนวน ๒ ราย  สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ๑: .๒๘ กลุ่มอายุที่พบ มากที่สุด คือมากกว่า ๖๕  ปี (๑๒.๗๐ %)  รองลงมาคือ  ๑๕-๒๔ ปี (๑๐.๙๐%) ๒๕-๓๔ ปั (๑๐.๐๓%)  สถานการณ์ โรคอุจาระร่วงจังหวัดศรีสะเกษ  
-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วยโรคอุจาระร่วง    จำนวนทั้งสิ้น ๑๑,๑๓๔ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย  ๗๕๙.๙๐  ต่อประชากรแสนคน  ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต   กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๐ - ๔  ปี  (๔,๔๔๔.๖๒ ต่อแสนประชากร) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ ๕–๙  ปี (๑๑๙๘.๔๖ ต่อแสนประชากร), ๖๕ ปี ขึ้นไป (๑๐๔๙.๕๘ ต่อแสนประชากร)  อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุด  ๕  อันดับแรก ได้แก่ ขุนหาญ ๑,๔๘๔.๑๐ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอขุขันธ์ ๑,๑๘๕.๒๑   ต่อประชากรแสนคน ,อำเภอเบญจลักษ์  ๑,๐๙๘.๓๙ ต่อประชากรแสนคน, อำเภอเมืองจันทร์  ๑,๐๕๐.๐๖ ต่อประชากรแสนคน , และอำเภอภูสิงห์  ๑,๐๑๘.๓๘ ต่อประชากรแสนคน  
อากาศช่วงนี้เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่แมลงภาหะนำโรคมีอาหารและแพร่พันธุ์ได้จำนวนมาก  เสี่ยงต่อการระบาดของโรคอุจาระร่วง  ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จึงขอความร่วมมือจากท่านผู้นำชุมชน และหัวหน้าส่วนราชการ  ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการใช้มาตรการ กินร้อน  ช้อนกลาง ล้างมือ  เพื่อลดการติดเชื้อหรือสัมผัสกับอาหารที่อาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคได้  อันจะเป็นป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยและจำกัดการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 
๕. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส
สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสประเทศไทยตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙– ถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๕๕๖ ราย จาก ๔๔ จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย ๐.๘๕  ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต ๕ ราย อัตราตาย ๐.๐๑ต่อแสนประชากร สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ๑ :.๒๙ กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ
๔๕
-๕๔ ป (๒๑.๐๔ %) ๓๕-๔๔ ป (๑๙.๐๖ %)  ๒๕-๓๔ ป (๑๗.๔๕ %)
            สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสจังหวัดศรีสะเกษ  ๑ มกราคม ๒๕๕๙
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙  มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส  จำนวนทั้งสิ้น  ๘๒ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   ๕.๖๐  ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต  ๓  ราย ที่อำเภอขุขันธ์ ๒ ราย ที่อำเภอไพรบึง ๑ ราย อัตราป่วยตาย ๐.๒๐ ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๔๕–๕๔ ปี (๑๑.๒๙ ต่อประชากรแสนคน)  รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  ๕๕ – ๖๔  ปี (๘.๐๑ ต่อประชากรแสนคน)  , ๓๕-๔๔ ปี  (๗.๙๕ ต่อประชากรแสนคน)    อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือเกษตร  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  ๕๕  ราย  รองลงมาคือ อาชีพในปกครอง  จำนวนผู้ป่วย ๕  ราย, อาชีพบุคลากรสาธารณสุข  ๕  ราย และอาชีพอื่นๆ ๔  อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุด  ๕  อันดับแรก ได้แก่  อำเภอขุขันธ์  ๑๕.๓๑  ต่อประชากรแสนคน  รองลงมาคือ
อำเภอศรีรัตนะ๑๓.๒๔ ต่อประชากรแสนคน,อำเภอปรางค์กู่ ๑๓.๒๓ ต่อประชากรแสนคน, อำเภอภูสิงห์ ๑๑.๒๗ ต่อประชากรแสนคน  และอำเภอไพรบึง ๑๐.๓๘ ต่อประชากรแสนคน
จากข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าอาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่อาชีพเกษตรกรรม และมีอายุมาก  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงตามวัย  เชื้อก่อโรคได้อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและแหล่งน้ำในธรรมชาติ  ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์  มีความจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  เน้นให้ประชาชนให้มีความรู้ และปฏิบัติตัวเพื่อลดการติดเชื้อ เน้นหลังจากดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร  ที่สัมผัสแหล่งน้ำในธรรมชาติ แล้วให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที  หน่วยบริการในพื้นที่ใช้เครื่องมือในการคัดกรองผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรซีส  เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการ  ตรวจพบและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยได้ในระยะยาว  
          
๖. งานระบาดวิทยา   
.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ ๑ –๒๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๙  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๑๐ อันดับแรก  ได้แก่
ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  โรคอุจจาระร่วง ปอดบวม ตาแดง อาหารเป็นพิษ
STD(Sexual  Transmitted  Disease)   สุกใส  ไข้เลือดออก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตามลำดับ การส่งรายงาน ๕๐๖ ในเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๙ ภาพรวมทั้งหมดมีการส่งรายงาน ๓,๖๔๐ ราย ส่งทันเวลา  ๓,๓๐๓    ความทันเวลาร้อยละ ๙๐.๗๔ จำแนกเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีรายงานผู้ป่วย  ๑๙๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๗  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งหมด ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๙๗๓ มีความทันเวลาร้อยละ  ๙๘.๗๐ และโรงพยาบาลที่มีรายงานผู้ป่วย
๒๓ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐
.๐๐  ของโรงพยาบาลทั้งหมด ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๒,๕๑๐ มีความทันเวลาร้อยละ  ๘๘.๘๐

          .๒  ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค  ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาดวิทยา  ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม r๕๐๖  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ ๑๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙  มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น  ๓๖ ราย ใน ๑๑  อำเภอ มี ๓ โรค ๔ รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง ๕๐๖ ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือไข้เลือดออก จำนวน ๑๙  ราย  จำแนกเป็น Dengue fever  จำนวน  ๑๗ ราย   D.H.F.  จำนวน  ๒  ราย  รองลงมาคือ leptospirosis จำนวน  ๑๒  ราย  และมาลาเรีย จำนวน  ๕  ราย 
ดังนั้นขอให้ SRRT  แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรคส่งสำนักงานสาธาณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน