"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

ระเบียบวาระการประชุม คร. 5 ต.ค.2559

 ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่  5 ตุลาคม ๒๕๕๙
ณ ห้องประชุมศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 
                                                                                                 
********** ¯ ***********
. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทยขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ ๑ มค. ๒๕๕๙ - ๑๙ กย. ๒๕๕๙ พบผูปวย ๔๒,๖๗๐ราย จาก ๗๗ จังหวัด  คิดเปนอัตราปวย ๖๕.๒๒ ตอแสนประชากร  เสียชีวิต  ๓๓  ราย
คิดเปนอัตราตาย ๐.๐๕ ตอแสนประชากร อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง ๑: ๐.๙๘ กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ ๑๕-๒๔ ป (๒๔.๘๒ %) ๑๐-๑๔ ป (๑๗.๒๐ %) ๒๕-๓๔ ป (๑๕.๖๒ %)  สัญชาติเปนไทย
รอยละ ๙๗.๒ พมารอยละ ๑.๔ อื่นๆรอยละ ๐.๙ กัมพูชารอยละ ๐.๒ ลาวรอยละ ๐.๒ จีน/ฮองกง/ไตหวัน
รอยละ ๐.๑ อาชีพ สวนใหญ นักเรียนรอยละ ๔๒.๕ รับจางรอยละ ๑๙.๑ ไมทราบอาชีพ/ในปกครองรอยละ ๑๘.๘
จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด ๕ อันดับ แรกคือ แมฮองสอน (๒๘๖.๒๔ ตอแสนประชากร) เชียงใหม (๒๒๔.๕๑ ตอแสนประชากร) สงขลา (๑๓๖.๔๙  ตอแสนประชากร) บึงกาฬ  ( ๑๓๔.๑๗  ตอแสน
ประชากร) พัทลุง (๑๒๘.๖๕ ตอแสนประชากร)
 ภาคที่มีอัตราปวยสูงสุด คือ ภาคเหนือ ๘๗.๔๖ ตอแสน ประชากร ภาคใต ๘๓.๔๕ ตอแสนประชากร ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ๕๖.๑๒ ตอแสนประชากร ภาคกลาง ๕๔.๖๗ ตอแสน ประชากรตามลําดับ

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัด ศรีสะเกษ  ระหว่างวันที่  ๑ มกราคม ๒๕๕๙  ถึงวันที่  ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙  พบผู้ป่วย     ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค  ไข้เลือดออกรวม(๒๖,๒๗,๖๖)  จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๑๐ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   ๖๘.๙๓  ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต ๒  ราย   อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ    ๐.๑๔   อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ  ๐.๒๐ เป็นลำดับที่  ๘ ของจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด  ผู้ป่วยเสียชีวิต  ๒ ราย ที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอวังหิน อำเภอละ ๑ ราย  อัตราส่วนเพศชาย ต่อ
เพศหญิง  เท่ากับ ๑.๑๖ : ๑
  กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๑๐ - ๑๔  ปี  (๒๒๗.๐๔  ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ    ๕ - ๙  ปี  (๒๒๕.๘  ต่อแสนประชากร) , กลุ่มอายุ ๑๕ - ๒๔  ปี (๑๑๙.๗  ต่อแสนประชากร) , กลุ่มอายุ  ๐ - ๔  ปี (๖๖.๕๓  ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ ๒๕ - ๓๔  ปี (๔๓.๒๗  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  นักเรียน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  ๔๙๑  ราย  รองลงมาคือ   เกษตร (๑๘๙  ราย) ,  ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (๑๑๒  ราย) , บุคลากรสาธารณสุข (๙๗  ราย) และอื่นๆ (๕๖  ราย)
อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  ๕ อันดับแรก  คือ  อำเภอปรางค์กู่ อัตราป่วย  ๑๐๒.๙๑  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอขุนหาญ  (๙๗.๓๘  ต่อแสนประชากร) , อำเภอเบญจลักษ์  (๙๔.๙๒  ต่อแสนประชากร) , อำเภอบึงบูรพ์  (๙๓.๓๘  ต่อแสนประชากร) และอำเภอกันทรลักษ์  (๘๙.๒๓  ต่อแสนประชากร)
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดศรีสะเกษดังกล่าว  จังหวัดศรีสะเกษได้จัดกิจกรรมรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียนแล้ว  ได้มีการกำกับติดตามการดำเนินงานควบคุมโรคในพื้นที่  พบสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วนคือการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมไข้เลือดออกแบบจริงจังจากทุกภาคส่วน  เพราะเป็นปัญหาของจังหวัดศรีสะเกษ  ถึงแม้จะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข แต่ผลของปัญหาก็กระทบด้านอื่นๆ อย่างมาก
ข้อมูลผู้ป่วยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก จะพบว่าจังหวัดศรีสะเกษมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นกว่า
ทุกเดือนในปี ๒๕๕๙
  จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างเข้มข้นเพราะเข้าสู่ฤดูฝน  สภาพภูมิอากาศเหมาะกับการแพร่พันธุ์ของยุงลาย  จึงมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกอีก  จากการสุ่มประเมินค่าดัชนีความชุกลูกน้ำจำนวน ๒๒ พบหมู่บ้านที่มีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำเกินเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๒๗ ของหมู่บ้านที่สำรวจ และยังพบว่ามีลูกน้ำยุงลายในภาชนะเก็บน้ำใช้ และในห้องน้ำ ของประชาชน ซึ่งแสดงถึงการขาดความร่วมมือของประชาชน บางครัวเรือน ในกิจกรรมการเฝ้าระวังควบคุมโรค  
ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จึงขอความร่วมมือทุกหน่วยงานรวมทั้งประชาชน ร่วมมือกัน  ดูแลสภาพแวดล้อม และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง  ลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ชุมชน ทำให้ วัด โรงเรียนและหน่วยงานปลอดลูกน้ำยุงลาย และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ส่งผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  








