"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนธันวาคม 2557(อ.สุเพียร)

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

1. สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือ รพ.สต.ทุกแห่ง ดำเนินการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ โดยจัดเก็บข้อมูลด้านบุคลากร และเครื่องมือแพทย์ ณ ปัจจุบัน ส่วนข้อมูลด้านบริการจัดเก็บข้อมูลของวันที่ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2557 บันทึกตามระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพบนอินเตอร์เนต(GIS health) ผ่าน http://gishealth.moph.go.th/healthmap/gmap.php หรือทางลัดที่ลิงก์ด้านล่างนี้ ลงชื่อเข้าสุ่ระบบโดยใช้รหัส9หลักของหน่วยงาน(เติม00 จำนวน2ตัวที่ด้านหน้าและด้านหลังของรหัสงานบัตรประกัน) และพาสเวิร์ดตามที่เคยได้ให้แต่ละแห่งเรียบร้อยแล้ว และขอให้บันทึกให้เสร็จภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2557 ให้จงได้ ซึ่งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ จะถือเป็นข้อมูลของปีงบประมาณ 2557
10930 โรงพยาบาลขุขันธ์

ที่มา :
หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.002/ว.4885 ลง 17 พ.ย. 2557 เรื่อง ขอความร่วมมือตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสาธารณสุขบนอินเตอร์เนต(CIS health)


2. 
ตามที่มีพาดหัวข่าวผ่านทางสื่อมวลชนว่า "ลดหมออนามัยหน้าจอ สธ.ยกเลิกบันทึกข้อมูลไม่จำเป็น" เช่นที่แหล่งข่าว http://www.hfocus.org/content/2014/11/8581   และมีเอกสารแนวทางบริหารจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ สธ.  และคู่มือการปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูลและจัดส่งข้อมูล ตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ Version 2.0 ขึ้นให้ดาวโหลดผ่านหน้าเวปฯ นั้น
สสอ.ขุขันธ์ ขอเรียนว่า ขณะนี้ ได้มีหนังสือสั่งการให้ดำเนินการตามรายละเอียดในลิงก์ข้างต้น มาแล้ว นะครับ


ที่มา : หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.001/ว.4930 ลง 18 พ.ย. 2557 เรื่อง การดำเนินการพัฒนาระบบข้อมุลสุขภาพตามแนวทางการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2557

3. ตามที่ 
สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือ รพ.สต.ในสังกัดทุกแห่งแจ้ง ผู้รับผิดชอบงานไอทีประจำ รพ.สต.แห่งละ 2 ท่าน ให้ สสอ.ขุขันธ์ รวบรวมส่งภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น  บัดนี้ สสอ.ขุขันธ์ได้รับรายงาน และส่งรายงานต่อไปยัง สสจ.ศรีสะเกษ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครับ ขอขอบคุณทีมงานคุณภาพจาก รพ.สต.ทุกแห่ง ครับ
     
     >>> ตรวจสอบรายชื่อ ที่กรอกรายงานเข้ามาที่ลิงก์ด้านล่างนี้ ครับ
https://docs.google.com/spreadsheets/d/13Cb1x9VpPvyHDvQBnjr6ZsrQnAWLkKK1ANcsnU1D7lU/edit?usp=sharing



4. แนะนำแทปเลตสำหรับงานเยี่ยมบ้านและพัฒนาความถูกต้องแม่นยำของระบบข้อมูลงานสาธารณสุขที่ผ่านการทดสอบและพบใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้  ดี และดีมาก

ระดับพอใช้
ระดับดี
ระดับดีมาก

งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
1. ตามที่ สสอ.ขุขันธ์ ได้รับแจ้งจากจังหวัดศรีสะเกษ ผ่านทาง สสจ.ศรีสะเกษ ให้ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง ดำเนินการจัดการขยะอันตราย โดยด่วน ดังต่อไปนี้
              1.1 คัดแยกขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์ ขวดวัคซีน ที่ชำรุด หรือใช้การไม่ได้แล้ว บรรจุถุงละ 1 ประเภท
              1.2 ส่งรายงานจำนวนขยะอันตราย ให้ สสอ.ขุขันธ์ เพื่อส่งต่อให้กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.ศรีสะเกษ ต่อไปภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557
              1.3 นำส่งขยะอันตราย ดังกล่าว ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ สสอ.ขุขันธ์ เพื่อรวบรวมส่งต่อไปยัง บ้านหนองสาด หมู่ที่ 4 ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ(บายพาส เกาะกลางน้ำ) ต่อไป

              ขอขอบคุณ รพ.สต.ทุกแห่งที่ร่วมด้วยช่วยกันจนทำให้รายงานการจัดการขยะอันตรายในภาพรวมอำเภอขุขันธ์ เสร็จเรียบร้อยภายใน 2 วัน  ขอบคุณอีกครั้ง ครับ
>>> ตรวจสอบข้อมูลรายงานฯที่ลิงก์นี้ ครับ https://docs.google.com/spreadsheets/d/1lfzak8PBdcy3lXgXri2g71JGfSq8K-RUhXO9zUoDHBI/edit?usp=sharing



พี่ยุทธชัย  ต้นเกตุ  ผอ.รพ.สต.อาวอย นำส่งขยะอันตรายมาส่งเป็นแห่งแรก 14.30 น.

