"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระฯ งานควบคุมโรค 5 พ.ค. 2560

 ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
ครั้งที่  ๔/๒๕๖๐
วันศุกร์ที่  พฤษภาคม  ๒๕๖๐
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ

********** ¯ ***********
๔.๑๖   กลุ่มงานควบคุมโรค
1. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 17  เม.. 2560 พบผูปวย 8267 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 12.64 ตอ แสนประชากร เสียชีวิต 12 ราย คิดเปนอัตราตาย 0.02 ตอแสน
ประชากร อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง 1: 0.96 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 15-24 ป (26.21 %) 10-14 ป (19.87 %) 25-34 ป (14.90 %) อาชีพสวนใหญ นักเรียนรอยละ 47.2 รับจาง
รอยละ 18.7 ไมทราบอาชีพ/ ในปกครอง รอยละ 17.9 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับ แรกคือ สงขลา (130.38 ตอแสนประชากร) พัทลุง (95.48 ตอแสนประชากร) ปตตานี (92.45
ตอแสนประชากร) นราธิวาส (75.10 ตอแสนประชากร) นครศรีธรรมราช (43.41 ตอแสนประชากร) ตามลําดับ
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 20  เม.. 2560  พบผูปวยจำนวนทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 61 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   4.18  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต  อัตราส่วนเพศชายต่อ เพศหญิง  เท่ากับ 1.77 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 - 24  ปี  (20  ราย)  รองลงมาคือ กลุ่มอายุ
10 - 14  ปี  (18  ราย) , กลุ่มอายุ  5 - 9  ปี (5  ราย) , กลุ่มอายุ 35 - 44  ปี (4  ราย) และกลุ่มอายุ 25 - 34  ปี
(
4  ราย)  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  นักเรียนจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  28  ราย  รองลงมาคือ   ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (12  ราย) , เกษตร (11  ราย) , อื่นๆ (6  ราย)  และบุคลากรสาธารณสุข    (2  ราย)  อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอโนนคูณอัตราป่วย  15.48 ต่อแสนประชากร  รองลงมาคือ
อำเภอเบญจลักษ์  (
10.93  ต่อแสนประชากร) อำเภอบึงบูรพ์  (9.23  ต่อแสนประชากร) , อำเภอยางชุมน้อย
 (
8.13 ต่อแสนประชากร) และอำเภอ
ศรีรัตนะ  (7.63  ต่อแสนประชากร)
โรคไข้เลือดออกเกิดได้ตลอดทั้งปี  ช่วงนี้มีฝนตกในบางพื้นที่  จำเป็นต้องมีการลดภาชนะขังน้ำ        โดยการกำจัดขยะมูลฝอย ต่างๆ  ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบบ้านและชุมชน  ตลอดจนการเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง  ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอความร่วมมือทุกหน่วยงานรวมทั้งประชาชน ร่วมมือกันดูแลสภาพแวดล้อม และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง    ลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน  หมู่บ้าน ชุมชน ทำให้ วัด โรงเรียนและหน่วยงานปลอดลูกน้ำยุงลาย และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือด้วยดีมาโดยตลอด


2. สถานการณ์โรคสุกใส
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 18  เม.. 2560 พบผูปวย 27073 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 41.38 ตอ แสนประชากร อัตราสวนเพศชายตอเพศหญิง 1: 1.00 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 7-9 ป (16.54 %) 10-14 ป (15.54 %) 15-24 ป (14.85 %) จังหวัดที่มีอัตราปวย   ตอแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ นาน (122.78 ตอแสนประชากร) ภูเก็ต (107.19 ตอ แสนประชากร) เชียงราย (97.20 ตอแสนประชากร) ลําปาง (75.60 ตอแสนประชากร) ระยอง (74.52     ต่อแสนประชากร)

จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 20  เม.. 2560 พบผู้ป่วย 879 ราย      คิดเป็นอัตราป่วย   60.30  ต่อประชากรแสนคน  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  1.05 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ  5 - 9  ปี  (304  ราย)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ   0 - 4  ปี  (204  ราย) , กลุ่มอายุ 10 - 14  ปี (144  ราย) , กลุ่มอายุ 15 - 24  ปี (127  ราย) และกลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (59  ราย) อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  นักเรียน  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  408  ราย  รองลงมาคือ  ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (291  ราย) , เกษตร (65  ราย) , อื่นๆ
 (48  ราย) และบุคลากรสาธารณสุข (34  ราย) อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5  อันดับแรก  คือ  อำเภอบึงบูรพ์ อัตราป่วย  276.8  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอไพรบึง  (135.72  ต่อแสนประชากร)
,
อำเภอเบญจลักษ์  (117.55  ต่อแสนประชากร)
, อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  (112.46  ต่อแสนประชากร) และ
อำเภอยางชุมน้อย  (100.32  ต่อแสนประชากร) 