       
. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา        
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ไม่ได้เป็นเชื้อใหม่และในไทยพบผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่ปี๒๕๕๕ จนถึงปี ๒๕๕๘ เฉลี่ยพบประมาณ ๒ - ๕ ราย  การตรวจพบผู้ป่วยในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการมีระบบ เฝ้าระวังที่ดีและเข้มแข็ง
ผู้ป่วยจะอาการไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย โดยทั่วไปจะมีอาการป่วย ประมาณ ๑ สัปดาห์  ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่จะมีผลกระทบมากในกลุ่มของหญิงตั้งครรภ์ ที่หากเป็นไข้ดังกล่าวแล้ว จะส่งผลกระทบทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก แต่ยังไม่เคยพบปัญหาทารกศีรษะเล็กเพราะมารดาป่วยโรค ซิกาในไทย
ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในจังหวัดศรีสะเกษนอกจาก การจัดทำความสะอาดจังหวัดศรีสะเกษครั้งใหญ่แล้ว ทางด้านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ยังได้จัดประชุมให้ความรู้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ  เตรียมความพร้อมของสถานบริการสาธารณสุข เตรียมบุคลากรที่จะคอยเฝ้าระวัง คัดกรองประชาชนที่เดินทางมาจากประเทศพื้นที่เสี่ยง นอกจากนั้นยังอบรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ สามารถแนะนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้เข้ามารับบริการได้ทันท่วงที โดยกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ ๒ ฉบับ คือ
ฉบับที่  ๑.ประกาศเรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ โดยระบุว่า อาการสำคัญ ได้แก่ มีอาการไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย โดยทั่วไปจะมีอาการป่วย ประมาณ ๑ สัปดาห์และ
ฉบับที่  ๒.ประกาศเรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้อง แจ้งความ พร้อมแถลงมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เน้นการดูแลใน ๔ ระบบ ได้แก่
.เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
.เฝ้า ระวังทาง กีฏวิทยา
.เฝ้าระวังทารกแรกเกิด และ
.เฝ้าระวังกลุ่มอาการทางประสาท
รวมถึงการเตรียมทีมสอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว หากพบประชาชนมีอาการป่วยที่เข้าได้กับโรคซิกาเป็นกลุ่มก้อน ก็จะให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมทันที
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ

ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำประชาชน ดังนี้
. แนะนำให้ประชาชนจึงอย่าได้ตื่นตระหนก การกำจัดต้นเหตุของ โรค เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาได้  เพราะมีพาหะคือยุงลายเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คน  นอกจากนี้แล้วการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ยังสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ได้อีกด้วย
. แนะนำให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก ๓เก็บ ได้แก่
.เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง
.เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆบ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด
    ฝัง เผา หรือ ทำลาย และ
.เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่าง  
    ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น และป้องกันไม่ให้ ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศ ที่มีการระบาด รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ ต้องรีบเข้ารับการรักษา จากแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค ๑๔๒๒
กรมควบคุมโรค คณะกรรมการด้านวิชาการ ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ได้มีการประชุมพิจารณาผลการตรวจสอบ ว่า ทารกศีรษะเล็กมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสซิกาหรือไม่ โดยภายหลังการประชุมเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวว่า จากการพิจารณาข้อมูลทั้งหมด คณะกรรมการลงมติว่า ทารกศีรษะเล็กที่เกิดจากเชื้อซิกามีจำนวน 2 ราย โดยรายแรก ตรวจน้ำเหลืองด้วยวิธีตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (IgM) เป็นบวก โดยติดเชื้อจากมารดา ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ และรายที่สอง ตรวจปัสสาวะด้วยวิธีพีซีอาร์ให้ผลเป็นบวก ซึ่งติดจากมารดาเช่นกัน เพราะมารดามีอาการออกผื่น สำหรับทารกศีรษะเล็ก


          . สถานการณ์โรคมือเท้าปาก 
 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทยขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ ๑ มค. ๒๕๕๙ - ๑๙ กย. ๕๙ พบผูปวย ๖๔,๒๑๖ ราย จาก ๗๗ จังหวัด คิดเปนอัตราปวย ๙๘.๑๕ ตอแสนประชากร เสียชีวิต ๒ ราย
อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง ๑: ๐.๗๓ กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ ๑ ป (๒๖.๙๓ %) ๒ ป (๒๔.๘๕ %) ๓ ป (๑๙.๑๐ %) สัญชาติเปนไทยรอยละ ๙๘.๒ อื่นๆรอยละ ๐.๙ พมารอยละ ๐.๖ กัมพูชารอยละ ๐.๑ ลาวรอยละ ๐.๑ จีน/ ฮองกง/ไตหวันรอยละ ๐.๐ มาเลเซียรอยละ ๐.๐ เวียดนามรอยละ ๐.๐ อาชีพ
สวนใหญ ไมทราบอาชีพ/ในปกครองรอยละ ๘๗.๘ นักเรียน รอยละ ๑๐.๕ อื่นๆรอยละ ๑.๑ จังหวัดที่มีอัตรา
ปวยตอแสนประชากรสูงสุด ๕ อันดับแรกคือ สระบุรี(๒๖๐.๕๕ ตอแสนประชากร) ระยอง (๒๓๕.๔๔ ตอแสน
ประชากร) เชียงราย (๒๓๓.๑๐ ตอแสนประชากร) นาน (๒๓๑.๓๗ ตอแสนประชากร) นครสวรรค(๒๐๗.๙๕
ตอแสนประชากร) ภาคที่มีอัตราปวยสูงสุด คือ ภาคเหนือ ๑๖๔.๕๕ ตอแสน ประชากร ภาคกลาง ๑๑๒.๖๒
ตอแสนประชากร ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ๖๖.๘๙ ตอแสนประชากร ภาคใต ๕๑.๒๘ ตอแสนประชากรตามลําดับ
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัด ศรีสะเกษ  ระหว่างวันที่  ๑ มกราคม ๒๕๕๙  ถึงวันที่  ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙  พบผู้ป่วยโรค  Hand,foot and mouth disease  จำนวนทั้งสิ้น ๙๙๓ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   ๖๗.๗๗  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต  อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง  เท่ากับ ๑.๕๒ : ๑  กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ  ๐ - ๔  ปี (๑๐๗๒.๔๔  ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ    ๕ - ๙  ปี  (๔๓.๔๒  ต่อแสนประชากร) , กลุ่มอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี (๙.๒  ต่อแสนประชากร),กลุ่มอายุ ๑๕ - ๒๔  ปี (๓.๙๘  ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ ๒๕ - ๓๔  ปี (๐  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  ๙๔๒  ราย  รองลงมาคือ   นักเรียน (๔๑  ราย) , บุคลากรสาธารณสุข (๖  ราย) , อื่นๆ (๓  ราย) และข้าราชการ (๑  ราย) 
อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  ๕ อันดับแรก  คือ  อำเภอโนนคูณอัตราป่วย  ๑๘๖.๒๓  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอขุนหาญ  (๑๔๒.๓๒  ต่อแสนประชากร) , อำเภอเบญจลักษ์  (๑๒๔.๗๖  ต่อแสนประชากร) , อำเภอบึงบูรพ์  (๑๒๑.๓๙  ต่อแสนประชากร) และอำเภอศิลาลาด  (๑๑๓.๒๒  ต่อแสนประชากร)  
จากข้อมูลผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นและส่วนใหญ่เป็นเด็กโดยเฉพาะเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยมากขึ้น  ควรดำเนินการให้เกิดความร่วมมือของครูพี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครองในการคัดกรองอาการเด็กหากมีอาการป่วยหรือสงสัย ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและเน้นความสะอาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

