"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนตุลาคม 2566 (นางสาวอัจฉรา ประสงค์จินดา)

 งานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

1. ประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัย จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ 


วาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 

               - จังหวัดศรีสะเกษผ่านการประเมินรับรองระบบคุณภาพจังหวัดอาหารปลอดภัย ระดับอ้างอิง จาก สสอป. (สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย) เป็น จังหวัดต้นแบบระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัย ลำดับที่ 19 ของประเทศ

จังหวัดศรีสะเกษ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "จังหวัดต้นแบบระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัย"

วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

วาระที่ 3 รายงานการประชุมที่ผ่านมา

              - ไม่มี

วาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ

            4.1 ความก้าวหน้าการติดตามประเด็นสารเร่งเนื้อเเดง ประจำปี 2566 โดยปศุสัตว์จังหวัด

        4.2 สรุปผลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย จังหวัดศรีสะเกษ

ด้านเคมี







ด้านจุลินทรีย์

วาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา

            5.1 แนวทางการจัดการปัญหาสารปนเปื้อนในอาหารสดกลุ่มเสี่ยง ที่เป็นปัญหาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ กรณีการจัดการปัญหาสารปนเปื้อน "ฟอร์มาลิน"



ที่มา: ที่ ศก 0033/ว 16229 ลว 6 ก.ย. 2566 เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2566

2. การประชุมชี้เเจงและติดตามการดำเนินงานชมรมคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพ คปสอ.ขุขันธ์
       
วันที่ 22 กันยายน 2566 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ร่วมกับโรงพยาบาลขุขันธ์จัดประชุมชี้เเจง เรื่อง การพัฒนาชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อำเภอขุขันธ์ จำนวน 28 องค์กร ครอบคลุม 22 ตำบล ในอำเภอขุขันธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มเเข็ง สามารถดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองและสร้างความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
        ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือในการจัดกิจกรรมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัด อบจ. ตลอดจนศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ รวมทั้งสิ้น 29 เเห่ง 







ภาพกิจกรรม การระดมสมองเพื่อค้นหาปัญหาสำคัญทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ และนำเสนอโดยสมาชิกกลุ่ม




          สมาชิกกลุ่มผู้บริโภค ระดมสมองค้นหาปัญหาทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญในชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เป็นพี่เลี้ยงในการกระตุ้น


3. อำเภอขุขันธ์ รับมอบเกียรติบัตรองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองสถานะตามกฎหมายฯ จำนวน 1 องค์กร
        ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ มีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในรูปแบบขององค์กรผู้บริโภคตั้งเเต่ปี 2562 เป็นต้นมา และในปี 2566 จังหวัดศรีสะเกษมีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองสถานะตามกฎหมายเเห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาขององค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 หรือผ่าน อกผ.3 เพิ่มขึ้น จำนวน 8 องค์กร จากที่ผ่านมาทั้งหมด 31 องค์กร โดยอำเภอขุขันธ์มีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองสถานะตามกฎหมาย จำนวน 1 องค์กร ได้เเก่ "ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลโคกเพชร "  ทั้งนี้ ได้รับมอบเกียรติบัตรจาก นพ.ทนง วีระเเสงพงษ์ นายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 27 กันยายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
        โดยองค์กรผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการบริโภคแอลกอฮอล์และยาสูบ ควบคุมตรวจสอบการจำหน่ายของร้านค้า สถานที่ เวลาของการสูบและการดื่มในพื้นที่ตำบลที่ขอขึ้นทะเบียนองค์กร การสร้างนักคุ้มครองสิทธิในการรับเรื่องร้องเรียนและการประสานงานการเเก้ไขปัญหา ตลอดจนการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการ

องค์กรผู้บริโภค "ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลโคกเพชร"รับมอบแบบ อกผ.3 ในฐานะองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการรับรองตามกฎหมาย จาก นพ.ทนง วีระเเสงพงษ์ นายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

        ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ร่วมกับโรงพยาบาลขุขันธ์ ได้พยายามผลักดันให้เกิดองค์กรผู้บริโภคขึ้นในทุกตำบล จำนวน 28 องค์กร ครอบคลุมพื้นที่ 22 ตำบลในอำเภอขุขันธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชมรมผู้บริโภคมีความเข้มเเข็ง สามารถดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองและสร้างความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป



ที่มา: ที่ ศก 0033.004/ว6173 ลว 26 ก.ย. 2566 เรื่อง ขอเชิญองค์กรผู้บริโภคเข้ารับแบบ อกผ.3
4. ขอความร่วมมือเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงนำเข้าจากประเทศจีน 
        
ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับเเจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ตรวจสอบสินค้ายาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ วางจำหน่ายในสื่อโซเชียลและตามร้านค้าขายปลีก พบมีสารเคมีวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ชนิดที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ผลิต และจำหน่าย) สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethriods) ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2556 ที่ 4.2 รายชื่อสารควบคุมเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin) ซึ่ง อย. ไม่เคยอนุญาตให้นำเข้า ผลิต หรือจำหน่ายในรูปแบบยาจุดกันยุงที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่กำจัดแมลงและสัตว์ เพราะเป็นพิษต่อคนและสัตว์ หากสูดดมควันในปริมาณมาก ในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ รวมถึงอาการเเพ้ ผื่นเเดง คัน หากเข้าตาอาจเกิดอาการระคายเคือง โดยกล่องผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงจีนยี่ห้อ Laojun มีรูปหน้ากล่องเป็นรูปเด็กอ่อน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนหลงผิดคิดว่าไม่มีสารเคมีอันตราย อีกทั้งยังราคาถูกกว่าท้องตลาด จึงเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีวัตถุอันตรายที่เป็นส่วนผสม หากพบว่าร้านค้ามีการจำหน่ายจะมีความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน หากฝ่าฝืนมาตรา 45(4) ระวางโทษตามมาตรา 78 จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม อย.ทลายโรงงานผลิตยาจุดกันยุงเถื่อนที่มีสารเคมีอันตราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
ภาพบรรจุภัณฑ์
***จุดสังเกต ยี่ห้อ Laojun มีรูปหน้ากล่องเป็นรูปแบบเด็กอ่อน ไม่มีฉลากภาษาไทย อาจทำให้ประชาชนหลงผิดคิดว่าไม่มีสารเคมีอันตราย อีกทั้งยังราคาถูกกว่าท้องตลาด จึงเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีวัตถุอันตรายที่เป็นส่วนผสม














จากการสุ่มตรวจเพื่อเฝ้าระวังร้านค้าปลีก/ส่งในเขตพื้นที่อำเภอขุขันธ์ พบว่า มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงและธูปไล่ยุงชนิดที่ห้ามจำหน่ายหลายร้าน เบื้องต้นได้ให้คำเเนะนำผู้ประกอบการร้านค้าในการจัดเก็บสินค้าดังกล่าวไม่ให้จำหน่ายเเก่ประชาชน และจะมีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบซ้ำร่วมกับ สสจ.ต่อไป


ชื่อสินค้าอื่นๆ ที่นำมาบรรจุในกล่องผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายหลายยี่ห้อ (ใช้ขดยากันยุงสีดำชนิดเดียวกันที่ผลิตออกมาบรรจุ) ได้เเก่
👉ยาจุดกันยุงตรา Goldeer กล่องสีฟ้า จำนวน 4,826 กล่อง
👉ยาจุดกันยุงตรา Laojun (รูปเด็กอ่อน) จำนวน 9,555 กล่อง
👉ยาจุดกันยุงตรา เสือ กล่องสีเเดง จำนวน 13,440 กล่อง
👉ยาจุดกันยุงตรา สิงโต กล่องสีฟ้า จำนวน 3,811 กล่อง
👉ยาจุดกันยุงตรา ริชเนส กล่องสีน้ำเงิน จำนวน 50 กล่อง
👉ยาจุดกันยุงตรา ริชเนส กล่องสีเขียว จำนวน 120 กล่อง 
👉ขดยาจุดกันยุงเปล่ายังไม่บรรจุกล่องยี่ห้อผลิตภัณฑ์ จำนวน 180,720 กล่อง

ที่มา: ที่ ศก. 0033.004/ว 6426 ลว 3 ต.ค. 2566 เรื่อง ขอความร่วมมือตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงนำเข้าจากประเทศจีน


ข่าวสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา




งานการเเพทย์แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก
งานควบคุมบุหรี่และแอลกอฮอล์

(ไม่มี)

งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
(ไม่มี)