จากสถานการณ์ผู้ป่วยทั้งจังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่วยสูงขึ้นตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ และสูงสุดในเดือนมีนาคม 2560 เริ่มลดลงในเดือน เมษายน  2560  แต่ยังพบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ซึ่งถือว่าเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่ตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงปัจจุบัน  ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังและดำเนินการตามหลักการเฝ้าะรังควบคุมโรคเน้นการสอบสวนโรคและให้ความรู้ในการดูแลตนเองทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อลดการติดเชื้อและควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ





3. สถานการณ์โรคมือเท้าปาก
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 18  เม.. 2560   พบผูป่วย 16,037 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 24.51 ตอ แสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราสวนเพศชายตอเพศหญิง 1: 0.74 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 1 ป (26.56 %) 2 ป (23.27 %) 3 ป (17.83 %) จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ จันทบุรี(76.34 ตอแสนประชากร) สุราษฎรธานี (67.75 ตอแสนประชากร) ตราด (61.21 ตอแสนประชากร) เลย (56.70 ตอแสนประชากร) ภูเก็ต (46.01 ตอแสนประชากร) 
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแต่วันที่  1 ม..20 เม.. 2560   พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 513 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   35.19  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วนเพศชาย   ต่อเพศหญิง  เท่ากับ 1.49 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี  (467  ราย)  รองลงมาคือ  กลุ่มอายุ    5 - 9 ปี (37  ราย) กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี (4  ราย) กลุ่มอายุ 45 - 54 ปี (2 ราย) และกลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (1  ราย) อาชีพที่ มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  473  ราย  รองลงมาคือ   นักเรียน (28  ราย) , อื่นๆ (7  ราย) , เกษตร (2  ราย) และบุคลากรสาธารณสุข (2  ราย) อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอห้วยทับทันอัตราป่วย  129.67  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอเมืองจันทร์  (128.55  ต่อแสนประชากร) , อำเภอกันทรารมย์  (85.54  ต่อแสนประชากร) , อำเภอยางชุมน้อย  (73.21  ต่อแสนประชากร) และอำเภอบึงบูรพ์  (55.36 ต่อแสนประชากร)
จากข้อมูลผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นและส่วนใหญ่เป็นเด็กโดยเฉพาะเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรดำเนินการให้เกิดการดำเนินงานตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรคเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อ  สนับสนุนให้ครูพี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครองในการคัดกรองอาการเด็กหากมีอาการป่วยหรือสงสัย ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและเน้นความสะอาด และการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลทั้งที่บ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

         
4. เลปโตสไปโรซีส
ประเทศไทย  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 15  เม.. 2560  พบผูปวย 562 ราย จาก 52 จังหวัด คิดเปนอัตราปวย 0.86 ตอแสน ประชากร เสียชีวิต 17 ราย คิดเปนอัตราตาย 0.03 ตอแสน
ประชากร อัตราสวน เพศชายตอเพศหญิง
1: 0.32 กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ 35 - 44 ป (20.64 %)  45 - 54 ป (19.75 %) 25 - 34 ป (16.90 %) อาชีพสวนใหญ เกษตรรอยละ 46.4 รับจาง
รอยละ
25.6 นักเรียน รอยละ 8.5 จังหวัดที่มีอัตราปวยตอแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ กระบี่ (7.62 ตอแสนประชากร) ศรีสะเกษ (6.41 ตอแสนประชากร) นครศรีธรรมราช (6.26 ตอแสนประชากร) ตรัง (5.16 ตอแสนประชากร) พัทลุง (4.03 ตอแสนประชากร)
จังหวัดศรีสะเกษ  ขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1 ม.. - 20  เม.. 2560  พบผูปวยจำนวนทั้งสิ้น 89 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   6.11  ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1  ราย   อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.07  อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ  1.12 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง  เท่ากับ 3.68 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 45 - 54 ปี  (23  ราย) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 35-44 ปี  (21  ราย) , กลุ่มอายุ 55 - 64  ปี (17  ราย) , กลุ่มอายุ 25 - 34  ปี (10  ราย) และกลุ่มอายุ 65 +  ปี (10  ราย) อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ  เกษตร  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  69  ราย  รองลงมาคือ   ข้าราชการ (5  ราย) , อื่นๆ
(
5  ราย) , บุคลากรสาธารณสุข (3  ราย) และนักเรียน (2  ราย) อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด  5 อันดับแรก  คือ  อำเภอขุนหาญอัตราป่วย  28.55  ต่อแสนประชากร  รองลงมาคืออำเภอไพรบึง (12.53 ต่อแสนประชากร), อำเภอขุขันธ์ (12.1 ต่อแสนประชากร), อำเภอภูสิงห์  (10.38  ต่อแสนประชากร) และอำเภอปรางค์กู่  (10.27  ต่อแสนประชากร)
กลุ่มเสี่ยงโรคดังกล่าวประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีอายุอยู่ในวัยทำงาน  ในช่วงนี้จะมีการดำเนิน กิจกรรมของกลุ่มอาชีพสูบสระ  ล่าหนู หาปลา  ที่มีโอกาสไปสัมผัสเชื้อก่อโรคได้ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ ขอให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์  ให้ความรู้ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ลดการติดเชื้อ หากมีอาการตั้งแต่เริ่มป่วยให้เข้ารักษาอย่างรวดเร็ว
          
5. งานระบาดวิทยา   
5.1 เฝ้าระวังรายงาน 506
นับตั้งแต่ 1 ม..20 เม..  2560  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก  ได้แก่ โรค
อุจจาระร่วง  ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  ปอดบวม  ตาแดง  อาหารเป็นพิษ  สุกใส  STD (Sexually  Transmitted  Disease)  วัณโรค  มือเท้าปากและเมลิออยโดซิส  ตามลำดับ  การส่งรายงาน 506 ในเดือน เมษายน  2560 (รายละเอียดตามภาคผนวก)

          5.2  ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค  ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด  ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม R506  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ 1 – 20 เมษายน 2560  มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น  31 ราย ใน 12  อำเภอ มี 5 โรค 6 รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ ไข้เลือดออก  จำนวน  13 ราย จำแนกเป็น DF จำนวน  10  ราย  และ  DHF  จำนวน  ราย  รองลงมาคือมาลาเรีย  จำนวน  ราย  Leptospirosis และไข้สมองอักเสบ  เท่ากันจำนวน  5 ราย   ดังนั้นขอให้ SRRT  แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรคส่งสำนักงานสาธาณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานต่อไป  (เอกสารรายชื่อผู้ป่วยต้องสอบสวนโรค ส่งไปที่อีเมล์เครือข่าย SRRT ระดับอำเภอทุกอำเภอ)  รายละเอียดตามตารางที่
ตารางที่  จำนวนผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรคตามเกณฑ์การสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา  ปี 2559  พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามอำเภอและโรคที่ต้องสอบสวน ประจำเดือน เมษายน  
(22 มีนาคม – 20 เมษายน 2560)   

อำเภอ
หัด
ไข้เลือดออก
ไข้สมองอักเสบ
มาลาเรีย
Leptospirosis
รวม

DHF
DF

เมือง
1
2



3
ยางชุมน้อย

1



1
กันทรารมย์





กันทรลักษ์

1
1

2
ขุขันธ์

1
1


1
3
ไพรบึง





ปรางค์กู่

1

1
2
ขุนหาญ

1

2
1
4


อำเภอ
หัด
ไข้เลือดออก
ไข้สมองอักเสบ
มาลาเรีย
Leptospirosis
รวม

DHF
DF

ราษีไศล



2
2
อุทุมพรพิสัย





บึงบูรพ์

1



1
ห้วยทับทัน





โนนคูณ

4
1


5
ศรีรัตนะ





น้ำเกลี้ยง





วังหิน





ภูสิงห์

1
1
2

4
เมืองจันทร์





เบญจลักษ์

1

1

2
พยุห์





โพธิ์ศรีสุวรรณ

1
1

2
ศิลาลาด





รวม
1
3
10
5
7
5
31
หมายเหตุ  1.ข้อมูลจาก  รายงาน 506  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
              2.จังหวัดจะสรุปและติดตามการส่งรายงานสอบสวนโรคให้ในเดือนถัดไป และใช้เป็นผลงานในการ 
                ประเมิน Ranking โดยจะประเมินผลต่อเนื่องทุกเดือน  ตลอดระยะเวลา 12 เดือน

           6. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

 สำนักระบาดวิทยาทำการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่  โดยการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้หวัดจากโรงพยาบาลทุกแห่งรายวัน  จากการรายงาน  จังหวัดศรีสะเกษ  สถานการณ์ในภาพรวมพบว่าสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ (ILI: Influenza Like  Illness)ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ โดยจังหวัดศรีสะเกษมีสัดส่วนผู้ป่วยด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสัดส่วน  ระหว่างร้อยละ 5-10 ในสัปดาห์ที่ 1-15 สถานพยาบาลโดยส่วนใหญ่บันทึกรายงานเข้าระบบ  ที่บันทึกรายงานได้ครบถ้วนทุกหน่วยบริการ  (ตัดยอดรายงาน ณ วันที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 13.00 .)