๔. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทยขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ ๑ มค. ๒๕๕๙ - ๑๘ กย.๒๕๕๙ พบผูปวย ๑,๓๐๕ ราย จาก ๖๑ จังหวัด คิดเปนอัตราปวย ๑.๙๙ ตอแสนประชากร เสียชีวิต ๒๒ ราย คิดเปน
อัตราตาย ๐.๐๓ ตอแสนประชากร  อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง ๑: ๐.๒๗ กลุมอายุที่พบมากที่สุด
เรียงตามลําดับ คือ ๔๕-๕๔ ป
(๑๙.๖๙ %) ๓๕-๔๔ ป (๑๘.๙๓ %) ๕๕-๖๔ ป (๑๖.๗๘ %) สัญชาติเปนไทย
รอยละ ๙๘.๘ พมารอยละ ๑.๑ อื่นๆ รอยละ ๐.๑ อาชีพสวนใหญ เกษตรรอยละ ๔๙.๓ รับจางรอยละ ๒๐.๒ นักเรียน รอยละ ๑๐.๗ จังหวัด  ที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด ๕ อันดับแรก คือ ระนอง (๒๑.๓๙ ตอ
แสนประชากร) ศรีสะเกษ (๑๓.๙๗  ตอ แสนประชากร) พัทลุง (๙.๒๐ ตอแสนประชากร) นครศรี ธรรมราช (๗.๗๔ ตอแสนประชากร) กาฬสินธุ(๗.๑๑ ตอแสน ประชากร) ภาคที่มีอัตราปวยสูงสุด คือภาคใต ๔.๗๕ ตอแสน ประชากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓.๑๒ ตอแสนประชากร ภาคเหนือ ๑.๓๔ ตอแสนประชากร ภาคกลาง ๐.๑๑ ตอแสนประชากรตามลําดับ
สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสจังหวัดศรีสะเกษ  ระหว่างวันที่  ๑ มกราคม ๒๕๕๙  ถึงวันที่  ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙  พบผู้ป่วยโรค  Leptospirosis  จำนวนทั้งสิ้น ๑๘๖ รายคิดเป็นอัตราป่วย ๑๒.๖๙ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต ๖  ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ ๐.๔๑ อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ  ๓.๒๓ อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง  เท่ากับ ๕.๖๔ : ๑  กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ
๔๕ - ๕๔ ปี (๕๔ ต่อแสนประชากร)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ ๕๕ - ๖๔  ปี (๔๐ ต่อแสนประชากร)
, กลุ่มอายุ ๓๕ - ๔๔  ปี (๓๙  ต่อแสนประชากร),กลุ่มอายุ ๑๕ - ๒๔ ปี (๒๒ ต่อแสนประชากร) และกลุ่มอายุ ๒๕ - ๓๔  ปี (๑๙  ต่อแสนประชากร)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  เกษตร  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  ๑๔๓  ราย  รองลงมาคือ  ข้าราชการ (๑๓  ราย) , บุคลากรสาธารณสุข (๑๐  ราย) , นักเรียน (๙  ราย) และรับจ้าง,กรรมกร (๔  ราย)
อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  ๕ อันดับแรก  คือ  อำเภอปรางค์กู่อัตราป่วย  ๒๔.๙๙  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอขุขันธ์  (๒๔.๖๔  ต่อแสนประชากร) , อำเภออุทุมพรพิสัย  (๒๑.๔๖  ต่อแสนประชากร) , อำเภอขุนหาญ  (๒๐.๖  ต่อแสนประชากร) และอำเภอห้วยทับทัน  (๑๙.๐๔  ต่อแสนประชากร) 
จากข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าอาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่อาชีพเกษตรกรรม และมีอายุมาก  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงตามวัย  เชื้อก่อโรคได้อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและแหล่งน้ำในธรรมชาติ   ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์  มีความจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวัง  ประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  เน้นให้ประชาชนให้มีความรู้ และปฏิบัติตัวเพื่อลดการติดเชื้อ เน้นหลังจากดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร  ที่สัมผัสแหล่งน้ำในธรรมชาติ แล้วให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที  หน่วยบริการในพื้นที่ใช้เครื่องมือในการ  คัดกรองผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรซีส  เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการตรวจพบ  และให้การรักษาอย่างทันท่วงที เป็นการลดจำนวนผู้ป่วยได้ในระยะยาว  
          