 
​​     


ที่มา : ที่หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ด่วนที่สุด ศก 0032.007/402 ลง 18 พ.ย. 2557 เรื่อง รายงานการจัดการขยะอันตราย


งานดูแลผู้สุงอายุ

1. ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้จัดทำโครงการพัฒนาชมรมผู้สุงอายุสู่เกณฑ์มาตรฐาน จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2557 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ ได้พัฒนาให้ชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ และสามารถช่วยเหลือสังคมได้ตามศักยภาพ นั้น

          ในการนี้ สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณผอ.รพ.สต. และผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ ประจำ รพ.สต.ทุกแห่ง ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีเช่นเคยในการสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุสู่เกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่ ส่งให้สสอ.ขุขันธ์ และผู้รับผิดชอบงาน สสจ.ศรีสะเกษ ภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ได้ครบทุกแห่ง (100 %)

>>> ตรวจสอบข้อมูลผลการรายงานภาพรวมอำเภอขุขันธ์ และรายชื่อ รพ.สต.ที่ได้กรอกรายงานเรียบร้อยแล้วที่ลิงก์ด้านล่างนี้
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1EUIIt2Ka_dB11MsPdSL-fH6iBJ83s1B3nfZ7fPI_RZw/edit?usp=sharing

ที่มา : หนังสือ สสจ.ศรีสะเกษ ที่ ศก 0032.007/ว.4906 ลง 5 พ.ย. 2557 เรื่อง ขอให้ส่งสรุปผลการดำเนินการโครงการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุสู่เกณฑ์มาตรฐาน ปีงบประมาณ 2557



งานจริยธรรม และวัฒนธรรม

1. เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว การเยี่ยมบ้านงานผู้สุงอายุและสุขภาพจิต ถือว่าท่านได้ทำบุญ(บุญกิริยาวัตถุ 10) ได้ครบ 10 วิธีของการทำบุญในทางพระพุทธศาสนา แต่จะได้มากได้น้อย หรือครบ 100 % อยู่ที่Actionทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่
             1.ได้ให้ทาน(ทานมัย)  ทั้งสิ่งของ และธรรมทาน ช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม
             2. ได้รักษาศีล เพราะมุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ (ศีลมัย) 
             3. ได้เจริญภาวนา (ภาวนามัย) พัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง โดยเฉพาะคุณค่าของผุ้สูงอายุและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เป้นต้น
             4. ได้ฝึกการอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
             5. ได้ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง (ไวยาวัจจมัย) ช่วยเหลือสละแรงกาย เวลา เพื่องานส่วนรวม/ในชุมชน หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ
             6. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา(ปัตติทานมัย) หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ เช่นทำงานร่วมกับเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อสม อบต. และพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น
             7. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย) เช่น การนำภาพแห่งความดีที่เราท่านได้ทำมาโพสต์ลงบนเฟสให้ทุกคนได้เห็น แล้วทุกคนกดไลค์/ร่วอนุโมทนาก็เป็นบุญ 
             8. ได้ฟังธรรม(ธรรมสวนมัย) การได้พูดคุยกับผู้สูงอายุ และได้รับแง่คิดดีๆ จากผู้สูงอายุ ช่วยบ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ 
             9. ได้แสดงธรรม(ธรรมเทศนามัย) ไม่ว่าจะเป็นให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น บอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม โดยเฉพาะคำแนะนำดีดี ในการปฏิบัติตนสำหรับวัยสูงอายุ ก็เป็นบุญ
             10. สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส ก็คือทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม(ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ)  มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ และต้องนำไปประกอบเข้ากับการทำบุญทั้ง 9 อย่างข้างต้น เพื่อให้ถูกต้องตามความหมาย และความมุ่งหมายของการทำบุญ  พร้อมทั้งได้ผลบุญที่ถูกทาง

ที่มา : ได้พิจารณาดูตามที่ได้อ่านธรรมะจาก http://www.kanlayanatam.com/sara/sara41.htm

2. เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557 ที่ห้องประชุม อบต.ปราสาท อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการประชุมแสดงความคิดเห้นเรื่องการขุดศึกษาทางโบราณคดีปราสาทตาเล็ง โดยสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ร่วมกับ อบต.ปราสาท  ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรได้อนุมัติแล้ว และได้มอบหมายให้ นางสุกัญญา เบานิด ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการ และนายวสันต์ เทพสุริยานนท์ ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินงานขุดศึกษาทางโบราณคดีที่ปราสาทตาเล็งร่วมกับ อบต.ปราสาท และทีมงานชาวบ้านจิตอาสาจากทุกหมู่บ้านในสังกัดตำบลปราสาท เพื่อการออกแบบอนุรักษ์ โบราณสถานปราสาทตาเล็ง  โดยจะดำเนินงานภาคนามในระหว่างเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ด้วยงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.ปราสาท จำนวน 100,000บาท 
ปราสาทตาเล็ง  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบศิลปะเขมรแบบบาปวน
 มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖  -  ๑๗  
โบราณสถาน
แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียน
เป็นโบราณสถานของชาติ  และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๙๙  ตอนที่ ๑๗๒  วันที่ ๑๘  พฤศจิกายน  ๒๕๓๕
เนื้อที่ประมาณ  ๓  ไร่  ๒  งาน  ๕๓  ตารางวา 
ซึ่งเมื่อวันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 อบต.ปราสาทและชาวบ้านได้จัดให้มีพิธีการเซ่นบวงสรวง"ตาเล็งกับยายสา" ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแลปราสาท ตาเล็ง และได้อัญเชิญท่านทั้งสองไปอยู่ ณ ศาลปู่ตาแห่งใหม่ที่ลูกหลานชาวตำบลปราสาทได้ปลูกสร้างยกเป็นหลังใหม่ เพื่อความสะดวกในการขุดศึกษาทางโบราณคดีต่อไป  


            สำหรับในส่วนสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุขันธ์ ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญได้จัดทำแผนงาน/โครงขอรับการสนับสนุนงบประมาณการบูรณะซ่อมแซมพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ปราสาทตาเล็งหมู่ที่ 1 ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจะได้รับจัดสรรลงมาในปี พ.ศ. 2559 เป็นจำนวนเงิน 4,000,000บาท