ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
วันที่ 12 เดือนธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
.....................................................
๑. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ประเทศไทย ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 10 พ.ย. 2561 พบผู้ป่วย 71,976 ราย
จาก 77 จังหวัด
คิดเป็นอัตราป่วย 110.01 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 92 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.14 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง
1 : 0.92 กล่มุ อายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 15-24 ปี (25.51 %), 10-14 ปี (20.76 %) และ 25-34 ปี (13.64 %) อาชีพส่วนใหญ
คือนักเรียนร้อยละ 48.4, รับจ้างร้อยละ 19.1 และในปกครองร้อยละ 17.0 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรกคือ นครปฐม (267.65 ต่อแสนประชากร),
นครสวรรค์ (231.27 ต่อแสนประชากร), พิจิตร (220.94 ต่อแสนประชากร), เชียงราย (215.32 ต่อแสนประชากร) และนครศรีธรรมราช(214.80 ต่อแสนประชากร) จังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 พ.ย. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1,900 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 131.86 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต
1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 0.07 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับ ร้อยละ 0.05 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง
เท่ากับ 1.04 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ
5 - 9 ปี (531.55 ต่อแสนประชากร), 10 -
14 ปี (510.17 ต่อแสนประชากร), 0 - 4 ปี (171.59 ต่อแสนประชากร),15 - 24 ปี 165.18 ต่อแสนประชากร) และ
25 - 34 ปี (45.12 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ นักเรียน จำนวน 1,132 ราย, เกษตรกร จำนวน 253 ราย,ในปกครอง จำนวน 221 ราย และรับจ้าง,กรรมกร จำนวน 16 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรก คือ ขุขันธ์(225.39 ต่อแสนประชากร),
ขุนหาญ(174.71 ต่อแสนประชากร), วังหิน (174.19 ต่อแสนประชากร),กันทรลักษ์ (166.44 ต่อแสนประชากร) และภูสิงห์(130.78 ต่อแสนประชากร)
๒. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซิส
ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 8 พ.ย. 61 พบผู้ป่วย 2,507 ราย จาก 70 จังหวัด
คิดเป็น
อัตราป่วย 3.83 ต่อแสนประชากร
เสียชีวิต 30 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.05 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.22 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด
เรียงตามลำดับ คือ 45-54 ปี (22.18 %),35-44 ปี (18.03 %) และ 55-64 ปี
(17.27 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือเกษตรกร ร้อยละ 48.5, รับจ้างร้อยละ 20.6 และนักเรียน ร้อยละ 10.8 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือศรีสะเกษ
(24.13 ต่อแสนประชากร), พังงา (22.08 ต่อ แสนประชากร), ยโสธร (15.92 ต่อแสนประชากร), ยะลา (14.56 ต่อแสนประชากร)
และตรัง (13.60 ต่อแสนประชากร) จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 - 15 พ.ย. 61 พบผู้ป่วย 359 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 24.91 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน
เท่ากับ 0.49 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 1.95 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 4.20 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด
เรียงตามลำดับ คือ 55 - 64 ปี (49.65 ต่อแสนประชากร),
45 - 54 ปี (39.42 ต่อแสนประชากร), 65 ปีขึ้นไป (34.18 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุด เรียงตามลำดับคือเกษตรกร จำนวน 244 ราย, ในปกครอง จำนวน 20 ราย และรับจ้าง,กรรมกร จำนวน 15 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรก คือภูสิงห์ (74.73 ต่อแสนประชากร),
ขุนหาญ (51.33 ต่อแสนประชากร), ขุขันธ์ (50.16 ต่อแสนประชากร), น้ำเกลี้ยง (45.69 ต่อแสนประชากร) และปรางค์กู่(35.71 ต่อแสนประชากร) หากเกษตรกรป่วยมีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ต่อไปนี้ ได้แก่
ไข้ ปวดกล้ามเนื้อปวดกระบอกตา ปวดน่อง มีประวัติลงน้ำ ลุยน้ำ ต้องรีบไปเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุข
หรือโรงพยาบาลทันที
3. สถานการณ์โรคมือเท้าปาก
ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 12 พ.ย. 61 พบผู้ป่วย 62,486 ราย จาก 77 จังหวัด
คิดเป็น
อัตราป่วย 95.51 ต่อแสนประชากร
เสียชีวิต 1 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 0.80 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 1 ปี
(25.71 %), 2 ปี (23.61 %), 3 ปี
(19.06 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ ในปกครองร้อยละ 86.1, นักเรียน ร้อยละ 12.3 และอื่นๆ ร้อยละ 0.9 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ
จันทบุรี (282.88 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่
(164.57 ต่อแสนประชากร), กรุงเทพมหานคร
(164.04 ต่อแสน ประชากร), พะเยา
(163.17 ต่อแสนประชากร) และระยอง(160.34
ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่
1 ม.ค. – 15 พ.ย. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 648 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 44.97 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
อัตราส่วนเพศชาย ต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.33 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด
เรียงตามลำดับคือ 0 - 4 ปี, (838.89 ต่อแสนประชากร), 5 - 9 ปี (53.6 ต่อแสนประชากร),
10 - 14 ปี (8.78 ต่อแสนประชากร) และ15 - 24 ปี (3.71 ต่อแสนประชากร)
อาชีพที่ป่วยมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ ในปกครอง จำนวน 675 ราย, นักเรียนจำนวน 45 ราย,
เกษตรกร จำนวน 4 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรก คือ ยางชุมน้อย(143.71 ต่อแสนประชากร),
ภูสิงห์ (101.71 ต่อแสนประชากร), เมืองศรีสะเกษ (92.69 ต่อแสน
ประชากร), บึงบูรพ์
(83.04 ต่อแสนประชากร) และขุนหาญ
(75.02 ต่อแสนประชากร) โรคนี้พบมากในเด็กโดยเฉพาะอายุ
0-4 ปี จึงขอความร่วมมือครูพี่เลี้ยงเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากพบเด็กมีอาการไข้
มีตุ่มบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ควรแจ้งผู้ปกครองให้พาไปตรวจวินิจฉัยและรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
เด็กที่ป่วยควรให้
๔ งานระบาดวิทยา
๔.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ 1 มกราคม
2561 – 15 พฤศจิกายน 2561 โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
10
อันดับแรก ได้แก่ อุจจาระร่วง
โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ ปอดบวม ตาแดง อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก
STD (Sexual Transmitted Disease ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส และวัณโรค ตามลำดับ
4.2 ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด
ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ
โปรแกรม R506 จังหวัดศรีสะเกษ
ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2561 – 15 พฤศจิกายน
2561 มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น 112 ราย ใน 19 อำเภอ มี 5 โรค
6 รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ
ไข้เลือดออก เท่ากับจำนวน 45 ราย จำแนกเป็น DFจำนวน 34 ราย และ
DHF จำนวน 10 ราย DSS จำนวน
1 ราย รองลงมาคือ โรคมือเท้าปาก จำนวน 28 ราย โรคเลปโตสไปโรซิส
จำนวน 20 ราย มาลาเรีย จำนวน 14 ราย ไข้สมองอักเสบ
จำนวน 5 ราย ดังนั้นขอให้ SRRT แต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรค
ส่งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอภายใน 3 วัน
หลังจากรับแจ้งและดำเนินการควบคุมโรค ตามหลักการรู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมเร็ว เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและให้คะแนนตามเกณฑ์แร้งกิ้งต่อไป
(เอกสารรายชื่อผู้ป่วยต้องสอบสวนโรค ส่งไปที่อีเมล์เครือข่าย
SRRT ระดับอำเภอทุกอำเภอ)