๕. งานระบาดวิทยา   
.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ ๑ –๒๒ กันยายน  ๒๕๕๙  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๑๐ อันดับแรก  ได้แก่
ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  โรคอุจจาระร่วง  ปอดบวม  ตาแดง  อาหารเป็นพิษ    
STD(Sexual  Transmitted  Disease)   สุกใส  ไข้เลือดออก    มือเท้าปากและโรคไข้หวัดใหญ่ ตามลำดับ  การส่งรายงาน ๕๐๖ ในเดือน  กันยายน ๒๕๕๙ ภาพรวมทั้งหมดมีการส่งรายงาน ๗,๐๓๐ ราย ส่งทันเวลา  ๖,๔๙๒    ความทันเวลาร้อยละ ๙๒.๓๕ จำแนกเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีรายงานผู้ป่วย  ๒๒๔ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๕๔  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งหมด  ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๑,๔๑๘  มีความทันเวลา    ร้อยละ  ๙๖.๖๐ และโรงพยาบาลที่มีรายงานผู้ป่วย  ๒๓ แห่ง  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐  ของโรงพยาบาลทั้งหมด          ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๕,๓๘๒ มีความทันเวลาร้อยละ  ๘๙.๑๐  (รายละเอียดตามภาคผนวก)

          .๒  ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค  ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด  ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม r๕๐๖  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ ๑๒๒ กันยายน ๒๕๕๙  มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น  ๑๑๙ ราย ใน ๑๘  อำเภอ มี ๕ โรค ๖ รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง ๕๐๖ ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือไข้เลือดออก จำนวน ๙๐ ราย  จำแนกเป็น Dengue fever  จำนวน  ๗๗ ราย   D.H.F.  จำนวน  ๑๓  ราย  รองลงมาคือ leptospirosis จำนวน  ๒๒  ราย ไข้สมองอักเสบ จำนวน ๔ ราย  และมาลาเรีย จำนวน  ๒  ราย 
ดังนั้นขอให้ SRRT  แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรคส่งสำนักงานสาธาณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานต่อไป  (เอกสารรายชื่อผู้ป่วยต้องสอบสวนโรค ส่งไปที่อีเมล์เครือข่าย SRRT ระดับอำเภอทุกอำเภอ)  รายละเอียดตามตารางที่ ๒ 
ตารางที่  ๒  จำนวนผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรคตามเกณฑ์การสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา  ปี ๒๕๕๙  พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามอำเภอและโรคที่ต้องสอบสวน ประจำเดือน  กันยายน  
(๑ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙)   
อำเภอ

ไข้เลือดออก
ไข้สมองอักเสบ


รวม
หัด
DHF
DF
มาลาเรีย
Leptospirosis
เมือง


๑๒
ยางชุมน้อย



กันทรารมย์



กันทรลักษ์



๑๐
ขุขันธ์

๑๒

๒๒
ไพรบึง



ปรางค์กู่


ขุนหาญ

๑๐
ราษีไศล



อุทุมพรพิสัย


๑๒
บึงบูรพ์


ห้วยทับทัน


โนนคูณ



ศรีรัตนะ



น้ำเกลี้ยง



วังหิน


ภูสิงห์


๑๑
เมืองจันทร์



เบญจลักษ์



พยุห์



โพธิ์ศรีสุวรรณ



ศิลาลาด



รวม
๑๓
๗๗
๒๒
๑๑๙
หมายเหตุ ข้อมูลจาก  รายงาน ๕๐๖  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

           ๖. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
 สำนักระบาดวิทยาทำการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่  โดยการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้หวัดจากโรงพยาบาลทุกแห่งรายวัน  จากการรายงาน  จังหวัดศรีสะเกษ  สถานการณ์ในภาพรวมพบว่าสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ (ILI: Influenza Like  Illness)ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมี