"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานD506 VS JHCIS-GIS

ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
รายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
D506 VS JHCIS-GIS
การจัดทำแผนที่ปักหมุดหลังคาเรือนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566
ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

1. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.506) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566 

        เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ นายสุเพียร  คำวงศ์ ผช.หัวหน้างานควบคุมโรค สสอ.ขุขันธ์ และคณะ (ซึ่งประกอบด้วยทีมงาน คปสอ.ขุขันธ์ ได้แก่ จนท.สสอ.ขข. 1 ท่าน , ตัวแทน จนท.รพ.สต. 2 ท่าน และ จนท.งานควบคุมโรค จากร.พ.ขุขันธ์ 2 ท่าน รวม 5 ท่าน) ไปเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.506) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566 วัน ณ  ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีท่านนพ.เสกสรรค์ จวงจันทร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรคติดต่อ ประจำโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 100 คน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และทบทวนแนวทางการส่งข้อมูลรายงานโรคติดต่อที่ต้องรายงานทางระบาดวิทยา และเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตอบโต้สถานการณ์การระบาด ได้อย่างทันเวลา

เก็บตก KMการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา บรรยายเรื่องการเปลี่ยนผ่านการส่งข้อมูลเฝ้าระวังโรค
ทางระบาดวิทยา #R506 สู่ #D506

เอกสารประกอบการอบรม คลิก
แบบประเมินความพึงพอใจการอบรมฯ คลิก
ที่มา : ด่วนที่สุด ที่ ศก0033.006/ว5782 ลว 11 ก.ย. 2566 เรื่อง ขอเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.๕๐๖) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566


2. การประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล (D506)
        กองระบาดวิทยา โดยกลุ่มสารสนเทศทางระบาดวิทยา ได้เชิญผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องหรือผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล (D506) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่ผ่านมา โดยเข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Facebook Live 
ลำดับเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้
00:46 เนื้อหาการประชุม
07:10 การรวบรวมข้อมูลเฝ้าระวังโรค
10:43 Timeline ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital 506
16:12 เปลี่ยนผ่านการส่งรายงานเฝ้าระวังโรค (Digital
21:42 ประเด็นการปรับเปลี่ยน
29:36 รหัสโรคที่ตัดออกยังต้องเฝ้าระวัง
34:32 การพัฒนาD506
38:23 การจัดการข้อมูลD506
46:59 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
52:03 Web application : D506 portal
01:07:49 การส่งข้อมูลจากโปรแกรม HOSxP
01:36:20 การเตรียมServer และพัฒนาAPIโดยกองระบาดวิทยา 02:07:56 ลักษณะข้อมูลการรายงานข้อมูลผู้ป่วยตามกลุ่มอาการ 02:23:29 การนำเสนอรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาแบบดิจิตอล(Dashboard & Report)
03:03:29 สรุปทางเลือกระบบส่งข้อมูลจากสถานพยาบาลมายังD506
03:14:30 สิ่งที่กองระบาดวิทยาจะดำเนินการต่อ
เอกสารประกอบการประชุม คลิก https://shorturl.at/dfin9 
ที่มา : ไลน์กลุ่มPinoy EOC SSK,256609121215.

3. การประชุมติดตามการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนผ่านโปรแกรม JHCIS-GIS /GID For HIM-PRO และ GIS For HosXP

        เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. สสจ.ศรีสะเกษ ได้จัดประชุมทางไกลเกี่ยวกับการดำเนินการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบตามโครงการพัฒนา ต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพ จังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ ตามนโยบายเขตสุขภาพที่ 10 และเป็นการพัฒนาต่อยอดขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์  

         ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องประจำ รพ.สต.ทุกแห่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบโปรแกรม JHCIS และ ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ เข้าร่วมประชุมติดตามการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนผ่านโปรแกรม JHCIS-GIS และฝึกปฏิบัติฯ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
          สำหรับคลิปรายละเอียดการประชุมฯ ด้านล่างนี้ รับชมได้เฉพาะผู้มีลิงก์เท่านั้น 

          - KM เก็บตกจากการประชุมทางไกลเกี่ยวกับการดำเนินการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบตามโครงการพัฒนา ต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพ จังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ ตามนโยบายเขตสุขภาพที่ 10 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. 

        หัวข้อที่ 1 ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ  โดย นางโสพิน พิมเทพา 

        หัวข้อที่ 2 เป้าประสงค์ในการใช้งาน JHCIS-GIS โดย นายวีระวุธ เพ็งชัย

        หัวข้อที่ 3 แนะนำJHCIS-GIS เบื้องต้น สาธิตการ ติดตั้งระบบ JHCIS-GIS หน่วยบริการ และทดสอบการใช้งาน 

        หัวข้อที่ 4 ข้อสังเกตและข้อพึงระวังในการปักหมุดพิกัดหลังคาเรือน 

ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว7128 ลว 2 พ.ย. 2566 เรื่อง ขอเชิญประชุมติดตามการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนผ่านโปรแกรม JHCIS-GIS /GID For HIM-PRO และ GIS For HosXP